เมื่อเร็วๆ นี้ ประเทศต่างๆ รวมทั้ง หมู่เกาะแปซิฟิก ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ เปรู จีน เกาหลีใต้ และประชาคมโลก ต่างคัดค้านต่อญี่ปุ่นจากกรณีที่จะปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีลงสู่ทะเล แต่ว่าสหรัฐฯ และบางประเทศตะวันตกยังคงนิ่งเฉย
จากการวิจัยหลายอย่างแสดงให้เห็นว่าน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีในฟุกุชิมะ มีนิวไคลด์รังสีมากกว่า 60 ชนิด ฝ่ายญี่ปุ่นยอมรับด้วยว่าประมาณ 70% ของน้ำที่ปนเปื้อนที่บำบัดด้วยเทคโนโลยี ALPS แต่ยังไม่เข้าขั้นมาตรฐานการปล่อย จากการวิจัยของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งเยอรมันระบุว่าเนื่องจากกระแสน้ำในมหาสมุทรที่แรงที่สุดในโลกไหลผ่านชายฝั่งฟุกุชิมะ สารกัมมันตภาพรังสีจะแพร่กระจายไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกส่วนใหญ่ภายใน 57 วันหลังจากปล่อยลงสู่ทะเล และจะอยู่ในทะเลประมาณ 30 ปีขึ้นไป นิวไคลด์กัมมันตภาพรังสีเหล่านี้ถูกปล่อยลงทะเลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายให้กับระบบนิเวศน์ในทะเลแต่ยังเป็นอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพของมนุษย์อีกด้วย
หลังจากเกิดอุบัติเหตุนิวเคลียร์ฟุกุชิมะเมื่อปี 2011 ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ได้บรรลุข้อตกลงความร่วมมือในการจัดการร่วมกันเกี่ยวกับอุบัติเหตุและการฟื้นฟูหลังเกิดภัยพิบัติ ทั้งสองฝ่ายถือเอาอุบัติเหตุครั้งนี้เป็น "โอกาส" ในการส่งเสริมความสัมพันธ์พันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ญี่ปุ่นใช้อำนาจของสหรัฐฯ เพื่อขอรับการสนับสนุนการปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีลงทะเล และ สหรัฐฯ ใช้โอกาสนี้ เพื่อรักษาความมั่นคงทางกองทัพในญี่ปุ่น และเพิ่มการควบคุมญี่ปุ่นเรียกว่า "win-win" พวกเขาไม่สนใจว่าประเทศอื่น ๆ จะได้รับความเสียหายมากน้อยแค่ไหน
มหาสมุทรแปซิฟิกเปรียบเสมือนเป็นบ้านสวนของมนุษยชาติ ไม่ใช่สถานที่ทดสอบนิวเคลียร์สำหรับบางประเทศหรือเป็นเบี้ยต่อรองในเกมภูมิรัฐศาสตร์ รัฐบาลญี่ปุ่นควรรับฟังเสียงเรียกร้องของทุกฝ่ายหยุดแผนปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีลงสู่ทะเลทันที และไม่เพิ่มหนี้ใหม่ให้กับหนี้เก่าโดยจีนขอให้บรรดาประเทศตะวันตกที่นิ่งเฉยอย่าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดกับแผนนี้
Bo/Lei/Zi