เมื่อทศวรรษปี 1950 ที่เมืองจงเว่ย เขตปกครองตนเอเงชนเผ่าหุยหนิงเซี่ยของจีน มีการคิดค้นวิธีการจัดทำ “ตารางฟางข้าวสาลี” สำหรับการบำบัดทะเลทราย ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น “ตารางบำบัดทะเลทราย” เป็นหลักประกันการเปิดเส้นทางรถไฟสายเปาโถว-หลันโจว (Baotou-Lanzhou Railway) ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟในพื้นที่ทะเลทรายสายแรกของจีน และทำให้ทะเลทรายลดพื้นที่ลง 25 กิโลเมตร
ต่อมาในทศวรรษปี 1980 สำนักงานโครงการการพัฒนาแห่งสหประชาชาตินำรูปแบบ “การบำบัดทะเลทรายซาโพโถว” ไปเผยแพร่สู่ทุกประเทศ กลายเป็นสูตรบำบัดทะเลทรายที่ส่งออกสู่โลกเริ่มแรกสุดของจีน
ทว่า “เครือข่ายฟางข้าวสาลี” หรือ “ตารางฟางหญ้า” (grass grids) มีอายุการใช้งานไม่เกิน 3 ปี ปี 2019 ชีว์ เจี้ยนจวิน นักวิจัย สถาบันวิจัยทรัพยากรนิเวศและสิ่งแวดล้อมภาคตะวันตกเฉียงเหนือ สภาวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีน พร้อมทีมงานได้วิจัยและพัฒนา “ลูกเต๋าในการบำบัดทะเลทราย” เวอร์ชั่นอัปเกรด คือ “กำแพงกันทรายเครือข่ายฟางหญ้า” มีอายุการใช้งานในการบำบัดทะเลทรายนานกว่า คือ 5-6 ปี ด้วยการทดลองมาเป็นเวลาหลายปี เวลานี้เริ่มมีการเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง
“เครือข่ายฟางหญ้า” ใช้ในการทำให้พื้นผิวทรายคงที่และสกัดไม่ให้เมล็ดทรายปลิวลอยไป จากนั้น ภายใน “เครือข่ายฟางหญ้า” ยังใช้ในการหว่านเมล็ดพันธุ์หญ้าและปลูกกล้าไม้ได้
ถัง ซีหมิง วิศวกรฟาร์มป่าของรัฐเมืองจงเว่ย ผู้มีประสบการณ์บำบัดทะเลทรายในแนวหน้ามาเป็นเวลานาน ได้คิดค้นเครื่องปลูกกล้าไม้รูปทรงอักษรจีน “干” ทำให้อัตราการรอดของกล้าไม้สูงขึ้น 25% ต้นทุนแรงงานลดลง 50% “สิ่งประดิษฐ์พื้นบ้าน” ของถัง ซีหมิงได้รับสิทธิบัตร ไม่เพียงแต่นำไปใช้อย่างกว้างขวางในท้องถิ่นเท่านั้น เวลานี้ยังถูกนำไปเผยแพร่ถึงมณฑลกันซู เขตซินเจียง และพื้นที่อื่นๆ ด้วย
สถานีทดลองและวิจัยทะเลทรายซาโพโถว สภาวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีน ได้คิดค้นเทคโนโลยีการบำบัดทะเลทรายด้วยวิธีการปลูกสาหร่าย blue-green algae เทียมแล้วเกิดเป็นเปลือกดิน crust คือ ด้วยการพ่นน้ำสาหร่าย blue-green algae เทียมลงไปใน “ตารางฟางหญ้า” ก็จะเกิดเป็น crust เบื้องต้นได้ภายในเวลา 2-3 ปี มีสมรรถภาพในการทำให้ทรายคงที่
เทคโนโลยีดังกล่าวเร็วกว่าวิธีการเกิดเป็น crust ด้วยชีวมูลธรรมชาติที่ต้องการเวลานานประมาณ 10 ปี
(Ying/LING/SUN)