เรื่องราวการปฏิรูป การเปลี่ยนแปลงของ “หมู่บ้านปลาทอง”

2023-08-16 20:03:36 | CMG
Share with:

หมู่บ้านกวนจง และหมู่บ้านกู่เฉิง อำเภอหมิ่นโหว เมืองฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน ชาวบ้านของ 2 หมู่บ้านนี้สืบทอดการทำนายังชีพจากรุ่นตั้งแต่บรรพบุรุษ

ปี 2003 ชาวบ้านของ 2 หมู่บ้านนี้หันมาประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงปลาทองเป็นหลักด้วยความพร้อมทางธรณีวิทยาและสภาพภูมิอากาศ

ปี 2018 สำนักงานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเมืองฝูโจวส่งทีมงานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีไปประจำการที่ฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาทองหลายแห่งของอำเภอหมิ่นโหว ทำหน้าที่เป็น “แพทย์ปลาทอง” ให้กับครัวเรือนผู้เพาะเลี้ยง และช่วยหาทางจัดการเทคโนโลยีสำหรับธุรกิจการเพาะเลี้ยงด้วย ทำให้ปลาทองตัวจิ๋วๆ กลายเป็นแหล่งรายได้ของชาวท้องถิ่น

ด้วยการพัฒนามาเป็นเวลา 20 ปี หมู่บ้านกวนจง และหมู่บ้านกู่เฉิง ได้ขยับขึ้นเป็น “หมู่บ้านปลาทอง” ที่มีชื่อเสียงทั้งไกลและใกล้ และเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงสำคัญของอำเภอหมิ่นโหว เมืองฝูโจว

ปลาทองประเภทต่างๆ ที่ผลิตจากอำเภอหมิ่นโหวปีหนึ่งมีกว่า 12,000,000 ตัว คิดเป็นประมาณ 80% ของปลาทองชั้นยอดของทั่วประเทศ

 “ปลาสร้างเงินสร้างทอง” ตัวนี้ไม่เพียงแต่จำหน่ายไปยังกรุงปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ และมณฑลกว่างตงเท่านั้น หากยังส่งออกไปยังหลายสิบประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรป อเมริกา ด้วย สร้างเงินตราต่างประเทศปีละ 30,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ

ปัจจุบัน หมู่บ้านกวนจง และหมู่บ้านกู่เฉิง กำลังใช้ “ปลาทองการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม อี-คอมเมิร์ซ” ในการกระตุ้นการพัฒนาของหมู่บ้าน ย่างก้าวสู่ลู่ทางใหม่ในการสร้างความเจริญในพื้นที่ชนบทด้วยวิธีธุรกิจ-วัฒนธรรม ให้ปลาทองตัวเล็กๆ “ว่าย” จากมณฑลฝูเจี้ยนออกสู่สากล\


(YING/LING/SUN)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (25-11-2567)

  • เขตซินเจียงเปิดเส้นทางรถไฟขบวนฟู่ซิง เชื่อมพื้นที่ฝั่งตะวันออกและทางภาคใต้เทือกเขาเทียนซานของซิงเจียงเป็นครั้งแรก

  • เสียงข่าวประจำวัน (24-11-2567)