บทวิเคราะห์ : จีนถามสหรัฐใครกันแน่ข่มขู่ทางเศรษฐกิจ

2023-05-15 13:56:41 | CMG
Share with:

เมื่อเร็วๆ นี้ นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สหรัฐฯ เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีการคลังและผู้อำนวยการธนาคารกลางกลุ่มจี 7 และขอร้องให้ใช้ปฏิบัติการร่วมกัน เพื่อต้าน  “การข่มขู่” ทางเศรษฐกิจของจีน  

เมื่อกล่าวถึง “การข่มขู่” ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สหรัฐฯ เป็นผู้เริ่มคำนี้ขึ้นมาเอง และเป็นปฏิบัติการที่สหรัฐฯ ใช้อยู่มาโดยตลอด เนื้อหาสำคญของคำนี้ก็คือ สหรัฐฯ ใช้การข่มขู่ทางกำลังอาวุธ การสร้างความโดดเดี่ยวทางการเมือง การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและการปิดล้อมทางเทคโนโลยี บีบบังคับให้ประเทศปรับเปลี่ยนตามความต้องการของสหรัฐฯ  เพื่อคุ้มครองความเป็นมหาอำนาจของสหรัฐฯ อย่างเต็มที่ 

เมื่อเร็วๆ นี้ สื่อสหรัฐฯ ออกข่าวบ่อยครั้งว่าก่อนหรือหลังการประชุมสุดยอดจี 7 สหรัฐฯ จะประกาศข้อจำกัดการลงทุนต่อจีนที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับนิวไฮเทคต่างๆ อาทิ เซมิคอนดักเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์และคอมพิวเตอร์ควอนตัม เป็นต้น   ถ้าเป็นเรื่องจริง จะเป็นเหตุการณ์อีกครั้งที่สหรัฐฯ ข่มขู่จีนทางเศรษฐกิจ ยับยั้งการพัฒนาของจีน 

การปิดล้อมทางเทคโนโลยีป็นวิธีการข่มขู่ทางเศรษฐกิจที่สหรัฐฯ ใช้บ่อย นอกจากนั้น การคว่ำบาตรโดยลำพังฝ่ายเดียวก็เป็นวิธีการข่มขู่ทางเศรษฐกิจที่สหรัฐฯ ใช้บ่อยเช่นกัน แม้กระทั่งประเทศพันธมิตรก็ไม่รอดเช่นกัน ตั้งแต่ทศวรรษปี 1980 เป็นต้นมา สหรัฐฯ คว่ำบาตรทางเศรษฐกิจหลายครั้งต่อญี่ปุ่น เพื่อปราบปรามอุตสาหกรรมการผลิตที่มีความเหนือกว่าของญี่ปุ่น อาทิ เซมิคอนดักเตอร์ แม้กระทั่งบังคับให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ทั้งนี้กล่าวได้ว่าเป็นการข่มขู่ทางเศรษฐกิจที่เป็นบทเรียน 

การประชุมสุดยอดกลุ่มจี 7 จะเริ่มขึ้นในเร็วๆ นี้ ในกลุ่มนี้มีประเทศสมาชิกหลายประเทศเคยเป็นผู้ถูกข่มขู่จากสหรัฐฯ ถ้าหากสหรัฐฯ อยากจะจัดให้วาระ “การรับมือกับการข่มขู่ทางเศรษฐกิจ”เข้าในการประชุม พวกเขาควรทบทวนประสบการณ์ที่ผ่านมาและชี้แจงประณามการกระทำของสหรัฐฯ ที่อยากจะพลิกจากขาวเป็นดำ

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (25-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (24-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (24-04-2567)