การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาอิรัก
  2010-03-08 15:01:31  cri
การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาอิรักได้จัดลงคะแนนเสียงไปทั่วประเทศเมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา นับเป็นครั้งที่ 2 ที่จัดการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาอย่างเป็นทางการในอิรักหลังการโค่นล้มรัฐบาลชุดซัดดัม ฮุสเซนอันเนื่องจากสหรัฐอเมริกาก่อสงครามอิรักเมื่อปี 2003 เป็นต้นมา แม้ว่าการนับคะแนนเลือกตั้งสิ้นสุดลงในคืนวันเดียวกันก็ตาม แต่ผลการเลือกตั้ง ซึ่งใกล้จะนำออกประกาศจะเป็นที่ยอมรับสำหรับฝ่ายการเมืองต่างๆ หรือไม่ รวมถึงการแบ่งปันที่นั่งในรัฐสภา ตลอดจนรัฐบาลชุดใหม่จะสามารถจัดขึ้นได้อย่างสำเร็จหรือไม่ ล้วนเป็นสิ่งที่ยังไม่อาจคาดได้ นักวิเคราะห์มีความเห็นว่า การเลือกตั้งฯ ครั้งนี้เป็นเพียงการเปิดฉากร่างแผนผังการเมืองครั้งใหม่ของอิรักเท่านั้น

ในวันเดียวกัน ผู้นำอิรักแยกกันไปหย่อนบัตรเลือกตั้งตามจุดต่างๆ ทั่วประเทศ โดยประธานาธิบดีจาลัล ทาลาบานีไปหย่อนบัตรที่เขตคัวร์ดส์ ทางภาคเหนือ และเรียกร้องฝ่ายการเมืองทุกฝ่ายให้ความเคารพกับผลการเลือกตั้ง ส่วนนายกรัฐมนตรีนูรี อัล-มาลิคี ไปหย่อนบัตรที่เขตกรีนโซน กรุงแบกแดด และกล่าวปราศรัยว่า ขอให้พรรคการเมืองหรือพรรคพันธมิตรพรรคใดพรรรคหนึ่งสามารถคว้าเสียงข้างมากจากการเลือกตั้งฯ ได้ เพื่อความราบรื่นในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ในการจัดตั้งรัฐบาลผสม นายกรัฐมนตรีนูรี อัล-มาลิคียังระบุว่า เนื่องจากได้ใช้มาตรการอย่างเป็นรูปธรรม ฉะนั้น การเลือกตั้งฯ ในครั้งนี้หากมีการทุจริต ก็เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ซึ่งจะไม่กระทบต่อผลการเลือกตั้งโดยรวม

ขณะนี้ พรรคการเมืองต่างๆ กำลังเฝ้ารอผลการเลือกตั้งอย่างใจจดใจจ่อ ก่อนการเลือกตั้ง ไม่มีพรรคใดมีความเหนือกว่าโดยเด็ดขาด ฉะนั้น ก่อนการประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ จึงไม่มีพรรคใดมีความเชื่อมั่นว่าจะชนะเลือกตั้ง โพลล์จากศูนย์การศึกษายุทธศาสตร์อิรักระบุว่า พันธมิตรกลุ่ม "ดิ อิรักเคีย โคเออลิชั่น" หรือ "บัญชีรายชื่ออิรัก" ซึ่งเป็นพรรคการเมืองพันธมิตรข้ามนิกาย และมีนายอายัด อัลลาวี อดีตนายกรัฐมนตรีเฉพาะกาลเป็นหัวหน้า มีเสียงสนับสนุนมากที่สุด "ดิ อิรักคี แนชั่นแนล เออไลเอินซ์" หรือ "พันธมิตรแห่งชาติอิรัก" ซึ่งเป็นพันธมิตริฝ่ายนิกายชีอะต์ อยู่อันดับ 2 ส่วน "สเตต ออฟ ลอว์ โคเออลิชั่น" หรือ "พันธมิตรนิติรัฐ" ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีนูรี อัล-มาลิคีเป็นหัวหน้าอยู่อันดับ 3 แต่โพลล์จากองค์กรสำรวจอีกแห่งหนึ่งระบุว่า "ดิ อิรักคี แนชั่นแนล เออไลเอินซ์" ได้เสียงสนับสนุนมากที่สุด "ดิ อิรักเคีย โคเออลิชั่น" อยู่อันดับ 2 และ "สเตต ออฟ ลอว์ โคเออลิชั่น" อยู่อันดับ 3 ฉะนั้น ดูจากเสียงประชามติแล้ว "สเตต ออฟ ลอว์ โคเออลิชั่น" ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีนูรี อัล-มาลิคีเป็นหัวหน้า จึงตกในสถานการณ์ที่ไม่ดีนัก

แม้ว่ายังไม่อาจคาดการณ์ผลการเลือกตั้งฯ ล่วงหน้าก็ตาม แต่สิ่งที่แน่นอนอยู่ประการหนึ่งก็คือ การเลือกตั้งครั้งนี้ย่อมจะเปลี่ยนแผนผังการเมืองของอิรักแน่นอน เนื่องจากไม่มีพันธมิตรพรรคการเมืองใดๆ มีความเหนือกว่าในการเลือกตั้งอย่างเห็นได้ชัด ฉะนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูงที่พันธมิตรฯ กลุ่มต่างๆ ได้เสียงพอๆ กัน และได้จำนวนที่นั่งพอๆ กัน จากนั้น พรรคการเมืองต่างๆ ก็จำต้องปรับเปลี่ยนกันใหม่ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลผสม ถึงเวลานั้น ก็จะเกิดการประลองกำลังรอบใหม่บนเวทีการเมืองอิรัก จึงกล่าวได้ว่า การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา เป็นเพียงการเปิดฉากร่างแผนผังการเมืองครั้งใหม่ของอิรักเท่านั้น

(Ling)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040