ในการประชุมว่าด้วยเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนที่เมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกวางสีเมื่อช่วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมานี้ มีผู้นํา นักวิชาการ ผู้บริหาร นักธุรกิจจากจีนและประเทศอาเซียนประมาณ 400 คน มาร่วมประชุม
รองศาสตรจารย์ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ ก็ได้รับเชิญให้มาพูดเรื่องการอํานวยความสะดวกทางด้านการค้า หัวข้อเรื่องการลงทุนในที่ประชุมนั้นด้วย วันนี้ทางรายการได้รับเกียรติจากอาจารย์จะมาพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องอุปสรรคทางด้านการค้าการลงทุนระหว่างจีนกับอาเซียนจะได้รับการแก้ไขอย่างไรเมื่อมีเขตการค้าเสรีแล้ว ผมขอเริ่มจากประเด็นที่ว่าการเดินทางมาครั้งนี้อาจารย์คิดว่าได้โอกาสในการแลกเปลี่ยนอย่างไรบ้าง
ดร นิพนธ์ พัวพงศกร:ก็บังเอิญวันที่ 1 มกราคมปีนี้เป็นปีที่ข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างจีนกับอาเซียนจะเป็นข้อตกลงที่เริ่มสมบูรณ์ และเมืองหนานหนิงจัดรายการและเชิญคนมาพูดถึงเรื่องประสบการณ์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับเขตการค้าเสรี และแลกเปลี่ยนความเห็นกัน และดูว่าเขตการค้าเสรีอันนี้ถ้าจะทําให้มีความก้าวหน้าขึ้นไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนที่อยู่ในเขตการค้าเสรีนี้จะทําอะไรบ้าง ทีนี้ผมก็คิดว่าอันนี้ก็เป็นโอกาสที่ดีที่จะได้รู้จักกับคน นั่นประการที่หนึ่ง ประการที่สองก็คือว่า เรามาแลกเปลี่ยนความรู้ แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับประสบการณ์ เกี่ยวกับการมีเขตการค้าเสรี ซึ่งมีมาตั้งหลายปีแล้วระหว่างจีนกับอาเซียน แล้วก็เริ่มเห็นผมจริงๆ จังๆ เพราะฉะนั้นในการมาครั้งนี้ มาแลกเปลี่ยนความรู้ มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ก็เป็นประโยชน์ค่อนข้างมาก ได้รู้จักคนไม่ใช่เฉพาะในกลุ่มอาเซียน ซึ่งจริงๆ ในอาเซียนก็รู้จักกันมากพอสมควร แต่ก็ได้รู้จักกับคนจีน โดยเฉพาะคนจีนที่เกี่ยวข้องอยู่ในทางจีนตอนใต้ คืออาเซียนนี้ถ้าจะเกิดประโยชน์กับจีน คือจีนตอนใต้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นหนานหนิง ไม่ว่าจะเป็นคุนหมิง แถวนี้จะเป็นเขตที่มีการค้า มีการลงทุนกับประเทศในอาเซียนค่อนข้างมาก และจริงๆ แล้ว วัฒนธรรมของคนแถวนี้ โดยเฉพาะอย่างเช่นคุนหมิง ก็จะมีัวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของประเทศไทย มีกลุ่มคนที่เรียกว่ากลุ่มคนไทยอยู่ในคุนหมิงด้วยซํ้าไป
ผู้สื่อข่าว:ตามที่กล่าวมา ความสะดวกในการลงทุนของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ันี้มีหลายปัจจัยหลายประการ ท่านคิดว่าปัจจัยที่สําคัญที่สุดในเขตการค้าเสรีนี้คืออะไร
ดร นิพนธ์ พัวพงศกร:คือห้วข้อที่ผมมาพูดเป็นเรื่องการอํานวยความสะดวกทางด้านการค้า หัวข้อเรื่องการลงทุนเรื่องการค้าคนอื่นพูด ซึ่งเราก็รู้ว่า การลงทุนของจีนกับอาเซียนนี้ จีนไปลงทุนในอาเซียนหรืออาเซียนมาลงทุนในจีนยังอยู่ในระดับที่ตํ่ามากถ้าเทียบกับการค้า เวลานี้ จีนอาจจะเป็นคู่ค้าอันดับ 4 ของอาเ๊ซียน ขึ้นมารวดเร็วมาก สมัยก่อนอยู่ประมาณอันดับ 10 เดี๋ยวนี้ขึ้นมาอย่างมารวดเร็ว แต่เน้นเรื่องการลงทุนแล้วก็ยังค่อนข้างน้อย น้อยมาก อาจจะเป็นเพราะระดับเทคโนโลยี หรือความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรมของกลุ่มประเทศทั้งสองก็ยังไม่เอื้ออํานวย แต่ว่าในด้านการค้าเอง ผมก็คิดว่าถึงแม้ว่าเป็นอับดัน 4 ก็ยังค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับสภาพภูมิศาสตร์ที่บอกว่าอยู่ติดกันมาก อยู่ใกล้ชิดกันขนาดนี้ ปริมาณการค้าก็ยังไม่มาก เพราะยังมีอุปสรรคในด้านการค้า ถ้าเราดูจากตัวเลข เราก็จะพบว่า มูลค่าการค้าเพิ่มขึ้นในรายการเพียงไม่กี่รายการที่มีการลดภาษี สินค้าอย่างอื่นๆ ยังมีสินค้าจํานวนมากที่จะต้องค่อยๆ ลดภาษีอีกลงไปอีกให้เป็น 0 นั่นเป็นประการหนึ่ง ประการที่สอง ยังมีกฎกติกาบางอย่างอาจจะยังเป็นอุปสรรค นอกจากนี้ การค้าสมัยใหม่มันจะต้องผ่านขั้นตอนของศุลกากร ผ่านขั้นตอนของการประเมินค่าศุลกากร มีระเบียบอะไรต่างๆ จะต้องผ่านกระบวนการว่าจะต้องมีการตรวจโรค ตรวจอนาัมัยเพื่ออนามัยสัตว์ ของพวกนี้เป็นอุปสรรคต่อการค้าทั้งนั้น งานศึกษาในอดีตพบว่า ขั้นตอนพวกนี้ก่อให้เกิดต้นทุนในการค้าอาจจะถึงสูงถึง 15% ของมูลค่าการค้า เพราะฉะนั้น ถึงแม้เราจะลดภาษีนําเข้าลงไปเหลือ 0 แต่ยังมีอุปสรรคสําคัญคือ ต้นทุนจากการค้าเหล่านี้ เพราะการค้าสมัยใหม่ต้องผ่านศุลกากร ต้องตรวจโรค ตรวจโน่นตรวจนี่ เพราะฉะนั้นนี่เป็นอุปสรรคอันหนึ่ง อุปสรรคอีกอันหนึ่งก็คือ ถ้าเราจะมีการลงทุนกันระหว่างอาเซียนกับจีนตอนใต้ การเดินทางของนักลงทุนหรือการมาทํางานข้ามประเทศจะต้องเป็นเรื่องที่ได้รับการอํานวยความสะดวก อันนี้ก็ยังเป็นอุปสรรคอยู่ ก็ต้องมีการแก้ไขลดอุปสรรคเหล่านี้ เพราะว่าภาษีลดลงไปแล้ว ยังเหลืออุปสรรคต่อการค้า ซึ่งก่อให้เกิดต้นทุน เพราะฉะนั้น ต้นทุนนี้พวกนี้สําคัญมาก ถ้าเราไม่มีรายการมาตรการที่จะลดต้นทุนต่างๆ เหล่านี้ ต้นทุนการค้าก็จะสูง การค้าก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ การลงทุนก็เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะอันนี้ก็เป็นเรื่องที่ผมศึกษาดูอยู่