“เกษตรกรใหม่” ที่กลับภูมิลำเนา สร้างโรงมัดย้อมผ้า สืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

2023-10-12 17:00:52 | CMG
Share with:

หยวน เซี่ยวซิน ชาวหมู่บ้านเซี่ยจวง อำเภออูซาน นครฉงชิ่ง ปีนี้อายุ 31 ปี หลังจบมหาวิทยาลัยเคยทำงานในตัวเมืองนครฉงชิ่ง เมื่อต้นปี 2022 หยวน เซี่ยวซินกลับภูมิลำเนา สร้างโรงมัดและย้อมผ้าด้วยพืชพันธุ์ “เซี่ยจวงปู้กู่” (“下庄布谷”) แปลว่า “หุบผ้าหมู่บ้านเซี่ยจวง”

“ฉันชอบทำศิลปหัตถกรรมย้อมผ้ามาโดยตลอด ฟังคนรุ่นก่อนๆ เล่าว่า หมู่บ้านเซี่ยจวงแต่ก่อนก็เคยมีโรงย้อมผ้า” หยวน เซี่ยวซินให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า “แรกๆ ฉันเรียนรู้กรรมวิธีเกี่ยวกับการมัดและการย้อมผ้าจากทางออนไลน์ รู้สึกว่าง่ายมาก แต่เมื่อลงลึกแล้วจึงจะทราบว่าขั้นตอนสลับซับซ้อน”

สำหรับกรรมวิธีการมัดและย้อมผ้า (扎染) แบบพื้นบ้านของจีนนั้น “การย้อม” เป็นอันดับรอง แต่ “การมัด” เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด วิธี “การมัด” มีหลายสิบวิธี ด้วยการฝึกครั้งแล้วครั้งเล่า ฝีมือการมัดและย้อมของหยวน เซี่ยวซินค่อย ๆ ยกระดับสูงขึ้น จนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้สืบสานมรกดภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมระดับอำเภอรุ่นที่ 6 ของอำเภออูซาน ในปลายปี 2022

เวลานี้ นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวหมู่บ้านเซี่ยจวงนับวันมากขึ้น ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมจากโรงมัดและย้อมผ้าของหยวน เซี่ยวซินจึงนับขายดีมากขึ้น ช่วงไฮซีซันสร้างรายได้เดือนละกว่า 10,000 หยวน ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมการทอและย้อมผ้ามีความหลากหลายทั้งสีสันและแฟชั่น อันเป็นผลจากการกล้าลองของหยวน เซี่ยวซิน

นอกจากนี้ที่โรงมัดและย้อมผ้า ยังเปิดให้นักท่องเที่ยวสามารถลงมือมัดเองย้อมเอง สัมผัสมนต์เสน่ห์ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมด้วย

เมื่อกล่าวถึงการพัฒนาในอนาคต หยวน เซี่ยวซิน ระบุว่า ในฐานะ“เกษตรกรใหม่” เธอจะปักหลักส่งเสริมกิจการมัดและย้อมผ้าในภูมิลำเนา สืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม อุทิศกำลังเพื่อพัฒนาสร้างความเจริญในพื้นที่ชนบท


(Ying/LING/SUN)

 

  • เสียงข่าวประจำวัน (13-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (13-05-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (13-05-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (12-05-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (11-05-2567)