เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์วิจัยจิตวิทยาของสภาวิทยาศาตร์และสังคมศาสตร์แห่งประเทศจีน และสำนักข่าวสิ่งพิมพ์ด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์จีน ได้ร่วมกันประกาศหนังสือปกน้ำเงินว่าด้วยสุขภาพจิตเล่มที่ 3 ของจีน โดยได้ระบุผลการตรวจสุขภาพจิตของนักศึกษาจีนเกือบ 80,000 คน ที่มีอายุระหว่าง 15 ปี - 26 ปี ประจำปี 2022
ผลการสำรวจพบว่า นักศึกษาจีนที่รู้สึกพอใจกับชีวิตเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็น 74.10% นักศึกษาที่ไม่แน่ใจว่าพอใจกับชีวิตหรือไม่ คิดเป็น 17.24% ส่วนอีก 8.66% รู้สึกไม่พอใจกับชีวิต
นักศึกษา 50.44% มีแผนเรียนต่อปริญญาโท ซึ่งนักศึกษาจำนวนนี้รู้สึกมีแรงกดดันมากกว่านักศึกษาที่ไม่ได้วางแผนเรียนต่อ ขณะเดียวกันแรงกดดันหลักๆ ของนักศึกษาส่วนใหญ่มาจาก “เรียนหนัก” “คิดถึงครอบครัว” และ “ตัดสินใจไม่ถูกว่าตัวเองเหมาะกับการทำงานอะไร” ซึ่งประการแรกและประการที่ 3 ต่างมีความเกี่ยวพันธ์กับการวางแผนชีวิต
นอกจากการพัฒนาส่วนตัวแล้ว วิถีชีวิตก็มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับสุขภาพจิตของนักศึกษา จากการสำรวจที่ได้ประเมินจากสภาพการนอนหลับ ต้นเหตุแรงกดดัน และความรู้สึกด้านลบที่เกิดจากความรู้สึกไม่เห็นคุณค่าของชีวิต สถิติแสดงว่าดัชนีนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล
สถิติที่น่าสนใจอีกอย่างคือ นักศึกษา 27.61% มีแฟน ในขณะที่ 41.93% เป็นโสด และไม่อยากมีแฟน อีก 25.40% อยากมีแฟน ส่วนที่เหลือไม่ได้ระบุสถานะ
Bo/Ldan/Zhou