เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งที่ผลิตและบริโภคธัญญาหารสําคัญที่สุดของโลก ขณะนี้ ต้องเผชิญกับราคาธัญญาหารเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และอาจจะเกิดวิกฤตธัญญาหารอีก ประเทศผู้ส่งออกธัญญาหารสําคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทยอยกันใช้มาตรการต่างๆ เพื่อรับมือกรณีนี้
มาตรการรับมือกับธัญญาหารของมาเลซีย ที่สําคัญก็คือ เปิดฐานปลูกธัญญาหารในต่างประเทศ
หลังจากเกิดวิกฤตธัญญาหารโลกปี 2008 เป็นต้นมา รัฐบาลมาเลเซียเริ่มนโยบาย"ความมั่นคงด้านธัญญาหาร" เพื่อสร้างหลักประกันว่าสามารถสนองธัญญาหารเพื่อการบริโภคภายในประเทศได้ ก่อนหน้านี้ นายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซียประกาศว่า รัฐบาลวางแผนร่วมมือกับหลายประเทศ กําหนดไห้บางพื้นที่ในประเทศที่เกี่ยวข้องเป็นฐานปลูกธัญญาหารของมาเลเซีย การกระทําเช่นนี้ไม่เพียงแต่สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตธัญญาหารและการสนองธัญญาหารของมาเลซียเท่านั้น หากยังประหยัดต้นทุนด้วย
นายนาจิบ ราซัคยังกล่าวว่า ยกตัวอย่าง ข้าวเปลือก มาเลเซียไม่สามารถปลูกข้าวเปลือกเพื่อสนองความต้องการภายในประเทศได้ ฉะนั้น รัฐบาลมาเลเซียจึงได้เจรจากับรัฐบาลประเทศอื่นๆ ถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาบางพื้นที่ในต่างประเทศเพื่อปลูกข้าวเปลือก การกระทําอย่างนี้จะทําให้ต้นทุนตํ่ากว่าการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกข้าวเปลือกในมาเลซียเอง
แหล่งข่่าวแจ้งว่า ปัจจุบัน มาเลเซียได้ร่วมมือกับหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย สร้างฐานปลูกธัญญาหารต่างประเืทศ
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึงความสําคัญของกิจการเกษตรจะพบว่าเป็นกิจการที่สําคัญมากในโครงการปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจของมาเลเซีย รัฐบาลมาเลเซียหวังว่าจะใช้โครงการนี้เพิ่มรายได้และกําลังการผลิตของเกษตรกรในชนบท หวังว่าจะสามารถช่วยเหลือกิจการเกษตรขนาดเล็กหรือกิจการขนาดย่อมให้พัฒนาเป็นกิจการเกษตรขนาดใหญ่หรือกิจการของส่วนรวม
ตามสถิติ ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคมปี 2010 ยอดการส่งออกธัญญาหารของมาเลเซียมีประมาณ 20,200 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 12.3% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว
(IN/zheng)