บทวิเคราะห์ : จีนมุ่งสร้างคุณูปการของประเทศใหญ่ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

2023-11-28 13:02:15 | CMG
Share with:

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนับวันกลายเป็นความท้าทายระดับโลกมากยิ่งขึ้น  จีนให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ดำเนินมาตรการและดำเนินการต่าง ๆ และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสภาพภูมิอากาศโลก รวมทั้งมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณูปการของประเทศใหญ่ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ความร่วมมือระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นสองประเทศมหาอำนาจของโลกในประเด็นสภาพภูมิอากาศนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ในการพบหารือครั้งล่าสุดระหว่างประมุขจีนและสหรัฐอเมริกาซึ่งมีขึ้นที่เมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งสองฝ่ายย้ำว่าจีนและสหรัฐอเมริกาควรเร่งดำเนินการเพื่อรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ พร้อมทั้งเห็นชอบการหารืออย่างสร้างสรรค์ของทูตพิเศษด้านสภาพภูมิอากาศของทั้งสองประเทศเมื่อเร็ว ๆ นี้ รวมถึงปฏิบัติการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศในยุค 2020  ร่วมกันผลักดันให้การประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 28 (Conference of the Parties) หรือ COP28 ประสบผลสำเร็จ และเปิดตัว  “คณะทำงานเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา” ทั้งสองฝ่ายยังได้ออก “แถลงการณ์ซันนี่แลนด์ว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อแก้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ(Sunnylands Statement on Enhancing Cooperation to Address the Climate Crisis)”ด้วย

เมื่อปี ค.ศ. 2021 จีนเผยแพร่ “แผนปฏิบัติการเพื่อบรรลุการปล่อยคาร์บอนในระดับสูงสุดก่อนปี 2030(คาร์บอนพีค)”ซึ่งได้เสนอเป้าหมายสำคัญ เช่น สัดส่วนการใช้พลังงานที่ไม่ใช่ฟอสซิล ยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และลดความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ฯลฯ  แผนนี้ยังกำหนดให้ต้องดำเนินการเรื่องคาร์บอนพีคตลอดทั้งกระบวนการและทุกด้านของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยมุ่งเน้น “10 ปฏิบัติการสำคัญเพื่อคาร์บอนพีค” เช่น ปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงพลังงานสีเขียวและคาร์บอนต่ำ การประหยัดพลังงาน การลดคาร์บอนและการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการเศรษฐกิจหมุนเวียน  ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนต่ำ ฯลฯ ทั้งยังได้มีการวางแผนที่เกี่ยวข้องสำหรับการดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศและการเพิ่มหลักประกันด้านนโยบาย

จนถึงปัจจุบัน “แบบก่อสร้าง”  เกี่ยวกับคาร์บอนพีคของ 31 เขตบริหารระดับมณฑล (ไม่รวมฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน) และอีก 5 เมืองที่ได้รับมอบอำนาจบริหารพิเศษบางประการจากรัฐบาลกลางของจีนอันได้แก่ ต้าเหลียน ชิงเต่า หนิงโป เซี่ยเหมิน และเซินเจิ้น ต่างได้เผยแพร่ต่อภายนอกแล้ว โดยทุกภูมิภาคล้วนได้เสนอเป้าหมายและมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม

สถิติแสดงให้เห็นว่าเมื่อปี 2022 การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของจีนต่อหน่วยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ลดลง 50.8% เมื่อเทียบกับปี 2005 โดยภาคอุตสาหกรรมได้รับผลที่โดดเด่นผ่านมาตรการต่างๆ เช่น ส่งเสริมการปรับโครงสร้างพลังงาน ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมให้สมบูรณ์ และเสริมสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี  เป็นต้น

จนถึงสิ้นปี 2022 การใช้พลังงานที่ไม่ใช่ฟอสซิลของจีนคิดเป็น 17.5% กำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนที่ติดตั้งใหม่ตลอดทั้งปีสูงถึง 152 ล้านกิโลวัตต์ ทำให้ยอดกำลังการผลิตติดตั้งพลังงานหมุนเวียนสูงถึง 1,213 ล้านกิโลวัตต์ ภายใต้การชี้นำและการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของแผนการดำเนินการคาร์บอนพีค คาดว่ากำลังการผลิตติดตั้งของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนจะรักษาแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วต่อไป นับถึงสิ้นเดือนมิถุนายนปี 2023 จำนวนรถยนต์พลังงานใหม่ในประเทศจีนสูงถึง 16.2 ล้านคัน คิดเป็น 4.9% ของจำนวนรถยนต์ทั้งหมด มากกว่าครึ่งหนึ่งของรถยนต์พลังงานใหม่ที่ใช้กันทั่วโลกอยู่ที่ประเทศจีน

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 คณะกรรมการพัฒนาและการปฏิรูปแห่งชาติจีนได้ออก "แผนการก่อสร้างโครงการนำร่องจุดปล่อยคาร์บอนพีคแห่งชาติ" โดยระบุว่าจีนจะเลือกเมืองและนิคมอุตสาหกรรมที่มีลักษณะเป็นตัวแทนที่โดดเด่น 100 แห่งจากทั่วประเทศเพื่อดำเนินการโครงการนำร่องจุดคาร์บอนสูงสุดโดยโฟกัสการแก้ไขปัญหาคอขวดที่กำลังเผชิญอยู่ในการพัฒนาสีเขียวและคาร์บอนต่ำ สำรวจเส้นทางคาร์บอนสูงสุดสำหรับเมืองและนิคมอุตสาหกรรมที่มีทรัพยากรและพื้นฐานการพัฒนาที่แตกต่างกัน เพื่อเสนอประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่สามารถดำเนินการได้ ทำซ้ำได้ และเป็นแบบอย่างสำหรับทั่วประเทศ

ตามรายงานของเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ "เหลียนเหอจ่าวเป้า"ของสิงคโปร์ เมื่อเร็วๆนี้ ศูนย์วิจัยพลังงานและอากาศสะอาดของฟินแลนด์ได้ทำการสำรวจผู้เชี่ยวชาญจากแวดวงอุตสาหกรรมและวิชาการจำนวน 89 ราย ผลการวิจัยพบว่าร้อยละ 70 เชื่อมั่นว่าจีนจะบรรลุเป้าหมายคาร์บอนพีคก่อนปี 2030

จีนยังคงส่งเสริมการดำเนินการเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่อง และชุดนโยบายและมาตรการเชิงปฏิบัติและทรงพลังต่างๆทำให้ประชาคมโลกได้เห็นถึงความจริงใจและความรับผิดชอบของจีน

ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายนถึงวันที่ 12 ธันวาคมปีนี้ จะมีการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติครั้งที่ 28 หรือ COP28 ที่นครดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมจีนระบุเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าจีนสนับสนุนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อย่างเต็มที่ในการเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งนี้ให้ประสบความสำเร็จ และหวังว่าจะทำงานร่วมกับทุกฝ่ายเพื่อให้แน่ใจว่าการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 28 หรือ COP28 มีการสานต่อและกระชับความร่วมมือในทางปฏิบัติตามธีม “การร่วมดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ” และประมวลผลการดำเนินการในช่วงที่ผ่านมาของทั่วโลก ถือโอกาสนี้ในการส่งสัญญาณเชิงบวกเพื่อมุ่งเน้นไปที่การดำเนินการอย่างจริงจังและเสริมสร้างความร่วมมือ


IN/LU

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-04-2567)