บทวิเคราะห์ : สหรัฐฯ การเก็บภาษีศุลกากรอย่างพร่ำเพร่อ เพียงแต่จะเจ็บปวดมากยิ่งขึ้นเอง

2024-05-17 15:41:06 | CMG
Share with:

วันที่ 14 พฤษภาคม หลังจากรัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศมาตรการเก็บภาษีศุลกากรใหม่ต่อจีนแล้ว สื่อโลกพากันแสดงสงสัยและมีการประณาม สื่อจำนวนมากเห็นว่า สหรัฐฯดึงปัญหาทางการค้าให้กลายเป็นเรื่องทางการเมืองอย่างต่อเนื่องนั้น เป็นการทำลายการค้าที่เป็นปกติระหว่างจีนกับสหรัฐฯ จะไม่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาของอุตสาหกรรมการผลิตที่เกี่ยวข้อง และคงจะทำให้ตัวเองได้รับความเจ็บปวดมากยิ่งขึ้นในที่สุด 

สถิติแสดงว่า ปัจจุบัน รถยนต์ไฟฟ้า เวชภัณฑ์ และเซมิคอนดักเตอร์ครองสัดส่วนเพียง 5.9% ของสินค้าที่จีนส่งออกไปยังสหรัฐฯ ทั้งยังไม่ถึง 1% ของยอดปริมาณการส่งออกของจีน หนังสือพิมพ์ “ข่าวเศรษฐกิจญี่ปุ่น” ชี้ให้เห็นว่า อุตสาหกรรมการผลิตที่เกี่ยวข้องของจีนไม่ได้พึ่งพาตลาดสหรัฐฯ การที่สหรัฐฯเพิ่มการเก็บภาษีศุลกากรนั้น ยากที่จะส่งผลกระทบที่แท้จริงต่อบริษัทของจีน ด้านสำนักข่าวบลูมเบิร์กก็มีการวิเคราะห์ว่า รัฐบาลสหรัฐฯเล็งเป้าต่อเทคโนโลยีพลังงานใหม่ของจีน ดูเหมือนรุนแรง แต่ไม่ได้ผลแท้จริง และเกือบจะไม่สามารถบั่นทอนการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน 

ข้อเท็จจริงจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า ปี 2018 รัฐบาลสหรัฐฯ ระดมสงครามการค้าต่อจีน จนถึงปัจจุบัน ทำให้บริษัทและชาวอเมริกันต้องจ่ายค่าเสียหายอย่างหนัก มูดี้ส์ คอร์ปอเรชั่น มีการสำรวจที่แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคสหรัฐฯต้องแบกรับต้นทุน 92% ของการเก็บภาษีเพิ่มต่อจีน ครอบครัวสหรัฐฯ ต้องเพิ่มค่าใช้จ่าย 1,300 เหรียญสหรัฐฯต่อปี สถิติอื่นๆยังแสดงให้เห็นว่า การก่อสงครามการค้าต่อจีนนั้น ทำให้บริษัทสหรัฐฯ สูญเสียมูลค่ากว่า 1.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ สูญเสียโอกาสการมีงานทำกว่า 250,000 ตำแหน่งงาน เดือนตุลาคม 2022  หนังสือพิมพ์แคปิตอลฮิลล์ของสหรัฐอเมริกาออกบทความยอมรับว่า สงครามภาษีต่อจีนนั้นประสบความพ่ายแพ้อย่างรอบด้าน   

การที่สหรัฐฯใช้ทุกรูปแบบเพื่อกีดกันจีนนั้น ไม่สามารถขัดขวางการพัฒนาของจีน แต่กลับทำให้ชาวโลกเห็นถึงหน้าตาแท้จริงของสหรัฐฯ ที่เป็นผู้สูญเสียสติปัญญา และเป็นผู้ที่ทำลายระบบสากล การใช้กระบองใหญ่ทางภาษีศุลกากรต่อประเทศอื่นนั้น มีแต่จะทำให้สหรัฐฯรู้สึกเจ็บปวดมากขึ้นเองเท่านั้น 

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)