การซื้อขายสินค้าด้วยเงินหยวนจะทําให้การค้าระหว่างมณฑลยูนนานของจีนกับอาเซียนมีความคล่องตัวยิ่ง
  2010-02-18 19:14:42  cri

ปัจจุบัน ในทางชายแดนของเขตตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีนักธุรกิจจากเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มากยิ่งขึ้นได้เลือกใช้เงินหยวนในการค้าขายกับชาวจีน การค้าขายด้วยเงินหยวนทําให้การค้าระหว่างมณฑลยูนนานของจีนกับอาเซียนมีความคล่องตัวยิ่งขึ้นอย่างรอบด้าน

นายหวาง บิน นักธุรกิจจีนที่ทํากิจการนําเข้าส่งออกของใช้ประจําวันในมณฑลยูนนานเป็นเวลานานให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า นักธุรกิจเวียดนามมีความทรงจําที่ดีกับเงินหยวนซึ่งไม่ลดมูลค่าในช่วงเกิดวิกฤตการเิงินเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากธนาคารจีนประมวลมูลค่าการค้าขายตามชายแดนหลายรายงานแล้ว มีนักธุรกิจจํานวนมากสมัครใจเลือกใช้เงินหยวนทําการค้า ผู้จัดการของบริษัทการค้าเวียดนามแห่งหนึ่งให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า การใช้เงินหยวนทําให้สะดวกไม่ต้องแลกเป็นดอลล่าร์ก่อน ง่ายและคุ้มค่าด้วย

นายจู เจิ้งหมิง นักวิจัยสถาบันวิจัยเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ของสภาสังคมศาสตร์มณฑลยูนนานเห็นว่า รัฐบาลพม่า เวียดนาม ลาว และประชาชนพม่า เวียดนาม ลาวมีเงินเหรียญสหรัฐฯ ที่นํามาใช้แลกเปลี่ยนมีน้อย หลายปีมานี้ รัฐบาลมีความมั่นคงทางการเมือง การนําเข้าส่งออกขยายไปเรื่อยๆ เงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีกิจการการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและการเยี่ยมญาติกันบ่อยมากกับประเทศรอบข้าง ผู้คนทั้งหลายต่างนิยมใช้เงินหยวน

ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอได้ทราบจากการไปทําข่าวที่ชายแดนจีน-เวียดนาม จีน-พม่า จีน-ลาวว่า หลายปีก่อน เนื่องจากเขตชายแดนไม่ได้เปิดกิจการแลกเปลี่ยนเงินตราอย่างเป็นทางการ มีเพียงเงินตราและสินค้าที่วางอยู่บนแผงที่อาจเปลี่ยนได้ว่าเป็น"ธนาคารที่เป็นแผงที่ตั้งอยู่บนพื้น"ทําหน้าที่เป็น"ตัวกลาง" คํานวนรายรับรายจ่ายให้แก่วิสาหกิจการค้าทวิภาคีและภาคเอกชน

เมื่อปี 1993 ธนาคารกลางของจีนกับเวียดนามได้ลงนามใน"ข้อตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือทางการค้าระหว่างกันโดยกําหนดให้คํานวนรายรับรายจ่ายระหว่างจีนกับเวียดนาม" ภายใต้ข้อตกลงฉบับนี้ ธนาคารของจีนกับเวียดนามค่อยๆ สร้างกลไกความร่วมมือเพื่อคํานวนรายรับรายจ่ายตามชายแดน เมื่อเดือนมีนาคมปี 2008 จีนกับพม่าได้ลงนามใน"บันทึกช่วยจําของการประชุม" ซึ่งระบุว่าการค้าท่าเรือตามชายแดนของสองประเทศเตรียมจะใช้เงินหยวนคํานวน แต่ในเขตชายแดนอื่นๆ ที่ยังไม่มีสถาบันแลกเปลี่ยนเงินตราอย่างเป็นทางการ ยังใช้"ธนาคารที่เป็นแผงที่ตั้งอยู่บนพื้น"ทําการแลกเปลี่ยนอยู่

นางซุน เสี่ยวหง อธิบดีกรมพาณิชย์มณฑลยูนนานกล่าวว่า ปัจจุบัน รัฐบาลจีนจะทดลองใช้เงินหยวนคํานวนรายรับรายจ่ายในการค้าสินค้าระหว่างมณฑลยูนาน เขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกวางสีของจีนกับอาเซียน มณฑลยูนานจะค่อยๆ ใช้เงินหยวนในการคํานวนรายรับรายจ่ายต่อการค้ากับประเทศรอบข้าง ใครใช้ก่อน ก็จะได้รับผลประโยชน์ก่อน

เมื่อปี 2008 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงิน ตลาดเงินตราต่างประเทศมีความปั่นป่วนเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่นยเงินตรา ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อการค้าระหว่างจีนกับเวียดนาม อัตราแลกเปลี่ยนของเงินเหรียญสหรัฐฯ ได้ลดลงในครึ่งปีแรกและสูงขึ้นในครึ่งปีหลัง ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนของเงินด่องเวียดนามก็มีการขึ้นลงอย่างมาก แต่เงินหยวนค่อนค้างมั่นคงตลอดเวลา และยังขึ้นค่าด้วย ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้เงินหยวนคํานวนเป็นวิธีการที่ดีที่ช่วยให้วิสาหกิจมีความคล่องตัวและไม่เสี่ยงเกินไปนักจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ขึ้นๆ ลงๆ ตลอดเวลาในท่ามกลางวิกฤตการเงิน

นางซุน เสี่ยวหงกล่าวว่า กรมพาณิชย์มณฑลยูนนานกับรัฐบาลประเทศรอบข้างจะอภิปรายปัญหาเกี่ยวกับการใช้เงินหยวนคํานวน และจะเริ่มดําเนินในไทย เวียดนาม พม่า และลาวก่อน

ผู้เชี่ยวชาญปัญหาอาเซียนเห็นว่า อันที่จริงเงินหยวนได้กลายเป็นทรัพย์สินสํารองระหว่างประเทศส่วนภูมิภาค แต่เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ใหม่ รัฐบาลจีนควรส่งเสริมการค้าชายแดนให้พัฒนามากยิ่งขึ้น ใช้มาตรฐานและความสะดวกแก่การคํานวนรายรับรายจ่ายทางการค้าชายแดน ให้มีช่องทางการหมุนเวียนได้คล่องตัวขึ้น ใช้เงินหยวนเป็นเงินตราคํานวนรายรับรายจ่ายในการค้าชายแดน

ตามสถิติของศุลกากรเมืองคุนหมิงพบว่า เมื่อปี 2007 ปริมาณการค้าระหว่างมณฑลยูนนานของจีนกับประเทศอาเซียนเป็นจํานวน 3,030 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 860 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทีียบกับระยะเดียวกันปี 2006 ประเทศอาเซียนกลายเป็นตลาดการค้าต่างประเทศของมณฑลยูนนานที่มีชีวพลังที่สุด เมื่อปี 2008 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงิน ปริมาณการค้าลดน้อยลง แต่ปริมาณการค้าใน 11 เดือนของปี 2008 ยังคงถึง 2,510 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040