บทวิเคราะห์ : ทำไทความสัมพันธ์จีน-ไทยจึงใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น?

2024-08-29 15:04:00 | CMG
Share with:

ปีนี้ครบรอบ 49 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีน-ไทย ครึ่งศตวรรษมานี้ ความสัมพันธ์จีน-ไทยประสบผลสำเร็จมากมาย สร้างความผาสุกให้กับประชาชนสองประเทศ “จีน-ไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน” มีความใกล้ชิดสนิทแน่นแฟ้นกันมากขึ้น

ตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อปีค.ศ. 1975 จีนกับไทยเคารพซึ่งกันและกันทางการเมืองมาโดยตลอด ปฏิบัติตามหลักการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ไม่แทรกแซงกิจการภายใน สนับสนุนอีกฝ่ายเดินตามหนทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับสภาพบ้านเมืองของตน กลายเป็นแบบฉบับที่เป็นมิตรต่อกันและอำนวยประโยชน์แก่กันระหว่างประเทศที่มีระบบสังคมต่างกัน จีนกับไทยเป็นเพื่อนบ้านที่ดีมีภูเขาและน้ำเชื่อมต่อกัน จึงเป็นญาติพี่น้องที่ดีมีสายเลือดเดียวกัน ไม่ว่าวิกฤตการเงินเอเชียหรือสถานการณ์โควิด-19 เมื่อเผชิญกับความยากลำบากและความท้าทายต่าง ๆ ประชาชนจีน-ไทยเคียงบ่าเคียงไหล่กันเสมอเพื่อเอาชนะความยากลำบาก

เดือนพฤศจิกายนปี 2022 นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนเยือนประเทศไทยด้วยความสำเร็จ ทั้งสองประเทศประกาศสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันเพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนยิ่งขึ้น ได้ชี้ทางให้กับความสัมพันธ์จีน-ไทย ให้ “จีนไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน” มีความหมายแห่งยุคสมัยใหม่ ผลักดันให้ความเชื่อถือทางการเมืองระหว่างสองประเทศก้าวขึ้นไปอีกขั้น เดือนตุลาคมปี 2023 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้นเดินทางถึงกรุงปักกิ่งเพื่อร่วมการประชุมสุดยอดความร่วมมือระหว่างประเทศหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางครั้งที่ 3 และเยือนจีนอย่างเป็นทางการ เดือนสิงหาคมปี 2024 นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทยตอบคำถามผู้สื่อข่าว CMG หลังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีว่า ไทยกับจีนรักษาความสัมพันธ์ฉันมิตรในระยะยาว เมื่อมีโอกาสพบกับผู้นำจีน มักจะได้รับการต้อนรับอย่างให้เกียรติอยู่เสมอ หวังว่าไทยกับจีนสามารถดำเนินความร่วมมือมากขึ้น

ภายใต้การชี้นำเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างผู้นำสองประเทศ จีน-ไทยมีความความไว้วางใจทางการเมืองในระดับสูง ยกระดับความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม “จีน-ไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน” ให้มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ปีหน้าจะครบรอบ 50 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีน-ไทย ความสัมพันธ์จีน-ไทยจะมีจุดเริ่มต้นใหม่แห่งประวัติศาสตร์

หลายปีมานี้ ไทยกับจีนประสบผลสำเร็จมากมากยด้านเศรษฐกิจการค้า พลังงานใหม่ และการแลกเปลี่ยนกันด้านวัฒนธรรมและบุคลากร เป็นต้น เป็นประโยชน์ต่อประชาชนสองประเทศ

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างจีน-ไทยมีแนวโน้มมาแรง จีนได้กลายเป็นคู่ค้าใหญ่ที่สุดของไทยติดต่อกันเป็นเวลา 11 ปี เมื่อปี 2023 ยอดการค้าจีน-ไทยอยู่ที่ 126,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ยอดการค้าระหว่างสองประเทศในปีนี้รักษาแนวโน้มการเติบโตและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เดือนมกราคมถึงเมษายนปีนี้ ยอดการค้าระหว่างสองประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 โดยเฉพาะการส่งออกผลิตผลทางการเกษตรระหว่างไทยกับจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยร้อยละ 40 ของผลิตผลทางการเกษตรจากไทยล้วนส่งออกไปยังจีน ยกตัวอย่างเช่น ทุเรียนไทย 4 เดือนแรกปีนี้ มีการส่งออกทุเรียนไทยมายังจีนคิดเป็นร้อยละ 97 ของยอดการส่งออกกับต่างประเทศ โดยจีนยินดีที่มีผลิตผลทางการเกษตรคุณภาพดีจากไทยส่งออกมายังตลาดจีน

นอกจากนี้ จีนกลายเป็นประเทศที่มีการลงทุนมากที่สุดในไทยมาติดต่อกัน 2 ปี เดือนมกราคมถึงเมษายนปีนี้ จีนลงทุนในไทย 760 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 190 โดยเฉพาะรถยนต์พลังงานใหม่และการลงทุนด้านเทคนิคดิจิทัลสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเกิดใหม่ของไทย ไทยกำลังพยายามกลายเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนวิสาหกิจรถยนต์จีน อาทิ SAIC BYD และCHANGAN เป็นต้น ได้เปิดโรงงานที่ไทย โดยวิสาหกิจจีนจำนวนมากช่วยไทยสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานที่อยู่ระดับแนวหน้าของโลก ได้ฝึกอบรมบุคลากรด้านดิจิทัลหลายหมื่นคนให้กับไทย และเพิ่มตำแหน่งงาน ภาษีและการส่งออกให้กับไทย หนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมไทย ส่วนไทยเป็นประเทศแรกที่เข้ามาลงทุนในจีนหลังจากจีนปฏิรูปและเปิดประเทศ วิสาหกิจไทย อย่างเช่นบริษัทซีพีกลายเป็นแบรนด์ดังที่ชาวจีนรู้จักกันทั่วไป

เวลานี้ รถไฟจีน-ไทยเฟสแรกกำลังเร่งสร้างอยู่ ในขณะที่เจรจารูปแบบความร่วมมือของรถไฟจีน-ไทยเฟสที่สอง พยายายเริ่มต้นในเร็ววัน โดยเส้นทางใหญ่ด้านคมนาคมที่เชื่อมคาบสมุทรอินโดจีนสายนี้จะนำมาซึ่งการพัฒนาพร้อมกันและความเจริญรุ่งเรื่องร่วมกันของจีน-ลาว-ไทย และสร้างความสาผุกให้กับประชาชนส่วนภูมิภาค

ปี 2023 นักท่องเที่ยวจีนที่มาเที่ยวไทยมีจำนวน 3,520,000 คนสร้างรายได้ให้กับการท่องเที่ยวไทยเกือบ 200,000 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมปีนี้ จีนกับไทยยกเว้นวีซ่าซึ่งกันและกัน ทั้งสองประเทศเข้าสู่ยุคฟรีวีซ่า การไปมาหาสู่กันระหว่างประชาชนสองประเทศมีความสะดวกยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ จีนกับไทยยังประสานงานอย่างใกล้ชิดในด้านความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง มุ่งที่จะร่วมกันรักษาความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองส่วนภูมิภาค  ข้อริเริ่มเพื่อการพัฒนาของโลก ข้อริเริ่มเพื่อความมั่นคงของโลก และข้อริเริ่มว่าด้วยอารยธรรมโลกที่นำเสนอโดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนก็ได้รับการตอบรับและสนับสนุนจากไทยอย่างเต็มที่


เขียนโดย ชุย อี๋เหมิง ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)

(In/Cui)

  • เสียงข่าวประจำวัน (23-10-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (23-10-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (23-10-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (22-10-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (22-10-2567)