คือ หนึ่ง เอกสารพื้นฐานสำหรับการเจรจา สอง เป้าหมายการลดปริมาณการปล่อยมลพิษ สาม เกณฑ์การประเมิน การแจ้ง และการตรวจสอบสำหรับการลดปริมาณการปล่อยแก๊สเรือนกระจก สี่ เป้าหมายระยะยาว และห้า เรื่องเงินทุน
เกี่ยวกับเอกสารพื้นฐานสำหรับการเจรจา นายเวิน เจียเป่ากล่าวว่า ร่างญัตติที่เสนอโดยประธานคณะทำงานพิเศษ 2 คณะใน "กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ" และ "พิธีสารเกียวโต" แม้ว่ายังไม่สมบูรณ์พอก็ตาม แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจร่วมกันที่ทุกฝ่ายได้บรรลุไว้ในช่วงก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ยึดหลักระบบสองร่างของอนุสัญญากับพิธีสาร ตรงตามสิทธิที่ได้รับการมอบหมายจากโรดแมปบาหลี ฉะนั้น จึงสามารถนำไปเป็นเอกสารพื้นฐานสำหรับการเจรจาได้
เกี่ยวกับเป้าหมายการลดปริมาณการปล่อยมลพิษ นายเวิน เจียเป่ากล่าวว่า ปัจจุบัน ประเทศพัฒนาส่วนใหญ่ได้กำหนดเป้าหมายการลดฯ ในปริมาณที่แน่ชัดของประเทศตนแล้ว ส่วนประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งรวมถึงจีนด้วย ก็ได้กำหนดเป้าหมายการปฏิบัติเพื่อชะลอการปล่อยฯ ด้วย จีนเห็นว่า ทุกฝ่ายควรพิจารณาจากสถานการณ์โดยรวม ยึดมั่นคำมั่นสัญญาที่เคยให้ไว้ และปฏิบัติตามหลักการ "ภาระหน้าที่ร่วมกัน ความรับผิดชอบต่างกัน"
เกี่ยวกับเกณฑ์การประเมิน การแจ้ง และการตรวจสอบสำหรับการลดปริมาณการปล่อยแก๊สเรือนกระจก นายเวิน เจียเป่ากล่าวเน้นว่า ทั้งนี้มีข้อกำหนดชัดเจนอยู่แล้วใน "โครงการปฏิบัติการบาหลี" ซึ่งตรงกับหลักการ "ภาระหน้าที่ร่วมกัน ความรับผิดชอบต่างกัน" อีกทั้งเป็นผลการเจรจาในช่วงระยะเวลาอันยาวนานที่ผ่านมา และเป็นความเข้าใจร่วมกันที่มีอยู่แล้วสำหรับทุกฝ่าย
เกี่ยวกับเป้าหมายระยะยาว นายกฯ จีนกล่าวว่า การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ควรเล็งการณ์ไกลและระยะยาว ยิ่งกว่านั้น ต้องยืนอยู่กับปัจจุบัน ความขัดแย้งต่างๆ เกี่ยวกับเป้าหมายระยะยาวไม่ควรส่งผลกระทบต่อกระบวนการเจรจา เพื่อแสดงความจริงใจ จีนจะพิจารณาเป้าหมาย "ควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้อุ่นขึ้นเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส" ตามที่ประเทศพัฒนาเสนอมา โดยเห็นชอบว่า ควรเป็นทิศทางการใช้ความพยายามสำหรับประชาคมโลก
สำหรับเรื่องของเงินทุนนั้น นายเวิน เจียเป่ากล่าวว่า การที่ประเทศพัฒนาให้การสนับสนุนด้านเงินทุนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย อย่างพิเศษและจริงจังให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา เป็นพันธกรณีทางกฎหมายตามที่ระบุไว้ในสนธิสัญญา จึงเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างแท้จริง หนึ่งในเกณฑ์การประเมินความสำเร็จของการประชุมโคเปนเฮเกนก็คือ ประเทศพัฒนาจะสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีของตนด้วยความจริงใจที่สุดและอย่างสุดความพยายามหรือไม่