บทวิเคราะห์ : ยินดีต้อนรับการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค 2022 (APEC 2022)

2022-11-04 10:29:08 | CMG
Share with:

 การประชุมสุดยอดผู้นำครั้งที่ 29 ขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation)  หรือ “เอเปค” ( APEC ) กำลังจะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายนนี้  นี่เป็นครั้งแรกที่การประชุมสุดยอดผู้นำของเอเปคจะจัดขึ้นแบบออนไซต์ในรอบหลายปีที่ผ่านมา  จึงเป็นที่จับตามองของทั่วโลก 

สำหรับความร่วมมือ “เอเปค” ( APEC ) หรือ Asia-Pacific Economic Cooperation จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1989 เป็นองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญของส่วนภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก  และเป็นองค์การความร่วมมือภาครัฐบาลระดับสูงสุดของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกด้วย  ปัจจุบัน  “เอเปค” ประกอบด้วยเขตเศรษฐกิจสำคัญจำนวน 21 เขตในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก  โดยตลอด 3 ทศวรรษที่ผ่านมา  “เอเปค” ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมเสรีภาพและความสะดวกด้านการค้าการลงทุนในภูมิภาค  และผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจภูมิภาคและระดับโลก 

 สำหรับการประชุมสุดยอดผู้นำ “เอเปค” จัดขึ้นปีละครั้ง  โดยผู้นำเขตเศรษฐกิจดังกล่าวจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเกี่ยวกับประเด็นเศรษฐกิจต่าง ๆ   นอกจากนี้  การประชุมสุดยอดผู้นำ “เอเปค” ประจำปียังจะมีปฏิญญาผู้นำซึ่งเป็นเอกสารแนวทางข้อตกลงการดำเนินงานต่าง ๆ 

ประเทศไทย ในฐานะประเทศเจ้าภาพของการประชุมสุดยอดผู้นำ “เอเปค” ประจำปี 2022 นี้ ได้ตั้งประเด็นของการประชุมครั้งนี้ว่า  “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของไทยที่จะให้ “เอเปค” เปิดกว้างสู่ทุกโอกาส เชื่อมโยงในทุกมิติ และสร้างสมดุลในทุกด้าน เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน  

ตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมาตำแหน่งประเทศประธานหมุนเวียนของ “เอเปค” ประจำปี 2022 ประเทศไทยได้ส่งเสริมความร่วมมือของ “เอเปค”  เพื่อให้เศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกพ้นจากผลกระทบของโควิด -19 โดยเร็ว และได้รับการพัฒนาอย่างสมดุล  โดยเน้นการค้าและการลงทุนแบบเสรี กระชับความร่วมมือเพื่อรวมกลุ่มเศรษฐกิจ ให้ความสำคัญกับการเร่งฟื้นฟูความเชื่อมโยงในภูมิภาคอย่างปลอดภัย ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมขับเคลื่อนการทำงานในทุกมิติ 

ปัจจุบัน  สถานการณ์ระหว่างประเทศปั่นป่วนและสลับซับซ้อน  ทั่วโลกได้เผชิญความเสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  วิกฤตพลังงาน  เศรษฐกิจถดถอย  ฯลฯ  

ในภาวะเช่นนี้  ฝ่ายต่าง ๆ หวังว่าการประชุมสุดยอดผู้นำ “เอเปค” ปี 2022 จะศึกษาแนวทางการแก้ไขเพื่อยับยั้งการถดถอยทางเศรษฐกิจ คลี่คลายวิกฤต  และสร้างสันติภาพ  อีกทั้งหวังว่า  การประชุมครั้งนี้จะสานต่อเป็นแนวนโยบายและความร่วมมือ โดยผลการประชุมจะเป็นประโยชน์ในระยะยาวต่อการสร้างความมั่นใจแก่ประชาคมโลก  และสร้างความมั่นคงของตลาดระหว่างประเทศ เพื่อให้เศรษฐกิจโลกอยู่ในสถานะที่ดีและยั่งยืนขึ้น


(YING/ZHOU)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)