△“หมู่บ้านละครฝานซิง (繁星戏剧村 STAR THEATRE)”
เทศกาลละครแห่งประเทศจีนครั้งที่ 18 ที่จัดมาเป็นเวลาเกือบ 1 เดือน สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ศิลปะการแสดงละครในเมืองต่าง ๆ ของจีนล้วนมีแนวโน้มพัฒนาอย่างคึกคัก สำหรับกรุงปักกิ่งที่เข้มข้นด้วยวัฒนธรรมศิลปะการแสดงละครนั้น ย้อนไปเมื่อต้นศตวรรษที่แล้ว งิ้วปักกิ่งก็เป็นศิลปะการแสดงที่ได้รับการชื่นชมจากชาวบ้านมากที่สุด จนถึงทุกวันนี้ในหมู่สถาปัตยกรรมพื้นบ้านโบราณของกรุงปักกิ่ง ก็ยังคงมี “โรงละคร” แห่งหนึ่งซ่อนตัวอยู่ นั่นก็คือ “หมู่บ้านละครฝานซิง (繁星戏剧村, STAR THEATRE)”
△ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมและผลงานสร้างสรรค์ต่างๆในร้านหนังสือของ “หมู่บ้านละครฝานซิง”
“หมู่บ้านละครฝานซิง” ในกรุงปักกิ่ง เป็นโรงละครที่ตั้งอยู่ในบ้านสไตล์ปักกิ่งโบราณ “บ้านล้อมลานซื่อเหอย่วน” แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นบ้านหลังใหญ่อายุเก่าแก่กว่า 200 ปีแล้ว
สำหรับ “หมู่บ้านละครฝานซิง” มีพื้นที่กว้าง 5,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย 5 โรงละคร และ 1 ศูนย์ศิลปะสมัยใหม่ ความจุเกือบ 1,000 คน ปัจจุบันได้ขยับขึ้นเป็นแหล่งสัมผัสศิลปวัฒนธรรมข้ามวงการ ที่รวบรวมการสร้างสรรค์ละคร อาหารและเครื่องดื่ม และร้านหนังสือสาขาศิลปวัฒนธรรมเข้าไว้เป็นหนึ่งเดียว
△ฉากหนึ่งจากละครเวทีเรื่อง “คืนหนึ่งชาติหนึ่ง (一夜一生)”
ที่ “หมู่บ้านละครฝานซิง” ในบ้านล้อมลานซื่อเหอย่วนแห่งนี้ ผู้ชมจะสามารถเข้าใจเมืองเมืองหนึ่งได้ผ่านละครเรื่องหนึ่ง ตลอดระยะเวลาหลายปี “หมู่บ้านละครฝานซิง” ในปัจจุบัน ได้สะสมผลงานละครที่ตัวเองเป็นเจ้าของกว่า 60 เรื่อง ในจำนวนดังกล่าว มีหลายเรื่องได้นำออกแสดงมานานถึง 10 ปีแล้ว เช่น เรื่อง “The desperate lover (奋不顾身的爱情) และ “คืนหนึ่งชาติหนึ่ง” (一夜一生) เป็นต้น
△ฉากหนึ่งจากละครเวทีเรื่อง “Painted Skin 2677 (画皮2677)”
△ฉากหนึ่งจากละครเวทีเรื่อง “สมาคมศิลปะการแสดงพื้นบ้านเด็ก (童戏社)”
สิ่งที่น่าหยิบยกมาพูดเป็นพิเศษ คือ “หมู่บ้านละครฝานซิง” รังสรรค์ผลงานละครหลายเรื่องที่สอดแทรกวัฒนธรรมบ้านล้อมลานซื่อเหอย่วนของปักกิ่งเข้าไว้ด้วย เติ้ง เหว่ย รองประธานกรรมการ หัวหน้าผู้ผลิต “หมู่บ้านละครฝานซิง” บอกว่า อย่างเช่น ละครเรื่อง Painted Skin 2677 ได้เล่าเรื่องราวด้วยรูปแบบที่พาผู้ชมไปยังอนาคตในปี ค.ศ. 2677 อีกทั้งย้อนกลับสู่อดีตและปัจจุบัน สร้างความประทับใจแก่ผู้ชมมาก
นอกจากนี้ ชุดละครเรื่อง “สมาคมศิลปะการแสดงพื้นบ้านเด็ก (童戏社) สำหรับผู้ปกครองและลูกหลาน ได้เจาะลึกปัจจัยต่างๆของศิลปะการแสดงพื้นบ้านของจีน เล่าเรื่องราวด้วยวิธีการที่เรียบง่าย ช่วยให้เด็กชมแล้วเข้าใจกันได้ “จนถึงขณะนี้ box office ของชุดละครเรื่องนี้อยู่อันดับแรกมาโดยตลอดในละครผู้ปกครอง-ลูกหลาน” เติ้ง เหว่ยระบุ
△ฉากหนึ่งจากละครเรื่อง Miss Julie
เวลานี้ วัยหนุ่มสาวเป็นทัพใหญ่ผู้บริโภคในตลาดศิลปะการแสดง ตลาดศิลปะการแสดงกรุงปักกิ่งก็กำลังปรับตัวเข้าสู่กลุ่มศิลปะการแสดงสมัยใหม่
“ข้อมูลที่เรามีแสดงว่า ช่วงวัยของผู้ชมมีอายุน้อยขึ้นอย่างมาก ผู้ชมวัยรุ่นตัวน้อยเหล่านี้นิยมละครที่ได้มีส่วนร่วม มีการโต้ตอบกัน และแนวโซเชียลมากกว่า”
เติ้ง เหว่ยเล่าว่า “ล่าสุดเนื่องในโอกาสครบรอบ 14 ปีการก่อตั้งหมู่บ้านละครฝานซิง มีการนำเสนอละครเรื่อง Miss Julie ที่ให้นักแสดงมีส่วนร่วมโต้ตอบจริงกับผู้ชม สร้างความรู้สึกพิเศษกับผู้ชม”
หมู่บ้านละครฝานซิงได้สื่อนัยยะแห่งการสืบสานความใหม่กับความเก่า ตะวันออกกับตะวันตก การหลอมรวมจิตวิญญาณดั้งเดิมกับความงามสมัยใหม่ ตลอดจนพลังชีวิตของศิลปะการแสดงจีน
ความตั้งใจเริ่มแรกในการก่อตั้งหมู่บ้านละครฝานซิง คือ นำประติมากรรมปรมาจารย์ด้านการละครที่ยิ่งใหญ่ 2 คน มาตั้งไว้บริเวณหน้าประตูหมู่บ้านละครฝานซิง คือ “ทัง เสียนจู่” (汤显祖, ค.ศ.1550—1616) ของจีน กับ William Shakespeare (ค.ศ.1564—1616) ของตะวันตก “แม้ปรมาจารย์ศิลปะ 2 ท่านนี้เกิดคนละปี ทว่าเสียชีวิตในปีเดียวกัน” เติ้ง เหว่ยระบุ
(YIM/LING/SUN)