ตรุษจีนเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับชาวจีน จะมีวันหยุดยาว 7 วัน ถือว่าเป็นสัปดาห์ทองสำหรับการเดินทาง ตามประเพณีของจีน วันตรุษจีนเป็นวันครอบครัว ไม่ว่าจะทำงานในเมืองไหน เมื่อถึงช่วงตรุษจีน มักจะกลับบ้านเกิด เพื่ออยู่พร้อมหน้ากันกับพ่อแม่ญาติพี่น้อง ร่วมกันเฉลิมฉลองวันปีใหม่จีน
ในเทศกาลที่มีมาช้านานของจีนดังกล่าวนี้ ญาติพี่น้องจะรวมกันทานอาหารอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน เมื่อกล่าวถึงการกิน ชาวจีนจะมีอาหารพิเศษที่นิยมรับประทานในช่วงเทศกาลตรุษจีน แต่เนื่องจากจีนมีพื้นที่กว้างใหญ่ ในแต่ละเมืองจะมีประเพณีการกินอาหารที่แตกต่างกันด้วย
กล่าวโดยทั่วไป แม้ว่าแต่ละเมืองในจีนมีประเพณีการกินอาหารที่แตกต่าง แต่มีอาหารหลายอย่างที่ได้รับความนิยมตรงกัน ก็คือเกี๊ยว บะหมี่อายุยืน ปอเปี๊ยะและขนมเข่ง
ชาวจีนจะกินเกี๊ยวในยามเที่ยงคืนของวันส่งท้ายปีตามปฏิทินจันทรคติจีน เกี๊ยวในภาษาจีนเรียกว่า “เจี่ยวจือ” เที่ยงคืนตามยามโบรารณจีนก็คือ ช่วงจื่อสือ ซึ่งมีเสียงคล้ายกัน การกินเกี๊ยวในช่วงสิ่งเก่ากับสิ่งใหม่สับเปลี่ยนกันนี้ จึงหมายความถึงส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่
บะหมี่อายุยืนก็เป็นอาหารอีกอย่างหนึ่งที่ชาวจีนนิยมกินในช่วงตรุษจีน การกินบะหมี่อายุยืนในปีใหม่จีนจะมีความหมายว่าในปีใหม่นี้จะมีอายุยืนจะประสบความสำเร็จตามความปรารถนาได้ บะหมี่อายุยืนนี้มีหลายรูปแบบ บางพื้นที่ทำเป็นบะหมี่น้ำ บางพื้นที่ทำเป็นบะหมี่แห้ง วัตถุดิงบะหมี่นี้ก็มีหลากหลาย ทั้ง ซี่โครงหมู ไก่ เป็ด ผัก และอาหารทะเล
ส่วนปอเปี๊ยะ ภาษาจีนเรียกว่า “ชุนจ่วน” เป็นอาหารทานเล่นประจำฤดูใบไม้ผลิ เนื่องจากเป็นของทอดที่ห่อผักสดหลายอย่างที่เก็บในฤดูใบไม้ผลิ การกินปอเปี๊ยะในตรุษจีนจะมีความหมายต้อนรับปีใหม่ ได้สิ่งดีๆ ในรอบปีต่อไป
ถ้าพูดถึงตรุษจีน ที่ขาดไม่ได้เลยคือ ขนมเข่ง ทำไมต้องมีขนมเข่ง ขนมเข่งภาษาจีนเรียกว่าเหนียนเหนียนกาว ซึ่งมีความหมายว่ามีความเจริญยิ่งขึ้นทุกปี การกินขนมเข่งในตรุษจีนจะมีความหมายว่าการทำงานและการตำรงชีวิตจะมีความเจริญยิ่งขึ้นในปีต่อไป
มีทั้งเกี๊ยว บะหมี่อายุยืน ปอเปี๊ยะ ขนมเข่งจะเป็นของกินยอดนิยมที่กินกันทั่วประเทศจีนในช่วงตรุษจีน นอกจากของกิน 4 อย่างนี้แล้ว แต่ละท้องถิ่นยังมีของกินประจำในตรุษจีนที่น่าสนใจ
ในมณฑลกวางตุ้ง การกินกุนเชียงในตรุษจีนจะเป็นประเพณีพื้นบ้านอย่างหนึ่ง ชาวกวางตุ้งจะเตรียมกุนเชียงก่อนตรุษจีน เมื่อญาติพี่น้องอยู่ร่วมพร้อมหน้าพร้อมตากัน สิ่งที่ขาดเสียมิได้ในโต๊ะอาหารก็คือกุนเชียง ถ้ากล่าวถึงรสชาติ สิ่งพิเศษของกุนเชียงกวางตุ้งก็คือหวานกว่ากุนเชียงของพื้นที่อื่นๆ ต้นเหตุก็คือ วิธีการทำกุนเชียงของมณฑลกวางตุ้งได้ใส่น้ำตาลเข้าไปด้วย
ในเขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วงกวางสี เมื่อถึงตรุษจีน ชาวกวางสีจะห่อบะจ่างกันทุกครอบครัว นับได้ว่าเป็นงานใหญ่สำหรับชาวกวางสีในการเตรียมของกินเพื่อฉลองปีใหม่จีน ชาวกวางสีถือว่าขนมบะจ่างเป็นของกินที่เป็นศิริมงคล นอกจากเป็นอาหารประจำโต๊ะอาหารช่วงตรุษจีนแล้ว ยังเป็นของขวัญที่นิยมมอบให้กันในช่วงตรุษจีนด้วย
ถั่วงอกเป็นของกินประจำโต๊ะอาหารของชาวเซี่ยงไฮ้ในช่วงตรุษจีน ถั่วงอกผักก็ได้ ทำเป็นแกงก็ได้ ตามความคิดของชาวเซี่ยงไฮ้ ถั่วงอกเป็นสัญลักษณ์ความเจริญ เป็นของกินที่มีความศิริมงคล ถั่วงอกจึงเป็นของกินที่ขาดเสียมิได้ในช่วงตรุษจีน
จากภาคใต้ไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซาลาเปาไส้ถั่วจะเป็นของกินที่คนภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมกันมากที่สุด ซาลาเปาไส้ถั่วทำจากข้าวเหนียวเหลือง แรกเริ่มใช้เป็นของเซ่นไหว้บรรพบุรุษ และก็เป็นของกินขณะออกไปล่าสัตว์ในสมัยโบราณ ในทุกวันนี้ ประเพณีของภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็คือทั้งครอบครัวทำซาลาเปาไส้ถั่วด้วยกันก่อนตรุษจีน แล้วกินพร้อมหน้าพร้อมตากันในช่วงตรุษจีน ซึ่งจะมีความหมายว่าทั้งครอบครัวจะมีความสุข สมานฉันท์กัน อีกอย่างทีคนไทยน่าจะคุ้นเคย นั่นคือ หมั่นโถว
ส่วนในมณฑลเจียงซู การนึ่งหมั่นโถวจะเป็นประเพณีมีมาช้านานอย่างหนึ่ง ในสองวันสุดท้ายของปีเก่าตามปฏิทินจันทรคติจีน ชาวเจียงซูจะหมักแป้งให้ฟูและนึ่งหมั่นโถวให้เสร็จ เพื่อจะกินหมั่นโถวในช่วงตรุษจีน การนึ่งในภาษาจีนเรียกว่า “เจิง” มีความหมายตรงกับความเติบโตเจริญรุ่งเรือง การกินหมั่นโถวในช่วงตรุษจีน จะมีความหมายว่าได้เงินได้ทองและมีความเจริญรุ่งเรือง ส่วนอีกอย่างคนไทยน่าจะคุ้นเคยนั่นคือ "บัวลอย"
บัวลอยเป็นขนมที่อร่อยอีกอย่าง และก็เป็นของกินที่กินกันทุกวันในช่วงตรุษจีนของชาวหนานจิง ชาวหนานจิงจะกินบัวลอยตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำจน 15 ค่ำตามปฏิทินจันทรคติจีน บัวลอยมีรูปร่างกลม ชาวหนานจิงถือว่าบัวลอยนี้จะมีความหมายว่าครอบครัวอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน
นอกจากนี้แล้ว ในโต๊ะอาหารช่วงตรุษจีนของชาวจีนมักจะได้เห็นปลา ซึ่งมีความหมายว่ามีเหลือกินเหลือใช้ และมักจะมีเต้าหู้ ซึ่งมีความหมายว่ามีความสุข หัวไชเท้า หมายถึงมีความโชคดี และยังต้องมีของหวานเป็นอาหารปิดท้าย ซึ่งมีความหมายว่าให้มีความหวานตลอดปี