ทูตอินโดนีเซียประจำจีนชี้ จีนเป็นผู้นำของ "การฟื้นฟูร่วมกันอย่างแข็งแกร่ง"

2022-11-14 14:25:31 | CMG
Share with:

ตามคำเชิญของนายโจโค วิโดโด (Joko Widodo) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ปธน.สี จิ้นผิงของจีนจะเข้าร่วมการประชุมสุดยอด G20 ครั้งที่ 17 ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซียระหว่างวันที่ 14-17 พฤศจิกายน 

โดยเมื่อเร็วๆ นี้ นายดาจาฮูฮาริ โอรัฐมันกัน (Djauhari Oratmangun) เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศจีนให้สัมภาษณ์พิเศษกับนักข่าวจาก CMG โดยกล่าวว่า อินโดนีเซียกำหนดหัวข้อการประชุมสุดยอดเป็น"การฟื้นฟูร่วมกันอย่างแข็งแกร่ง"  โดยจีนจะเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนการฟื้นฟูครั้งนี้ อินโดนีเซียยินดีที่จะกระชับความร่วมมือเชิงปฏิบัติกับจีนในด้านต่างๆ ต่อไป ส่งเสริมการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีในเชิงลึก

การประชุมสุดยอดผู้นำ G20 ครั้งที่ 17 จะจัดขึ้นที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งแต่วันที่ 15-16 พฤศจิกายน โดยทูตดาจาฮูฮาริ โอรัฐมันกัน เน้นว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ระเบียบเศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากโรคระบาด ในฐานะประธานหมุนเวียนของ G20 อินโดนีเซียนำเสนอหัวข้อการประชุมสุดยอดครั้งนี้ว่า"การฟื้นฟูร่วมกันอย่างแข็งแกร่ง" และเน้นประเด็นสำคัญอย่างเช่นสุขภาพโลก การปฏิรูปด้านดิจิทัล การปฏิรูปด้านพลังงาน และการรับมือกับวิกฤตพลังงานและอาหาร เป็นต้น 

เอกอัครราชทูตดาจาฮูฮาริ โอรัฐมันกันกล่าวว่าในฐานะประเทศทรงอิทธิพล จีนจะมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูของภูมิภาคและระดับโลกอย่างแน่นอน “สำหรับการฟื้นฟูร่วมกันอย่างแข็งแกร่ง จีนเป็นผู้นำอย่างไม่ต้องสงสัย และด้านการปฏิรูปด้านดิจิทัล พลังงานใหม่ การรับมือกับวิกฤตพลังงานและวิกฤตอาหาร เป็นต้น บทบาทของจีนในการประชุมสุดยอด G20 จะมีความสำคัญมาก ในฐานะที่เป็นตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา ถึงเวลาที่เราจะเปล่งเสียงอันทรงพลัง การสร้างระบบธรรมาภิบาลโลกนั้นต้องเริ่มกันที่เพื่อนบ้านของพวกเรา หากประเทศเพื่อนบ้านของเราสามารถพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรด้วยวิสัยทัศน์ร่วมกันได้ จะมีบทบาทช่วยในการพัฒนาธรรมาภิบาลโลก”

ในเดือนตุลาคม 2013 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงเยือนประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นครั้งแรก จุดแรกคืออินโดนีเซีย การมาเยือนครั้งนั้น ปธน.สี จิ้นผิงได้เสนอข้อริเริ่มร่วมกันสร้าง "เส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21" เป็นครั้งแรกในสุนทรพจน์ที่รัฐสภาอินโดนีเซีย จากการสื่อสารทางด้านนโยบาย การเชื่อมต่อสิ่งอำนวยความสะดวกไปจนถึงความผูกพันระหว่างบุคคล ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ได้รับการเสนอมาเกือบทศวรรษ เส้นทางการก่อสร้างร่วมระหว่างจีนและอินโดนีเซียยังคงลึกซึ้งและแข็งแกร่งขึ้นเรื่อย ๆ รถไฟความเร็วสูงจาการ์ตา-บันดุง(Jakarta-Bandung High-Speed Railway) ระยะทาง 142 กิโลเมตร ก็เป็นโครงการสัญลักษณ์ของการสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”ระหว่างจีนและอินโดนีเซีย


Bo/Patt/Cui

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)