บทวิเคราะห์ : จากงานเลี้ยงตอนค่ำทำเนียบเอลีเซ ถึงงานเลี้ยงทำเนียบขาว ยุโรปมองสหรัฐฯได้ทะลุปรุโปร่ง

2022-12-04 12:25:34 | CMG
Share with:

วันที่ 2 ธันวาคม  นายเอ็มมานูเอล มาครงประธานาธิบดีฝรั่งเศส ได้เสร็จสิ้นการเยือนสหรัฐฯเป็นเวลา 3 วัน  วัตถุประสงค์การเยือนสหรัฐฯของนายมาครงที่สันทัดในการไกล่เกลี่ยครั้งนี้  เพื่อหารือประเด็นกฎหมายว่าด้วยการลดอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ให้ยกเว้นต่อวิสาหกิจยุโรป  แต่กลับได้เพียงความผิดหวังเสียดายกลับมา

การเยือนสหรัฐฯของนายมาครงครั้งนี้เป็นการเยือนอย่างเป็นทางการ แต่แท้ที่จริงเพื่อทวงความยุติธรรม  เดือนสิงหาคมปีนี้  นายโจ  ไบเดน ได้ลงนามอนุมัติใช้กฎหมายปรับลดเงินเฟ้อ และประกาศมาตรการกระตุ้นจำนวนมากซึ่งรวมทั้งให้เงินชดเชยสูง เป็นต้น  เพื่อขับเคลื่อนการผลิตและประยุกต์ใช้รถพลังไฟฟ้าและเทคโนโลยีสีเขียวอื่นๆในสหรัฐฯ  ซึ่งสร้างความไม่พอใจยิ่งให้กับประเทศยุโรป เนื่องจากบรรดาประเทศยุโรปเห็นว่า กฎหมายฉบับนี้ได้รวมนโยบายลัทธิปิดกั้นทางการค้า  ได้ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์องค์การการค้าโลก  จะเพิ่มความซบเซาให้กับภาคการผลิตอุตสาหกรรมของยุโรป  บีบบังคับให้วิสาหกิจยุโรปโยกย้ายเส้นการผลิตไปที่สหรัฐฯ

เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของยุโรป ก่อนการไปเยือนสหรัฐฯ นายมาครงได้จัดงานเลี้ยงที่ทำเนียบเอลีเซ ทำเนียบประธานาธิบดีฝรั่งเศส เพื่อต้อนรับนักวิสาหกิจยุโรปจำนวนมากโดยเฉพาะ  มุ่งที่จะเกลี้ยกล่อมให้พวกเขาคงเส้นการผลิตไว้ในยุโรปต่อไป  สื่อมวลชนฝรั่งเศสและยุโรปต่างก็คาดหวังต่อการเยือนสหรัฐฯของนายมาครองครั้งนี้ ว่าสามารถเกลี้ยกล่อมให้สหรัฐฯยกเว้นวิสาหกิจยุโรปได้   วันแรกที่นายมาครงเดินทางถึงสหรัฐฯ  นายมาครงได้วิพากษ์วิจารณ์กฎหมายปรับลดเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ว่ามีลักษณะโจมตีเหนือชั้นต่อวิสาหกิจยุโรป  ทำให้ตำแหน่งงานของฝรั่งเศสและยุโรปเผชิญสภาพถูกทำลาย  เป็นการใช้วิธีทำลายผลประโยชน์ของยุโรปมาแก้ไขปัญหาสหรัฐฯ   นายมาครงยังระบุว่า  ฝรั่งเศสหวังว่าสหรัฐฯ จะเห็นฝรั่งเศสเป็นเพื่อนที่ดี  และเสนอให้สองฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกส่งเสริมการประสานงานด้านเศรษฐกิจ  

ต่อการร้องขอของนายมาครง  นายไบเดนระบุว่าสหรัฐฯสามารถ “ปรับเล็กน้อย” ได้  แต่ไม่ได้กล่าวถึงมาตรการที่เป็นรูปธรรม  สื่อมวลชนเยอรมนีรายงานว่า  สำหรับปัญหาที่เกี่ยวพันถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การเลือกสรรอันดับแรกของสหรัฐฯย่อมคำนึงถึงตนเองก่อนเป็นเรื่องถาวร  ชาวยุโรปต้องมีความเข้าใจอย่างชัดแจ้งต่อการนี้

ในด้านนี้  ยุโรปน่าจะมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งตั้งแต่แรก ตั้งแต่เกิดการปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครนเป็นต้นมา  เนื่องจากดำเนินการคว่ำบาตรต่อรัสเซียหลายรอบตามสหรัฐฯ  ทำให้ยุโรปเผชิญหน้ากับวิกฤติพลังงานอย่างใหญ่หลวง  แต่สหรัฐฯที่บอกว่าตนเป็นพันธ์มิตรของยุโรปนั้น  กลับถือโอกาสนี้ขึ้นราคา ฉกเอาผลประโยชน์ขณะที่ผู้อื่นกำลังตกอยู่ในความลำบาก   ภายใต้วิกฤติหลายอย่าง  ยุโรปกำลังเผชิญหน้ากับการคุกคามใหญ่หลวงที่อุตสาหกรรม ตำแหน่งงานและเงินทุนไหลไปที่สหรัฐฯ  ยุโรปคงมองเห็นความเจตนาของสหรัฐฯได้อย่างชัดแจ้งแล้ว  จังหวะก้าวที่แสวงหาความเป็นตัวของตัวเองเชิงยุทธศาสตร์นั้นไม่อาจจะหยุดได้


(Yim/Cui/zheng)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)