เมื่อวันที่ 6 เมษายน ในช่วงระหว่างการ “แวะเยือน” สหรัฐฯนั้น ช่าย อิงเหวิน ผู้นำเขตไต้หวันของจีนได้พบกับเควิน แมคคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฏรของสหรัฐฯ นี่เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ยั่วยุทางการเมืองที่ก่อขึ้นโดยพันธมิตรสหรัฐฯ-ไต้หวันหลังจากที่แนนซี เพโลซีเยือนไต้หวันเมื่อปีที่แล้ว ที่เป็นการละเมิดหลักการจีนเดียวและข้อกำหนดของแถลงการณ์ร่วมจีน-สหรัฐฯ สามฉบับ ทำลายอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของจีน เป็นการส่งสัญญาณที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรงไปยังอิทธิพลแบ่งแยกไต้หวันให้เป็นเอกราช ทางการพรรคหมินจิ้นใช้ความพยายามครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อ"พึ่งพาสหรัฐฯในการแสวงหาความเป็นเอกราช" และบุคคลบางคนในสหรัฐฯ หมายจะ"ใช้ไต้หวันควบคุมจีน" ทั้งนี้เป็นต้นตอที่ทำให้สถานการณ์ช่องแคบไต้หวันมีความตึงเครียดมากขึ้น
ปัญหาไต้หวันเป็นประเด็นอ่อนไหวเป็นแกนหลักของผลประโยชน์ของจีน เป็นพื้นฐานของรากฐานทางการเมืองของความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ และเป็นเส้นแดงเส้นพื้นฐานระดับแรกๆ ที่ไม่สามารถล้ำเส้นได้เพราะเกี่ยวโยงถึงความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ
การจัดการกับปัญหาไต้หวันอย่างเหมาะสมมีหลักการที่สำคัญที่สุดคือการยึดมั่นในจีนเดียว ซึ่งหลักการนี้ได้รับการยืนยันในมติที่ 2758 ของสมัชชาสหประชาชาติเมื่อปี 1971 เป็นฉันทามติทั่วไปและเป็นบรรทัดฐานพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ได้รับการยอมรับจากประชาคมโลก ในปัจจุบัน มี 182 ประเทศทั่วโลกรวมถึงสหรัฐฯด้วย ได้สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนบนพื้นฐานของหลักการจีนเดียว
สหรัฐฯ ได้ให้คำมั่นสัญญาต่อหลักการจีนเดียว แถลงการณ์ว่าด้วยการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาที่ประกาศเมื่อเดือนธันวาคม ปี 1978 ระบุไว้ว่า: "รัฐบาลของสหรัฐอเมริกายอมรับจุดยืนของจีนคือมีเพียงจีนเดียวและไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน" “สหรัฐฯ อเมริกายอมรับว่ารัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายแต่เพียงหนึ่งเดียวของจีน
ในขอบเขตนี้ ประชาชนของสหรัฐอเมริกาจะรักษาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม การค้า และความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการอื่น ๆ กับประชาชนไต้หวัน"
นับตั้งแต่รัฐบาลไบเดนปกครองประเทศแล้ว ได้สัญญาไว้หลายครั้งว่าไม่สนับสนุนให้ไต้หวันเป็นเอกราช ไม่สนับสนุน "สองจีน" และไม่สนับสนุน "จีนหนึ่งไต้หวันหนึ่ง"
การที่แมคคาร์ธีในฐานะที่เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรและนักการเมืองหมายเลข 3 ของสหรัฐฯ ได้พบกับไช่ อิงเหวินนั้น ได้ฝ่าฝืนคำมั่นสัญญาที่สหรัฐฯ ให้กับจีน ทำลายความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ ด้วยตนเอง เป็นการยั่วยุทางการเมืองที่หมายจะส่งเสริมการแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการระหว่างสหรัฐฯ และไต้หวัน และส่งเสริมแผนการ "สนับสนุนไต้หวันและยับยั้งจีน" ทั้งนี้จะสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อสันติภาพในช่องแคบไต้หวัน ความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ และระเบียบระหว่างประเทศ
ไต้หวันเป็นของจีน และการแก้ไขปัญหาไต้หวันก็เป็นเรื่องของจีนเอง ไม่ว่าสหรัฐฯและไต้หวันจะแสดงท่าทีอย่างไร ก็จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และหลักกฎหมายที่ว่าไต้หวันเป็นของจีน จะไม่ขัดขวางแนวโน้มทางประวัติศาสตร์ของการรวมประเทศเข้าเป็นเอกภาพของจีน และจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์โดยรวมที่ประเทศส่วนใหญ่ในโลกก็ยอมรับและสนับสนุนหลักการ “จีนเดียว”
Ying/LR/Cui