บทวิเคราะห์ : จีนเสนอข้อริเริ่มความมั่นคงทั่วโลก เพื่อสร้างประชาคมมนุษย์ที่มีอนาคตร่วมกัน

2022-11-14 10:44:59 | CMG
Share with:

ทุกวันนี้  โลกของเรากำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน และก่อให้เกิดความท้าทายที่มนุษยชาติต้องรับมืออย่างจริงจัง    

ขณะนี้ สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ยังคงน่าเป็นห่วง   ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ได้ทวีความรุนแรงขึ้น  การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอ่อนแรง  ความเหลื่อมล้ำทางการพัฒนาระหว่างประเทศต่างๆเพิ่มมากขึ้น ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศยังคงไม่ได้รับการแก้ไข นอกจากนี้ การกำกับดูแลระบบดิจิทัลก็เป็นปัญหาท้าทายเช่นกัน    ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้  การที่จะต้องใช้วิธีการใดในการประสานการรักษาความปลอดภัยแบบดั้งเดิมและที่ไม่ใช่แบบดั้งเดิม ตลอดจนการสร้างหลักประกันให้แก่การพัฒนาและความมั่นคงนั้นได้กลายเป็นประเด็นปัญหาสำคัญที่มนุษย์ต้องเผชิญอยู่ในขณะนี้       

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนได้เสนอข้อริเริ่มว่าด้วยความมั่นคงทั่วโลกในพิธีเปิดการประชุมฟอรั่มเอเชียโป๋อ๋าวประจำปี 2022   ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา  โดยได้ให้คำตอบที่ชัดเจนต่อคำถามสำคัญต่างๆ  เช่น โลกนี้ต้องการแนวคิดด้านความมั่นคงอย่างไร และทุกประเทศจะบรรลุเป้าหมายความมั่นคงร่วมกันด้วยวิธีการใด  ข้อริเริ่มดังกล่าวได้นำเสนอแนวทางของจีนในการจัดการกับความท้าทายระดับโลก ขจัดต้นเหตุของความขัดแย้งระหว่างประเทศ    ตลอดจนบรรลุเสถียรภาพและความมั่นคงที่ยั่งยืนในโลก   

 

ความคิดริเริ่มสำคัญดังกล่าวสอดคล้องกับความปรารถนาร่วมกันของประชาชนทุกประเทศในการสร้างโลกที่มีความปลอดภัยร่วมกัน  สันติภาพเป็นความปรารถนาอันเป็นนิรันดร์ของมวลมนุษยชาติ   เมื่อมนุษย์ต้องเผชิญกับภัยคุกคามด้านความมั่นคงทั้งแบบดั้งเดิมและที่ไม่ใช่แบบดั้งเดิม ข้อริเริ่มว่าด้วยความมั่นคงทั่วโลกได้เสนอให้ก้าวพ้นจากเกมการแข่งขันที่ต้องมีฝ่ายแพ้ฝ่ายชนะ  และสนับสนุนแนวคิดแบบได้ชัยชนะร่วมกัน  เพื่อรับมือกับความท้าทายด้านความมั่นคงที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงกัน พร้อมทั้งสนับสนุนจิตวิญญาณแห่งความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการปรับตัวเพื่อจะได้เข้ากับสถานการณ์โลกที่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างลึกซึ้ง ข้อริเริ่มว่าด้วยความมั่นคงทั่วโลกได้รับการสนับสนุนจากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก ซึ่งบ่งชี้ว่า นี่เป็นความคิดริเริ่มที่สอดคล้องกับเจตจำนงของประชาชนทั่วโลก 

ความคิดริเริ่มที่สำคัญนี้ยังได้ตอบสนองความต้องการเร่งด่วนของประชาคมโลกในการรักษาระบบพหุภาคีที่แท้จริง   ข้อริเริ่มว่าด้วยความมั่นคงทั่วโลกที่เสนอโดยจีนมีรากฐานมาจากแนวคิดความเป็นพหุภาคีที่แท้จริง  จึงเรียกร้องให้ทุกประเทศต้องปฏิบัติตามวัตถุประสงค์และหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติ และปฏิเสธการแข่งขันที่ต้องมีฝ่ายแพ้ฝ่ายชนะ และการเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มประเทศ  พร้อมทั้งเน้นย้ำว่าความมั่นคงของโลกควรตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งการเคารพซึ่งกันและกันระหว่างประเทศ และการรักษาระบบระหว่างประเทศที่มีสหประชาชาติเป็นศูนย์กลาง ระเบียบระหว่างประเทศที่ได้รับการสนับสนุนโดยกฎหมายระหว่างประเทศ

ความคิดริเริ่มนี้ยังได้กำหนดหลักการและวางรากฐานสำคัญสำหรับการปฏิบัติตามความเป็นพหุภาคีและพัฒนาธรรมาภิบาลระดับโลก    จึงได้ตอบสนองความต้องการร่วมกันของประชาชนทุกประเทศในการทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างโลกที่ดีงามยิ่งขึ้นหลังโควิด-19 

 

ความมั่นคงเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นสำหรับการพัฒนา ขณะที่การพัฒนาเป็นหลักประกันสำหรับการรักษาความมั่นคง   ข้อริเริ่มว่าด้วยความมั่นคงทั่วโลกเน้นการประสานการรักษาความมั่นคงและการพัฒนา  จึงมีส่วนช่วยต่อการส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการสร้างโลกแห่งความมั่งคั่งร่วมกัน  

ข้อริเริ่มว่าด้วยความมั่นคงทั่วโลกมีรากฐานมาจากนโยบายการต่างประเทศที่สันติ เป็นอิสระ และเป็นตัวของตังเองของจีน และภาคปฏิบัติของนโยบายนี้ สะท้อนให้เห็นถึงประเพณีและภูมิปัญญาทางการทูตที่มีเอกลักษณ์ของจีน    จีนจะยืนหยัดเดินตามหนทางการพัฒนาที่สันติ  ปฏิบัติตามความรับผิดชอบระหว่างประเทศ และให้แก้ไขปัญหาระหว่างประเทศด้วยสันติวิธีโดยผ่านการเจรจาและการปรึกษาหารือกัน  

ข้อริเริ่มว่าด้วยความมั่นคงทั่วโลกสอดคล้องกับแนวโน้มแห่งยุคสมัยที่ต้องการมีสันติภาพ การพัฒนา และความร่วมมือแบบได้ชัยชนะร่วมกัน และจะมีส่วนช่วยต่อทุกฝ่ายในการก้าวสู่หนทางสันติภาพที่ยั่งยืนและความมั่นคงระดับโลก

จีนพร้อมที่จะทำงานร่วมกับประชาชนทุกประเทศที่รักสันติภาพ เพื่อดำเนินการตามข้อริเริ่มว่าด้วยความมั่นคงทั่วโลก สร้างโลกที่มีความเท่าเทียมและความยุติธรรมมากขึ้น ให้ทุกประเทศมีส่วนร่วมและได้ผลประโยชน์ร่วมกันจากการพัฒนา รวมพลังที่แข็งแกร่งเพื่อสร้างประชาคมมนุษย์ที่มีอนาคตร่วมกัน


(yim/cai)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)