วันที่ 22-23 มีนาคม กรุงปักกิ่งได้จัดการประชุมสากลว่าด้วยประชาธิปไตย : คุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่มีร่วมกัน ครั้งที่ 2 นายหลี่ ซูเหล่ย กรรมการกรมการเมือง คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ผู้ว่าการฝ่ายประชาสัมพันธ์แห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนร่วมพิธีเปิดและกล่าวคำปราศรัย
การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ แขกผู้มีเกียรติหลายร้อยคนจากกว่า 100 ประเทศ เขตแคว้นและองค์การสากลอภิปรายกันภายใต้ 5 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ ประชาธิปไตยกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน, ประชาธิปไตยกับการนวัตกรรม, ประชาธิปไตยกับการธรรมาภิบาลโลก, ประชาธิปไตยกับความหลากหลายของอารยธรรมมนุษย์ และประชาธิปไตยกับหนทางการพัฒนาที่ทันสมัย เพื่อร่วมหารือความหมายที่แท้จริงของประชาธิปไตย
แขกผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมประชุมกล่าวว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีนนำเสนอและพัฒนาประชาธิปไตยประชาชนทั้งกระบวนการ ภายใต้แนวคิดประชาชนเป็นตัวของตัวเอง ทำการปรับเปลี่ยนทางระบบตามหลักวิทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพและดำเนินการปฏิบัติทางประชาธิปไตยที่เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง ประชาชนมีสิทธิตามหลักประชาธิปไตยอย่างกว้างขวางและมีส่วนร่วมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้ผนึกความรับรู้และกำลังให้กับความทันสมัยแบบจีน หนทางประชาธิปไตยของจีนกว้างขึ้นทุกขณะ ก็ได้เสนอสติปัญญาของจีนร่วมสร้างความก้าวหน้าทางอารยธรรมด้านการเมืองของมนุษย์ด้วย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีไทยกล่าวว่า ประชาคมโลกต้องการแสดงบทบาทสร้างสรรค์ ปฏิบัติตามพหุภาคีนิยมอย่างแน่วแน่ หลีกเลี่ยงที่จะนำประชาธิปไตยเป็นเส้นแบ่งการต่อสู้ระหว่างค่าย ข้าพเจ้าเห็นว่า นี่คือวิธีที่มีผลในการผลักดันโลกหลายขั้วอำนาจและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้เป็นแบบประชาธิปไตย
นายโภคิน พลกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทยจีนพูดว่า เวลานี้กล่าวได้ว่า จีนได้ประสบผลงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่น่าจับตามองของโลก นอกจากนี้ จีนผลักดันการบรรเทาความยากจน อนุรักษ์โลกมาโดยตลอด คุ้มครองให้ผู้คนได้รับสันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง
ดร.วิรุฬห์ พิชัยวงศ์ภักดี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย-จีนวิเคราะห์ว่า ข้อได้เปรียบของประชาธิปไตยแบบจีนมี 3 ประการ ประการแรกคือประชาธิปไตยแบบจีนมีประชาชนจีนเข้าร่วมอย่างกว้างขวาง ประการที่สองคือในบางประเทศ ประชาธิปไตยก็เพื่อการเลือกตั้งอย่างเดียว แต่ประชาธิปไตยแบบจีนเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน ประการที่สามคือประชาธิปไตยแบบจีนเน้นประชาชนอยู่เหนือสุดดังที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงกล่าวไว้ ดร.วิรุฬห์ พิชัยวงศ์ภักดีกล่าวว่า ประชาธิปไตยไม่ใช่รูปแบบอย่างเดียวแต่เป็นความหลากหลาย ประชาธิปไตยของแต่ละประเทศล้วนมีอัตลักษณ์ของตนซึ่งรวมทั้งประชาธิปไตยแบบจีนด้วย ทุกประเทศควรเลือกประชาธิปไตยที่เหมาะกับสภาพบ้านเมืองของประเทศตน
นายกวี จงกิจถาวร นักวิจัยอาวุโส สถาบันการศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเห็นว่า การประชุมสองสภานับเป็นหน้าต่างที่จะเห็นทิศทาง แนวโน้มการพัฒนาของจีนทางด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและความมั่นคง เพราะการประชุมสองสภา สะท้อนทิศทางของรัฐบาลอย่างชัดเจนว่า สังคมจีนจะเดินทางไปทางไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอนาคต อย่างเช่น กรณีการพัฒนาประเทศก็จะสร้างความทันสมัยแล้วก็การพึ่งพาตัวเองในเทคโนโลยีระดับสูง ส่วนในเรื่องความมั่นคง ก็จะพึ่งพาตัวเองแล้วก็พัฒนาความเข้มแข็งทางด้านการป้องกันประเทศ นายกวี จงกิจถาวรกล่าวด้วยว่า ความทันสมัยแบบจีนอาจหมายถึงความทันสมัยที่พึ่งพาตัวเองมากขึ้น นับว่าสำคัญยิ่ง หวังว่า นักวิทยาศาสตร์นักวิชาการภายในประเทศจะทำการศึกษาวิจัยอย่างมุ่งมั่นต่อไป โดยอาศัยความรู้และพลังของตัวเองมากขึ้น
เขียนโดย ชุย อี๋เหมิง ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)
(Yim/Cui)