ภาษีเป็นศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาตลาดผลไม้จีน-อาเซียน
  2011-01-06 12:28:36  cri

เมื่อวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมานี้ เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนได้ก่อตั้งขึ้นด้วยความสําเร็จ เขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วงกวางสีจึงเป็นสถานที่แห่งแรกที่เข้าสู่"ยุคภาษีเป็นศูนย์" ส่วนแม่ค้าพ่อค้าที่ขายผลไม้และประชาชนทั่วไปก็ได้รับประโยชน์จาก"ภาษีเป็นศูนย์"ด้วย วันนี้ ดิฉันกับคุณเจิ้งจะมาึคุยถึงเรื่องภาษีเป็นศูนย์กับการส่งเสริมการพัฒนาตลาดผลไม้จีน-อาเซียน

ตลาดผลไม้เทียนหยวนของเมืองผิงเสียงเป็นตลาดผลไม้ที่มีชื่อเสียงของกวางสี เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอได้ไปสัมภาษณ์ที่นั่น โดยพบว่าในตลาดผลไม้เต็มไปด้วยรถบรรทุกขนาดใหญ่ทั้งของจีนและเวียดนาม คนงานกําลังง่วนอยู่กับงานยุ่งไปหมด เราจะวาดภาพได้ว่า แตงโม ลําใย รวมทั้งผลไม้อื่นๆ ที่มาจากเวียดนามถูกขนลงจากรถบรรทุกของเวียดนาม แล้วขนขึ้นไปบนรถบรรทุกของจีน ส่งไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศจีน

มีสภาพความคึกคักเช่นนี้เกิดขึ้นก็เพราะว่าภาษีเป็นศูนย์นั่นเอง เมื่อก่อน ถ้าอยากส่งผลไม้จากประเทศอาเซียนไปประเทศจีน ก็ต้องส่งไปที่ฮ่องกงโดยทางเรือก่อน แล้วจากฮ่องกงไปส่งไปยังแผ่นดินใหญ่จีนอีกทอดหนึ่ง ขั้นตอนนี้ต้องใช้เวลาประมาณ 10 วัน ไม่เพียงแต่ทําให้มีต้นทุนในการเก็บ และการขนส่งที่สูงมากเท่านั้น หากในระหว่างทางขนส่งยังมีความเสี่ยงในการโดนไต้ฝุ่นหรือการเก็บบนเรือมีปัญหา ผลไม้ที่บรรทุกมาทั้งลําก็อาจเน่าเสียทั้งหมดได้

ในปลายทศวรรษที่ 20 ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางประเทศ ได้ทดลองการใช้ภาษีเป็นศูนย์ระหว่างกัน ในประเทศจีนก็มีเสียงเรียกร้องให้ใช้ภาษีเป็นศูนย์สําหรับผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงวันที่ 1 ตุลาคมปี 2546 ข้อตกลงเกี่ยวกับภาษีเป็นศูนย์ฉบับแรกภายใต้กรอบความร่วมมือเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนเริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ จีนกับไทยได้ปลดภาษีศุลกากรของผัก 108 ชนิดและผลไม้ 80 ชนิด ซึ่งเป็นมาตรการประการแรกที่ส่งเสริมการพัฒนาตลาดผลไม้จีน-อาเซียน

ต่อจากนั้นในต้นปี 2547 จีนได้เริ่มดําเนินโครงการ "การเก็บเกี่ยวในระยะแรก" ภายในกรอบเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน ทําให้ภาษีของสินค้ากว่า 500 ชนิดเริ่มลดลง และในปี 2549 ภาษีของผลไม้ได้ลดลงเป็นศูนย์

เนื่องจากภาษีของผลไม้และพืชผักส่วนใหญ่ลดลงเป็นศูนย์ ผลไม้นําเข้าจากอาเซียนก็สามารถไปขนส่งจากชายแดนได้ ช่วยลดต้นทุนการขนส่ง เป็นเหตุให้ราคาผลไม้และผักในเขตโซนร้อนลดลงเป็นอย่างมาก อย่างเช่น มังคุด "ราชินีแห่งผลไม้" ของไทย ที่เมื่อก่อนขายชั่งละ 20-30 หยวน แต่ปัจจุบัน ช่วงถูกที่สุดเงิน 10 หยวนก็สามารถซื้อได้ถึง 3 ชั่ง

การสร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน และการปฏิบัติตามนโยบาย "ภาษีเป็นศูนย์" ได้ส่งเสริมการเติบโตของยอดการค้าผลไม้นําเข้าส่งออกระหว่างจีนกับอาเซียนในเมืองผิงเสียง ซึ่งนําผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมให้แก่ประชาชนทั่วไป ขณะนี้ เมืองผิงเสียงกลายเป็นเมืองท่านําเข้าส่งออกสินค้าระหว่างจีนกับอาเซียนที่ใหญ่ที่สุด โดยการนําเข้าส่งออกผลไม้ระหว่างจีนกับอาเซียนมีอัตราเพิ่มขึ้นมากกว่า 30% ต่อปี หลายปีมานี้ ผิงเสียงส่งออกผลไม้ไปเวียดนามเป็นจํานวนมากกว่าหนึ่งในสี่ของยอดปริมาณการส่งออกผลไม้ไปอาเซียน ในจํานวนนี้มี 95% จากท่าเรือผิงเสียงส่งออกไปประเทศต่างๆ ในอาเซียน ขณะเดียวกัน ผลไม้สดๆ จากกลุ่มประเทศอาเซียน ก็ผ่านท่าเรือของเขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วงกวางสีไปจําหน่ายที่พื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศจีน

ตามสถิติของศุลกากรเมืองหนานหนิงของกวางสี ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นมา ปริมาณส่งออกผลไม้ของท่าเรือผิงเสียงมีการเติบโตเป็นลักษณะตัว V คือระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ท่าเรือผิงเสียงได้นําเข้าส่งออกผลไม้ทั้งหมด 938,000 ตัน พร้อมๆ กับส้มจีนเข้าตลาดเป็นจํานวนมาก และวันตรุษจีนซึ่งเป็นเทศกาลที่มีมาช้านานของจีนที่ใกล้จะมาถึงนี้ ท่าเรือผิงเสียงจะเข้าสู่ช่วงสูงสุดของการนําเข้าส่งออกผลไม้

อย่างไรก็ตาม การสร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน ย่อมจะสร้างโอกาสทางการค้ามากมาย แต่ก็จะมีการแข่งขันรุนแรงมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอนตามไปด้วย ฉะนั้น การสร้างตลาดใหญ่ และโลจิสติกส์ใหญ่ที่สอดคล้องกับขนาดของการค้าจีน-อาเซียนนั้นก็เป็นเรื่องที่จําเป็น ขณะนี้ เมืองผิงเสียงวางแผนจะสร้างศูนย์การค้าผลไม้ที่ทันสมัยที่รวมทั้งการแบ่งระดับผลไม้ การเก็บแช่เย็น และการแปรรูปผลไม้ รวมทั้งข้อมูลข่าวสารและการประกันภัย

(NL/zheng)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040