บทวิเคราะห์ : จีนชี้สหรัฐฯ ควรเรียนรู้วิธีการดูแลความสัมพันธ์ด้วยวิธีการแบบคิสซิงเจอร์

2023-05-29 20:24:28 | CMG
Share with:

ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ดร. เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ เพิ่งฉลองวันคล้ายวันเกิดครบรอบร้อยปีของเขา ก่อนหน้านี้เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศสหรัฐฯ คนใหม่ได้พบกับเขา เพื่ออวยพรวันเกิด ทั้งนี้สะท้อนถึงประเพณีของวัฒนธรรมจีนที่ให้ความสำคัญต่อไมตรีจิต และแสดงความชื่นชม ความเคารพที่มีต่อเพื่อนเก่าของประชาชนจีนคนนี้ที่ใช้ความพยายามเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ

ย้อนกลับไปถึงชีวิตนักการทูตของดร. เฮนรี่ คิสซิงเจอร์  การเยือนกรุงปักกิ่งในทางลับเมื่อปี 1971 เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญ  เวลานั้นเขาได้ร่วมกับผู้นำของจีนและสหรัฐฯ ในสมัยนั้น ผลักดันประเทศที่มีสภาพต่างกันให้บรรลุซึ่งความสัมพันธ์เป็นปกติ  ซึ่งส่งผลกระทบสำคัญต่อจีนและสหรัฐฯ ตลอดจนทั่วโลกจนถึงทุกวันนี้เวลาผ่านไปกว่า 50 ปีแล้ว นโยบายของจีนที่มีต่อสหรัฐฯ ได้รักษาไว้ซึ่งความต่อเนื่องและความมั่นคง แต่สหรัฐฯ ยืนหยัดถือจีนเป็นคู่แข่งที่สำคัญที่สุดและการท้าทายระยะยาวเนื่องจากความรับรู้ต่อจีนที่ผิดผลาด จนทำให้ความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ ออกนอกเส้นทางที่ถูกต้อง ทำให้โลกตกอยู่ในภาวะวิตกกังวลอย่างเห็นได้ชัด นักการเมืองของสหรัฐฯ จะต้องเข้าใจและรับรู้ผลประโยชน์แห่งชาติสหรัฐฯ ก่อน และสำนึกว่า การคุ้มครองผลประโยชน์แห่งชาตินั้นไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นศัตรูกับจีน และบีบการพัฒนาของจีน เหมือนเช่นที่ ดร.เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ ได้ให้แบบอย่างทางบวกมาแล้ว

ประวัติศาสตร์เป็นตำราเรียนที่ดีที่สุด เมื่อครึ่งศตวรรษก่อน จีนและสหรัฐฯ ได้จับมือกันอย่างไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งเป็นบทเรียนสำหรับการจัดการกับความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ ในปัจจุบันฝ่ายจีนเสนอว่าจีนและสหรัฐฯ จะต้องเคารพซึ่งกันและกัน อยู่ร่วมกันอย่างสันติและร่วมมือกันเพื่อได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งนี้เป็นประสบการณ์ที่สะสมมาจากความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ นานกว่า 50 ปี และก็เป็นช่องทางการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศที่ถูกต้องในยุคสมัยใหม่

สำหรับความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่สำคัญที่สุดในโลก ดร. เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ เคยชี้แจงมาหลายครั้งว่าสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองของโลก ขึ้นอยู่กับความรับรู้เข้าใจกันระหว่างสังคมของสองประเทศ หากเกิดสงครามเย็นระหว่างจีนและสหรัฐฯ ก็จะเป็นภัยพิบัตต่อสองประเทศตลอดจนทั่วโลก

เมื่อเร็วๆ นี้ ดร. เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ ได้ให้สัมภาษณ์นิตยสาร ดิอีโคโนมิสต์(The Economist) โดยกล่าวว่า “มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จีนและสหรัฐฯ จะอยู่ร่วมกันในสภาวะที่ไม่คุกคาม ก่อสงครามรอบด้านต่อกัน? ผมเห็นว่าในปัจจุบันยังมีความเป็นได้”  

หวังว่าสหรัฐฯ จะเรียนรู้ประสบการณ์ของนักการเมืองอาวุโส กลับมาปฏิบัตินโยบายต่อจีนอย่างมีเหตุผลและใช้งานได้จริง กลับสู่ช่องทางอันถูกต้องของแถลงการณ์ร่วมสามฉบับระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของสองประเทศ และผลประโยชน์ของโลก และก็อาจเป็นของขวัญวันเกิดที่ดร. เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ ปรารถนาที่สุด


Bo/LR/Cui 

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)