บทวิเคราะห์ : เจ้าหน้าที่อาวุโสสหรัฐฯเยือนแปซิฟิกใต้หลายครั้ง เป็นกับดักหรือไม่?

2023-07-28 16:55:06 | CMG
Share with:

เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐเข้าร่วมพิธีเปิดสถานทูตแห่งใหม่ของสหรัฐในประเทศตองกา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาและตองกาเปิดสถานทูต หลังจากมีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อ 51 ปีที่แล้ว ในวันเดียวกัน ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้เดินทางไปเยือนประเทศปาปัวนิวกินี

การเดินทางครั้งนี้เป็นการเดินทางเยือนประเทศแปซิฟิกใต้ของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ 2 คน และก็เป็นความพยายามต่อเนื่องของสหรัฐฯ ในการเสริมสร้างอิทธิพลของตนในแปซิฟิกใต้

ความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างจีนและประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกใต้ได้ก่อประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมแก่ประชาชนในท้องถิ่น แต่ก็กระตุ้นความวิตกกังวลทางยุทธศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาด้วย 

ภายใต้แนวคิดแบบเกมผลรวมเป็นศูนย์ สหรัฐฯเปลี่ยนความเย่อหยิ่งและความเพิกเฉยจากเดิม จัดส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงไปเยี่ยมเยียนบ่อยครั้ง พร้อมสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือมหาศาล  แสดงความกระตือรือร้นต่อประเทศในแปซิฟิกใต้

มหาสมุทรแปซิฟิกเป็นมหาสมุทรแห่งสันติภาพและความร่วมมือ จีนยินดีต้อนรับความร่วมมือทุกอย่างที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศในแปซิฟิกใต้ แต่สหรัฐอเมริกากลับผลักดันสิ่งที่เรียกว่า "ยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิก" ทำให้มหาสมุทรแปซิฟิกที่สวยงามเต็มไปด้วยกลิ่นอายของดินปืน

สหรัฐอเมริกาสร้างสิ่งที่เรียกว่า "ทฤษฎีภัยคุกคามจากจีน" เพื่อพยายามบังคับให้ประเทศต่างๆในแปซิฟิกใต้ ปฏิบัติตามความตั้งใจเชิงยุทธศาสตร์ของตน แต่สหรัฐฯประเมินความมุ่งมั่นของประเทศเหล่านี้ต่ำเกินไป ในการยืนหยัดการพัฒนาอย่างเป็นอิสระ ดังที่นายกรัฐมนตรีของหมู่เกาะโซโลมอนกล่าวไว้ว่า ไม่มีสิ่งใดสามารถหยุดความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันและเป็นมิตรกับจีนได้


Patt/Yim/Cui

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (14-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (13-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (13-11-2567)