ระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปักกิ่งเมื่อปี ค.ศ. 2008 ได้มีการใช้รถยนต์พลังงานใหม่ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็น "รถยนต์คาร์บอนต่ำ" ที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสร้างความประทับใจอย่างลึกซึ้งแก่ผู้ที่ได้มีโอกาสโดยสารหรือสัมผัสรถยนต์ชนิดนี้มาแล้วอย่างใกล้ชิดด้วย สองปีให้หลัง ในงานเวิลด์เอ็กซ์โปเซี่ยงไฮ้ 2010 ซึ่งเปิดฉากเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม และจะสิ้นสุดลงในวันที่ 1 ตุลาคม ปีนี้นั้น "คาร์บอนต่ำ" และ "การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม" กลายเป็นคีร์เวิร์ดอีกครั้ง มีรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนจำนวน 196 คันแล่นไปมาอยู่ในและนอกสวนเวิลด์เอ็กซ์โปเซี่ยงไฮ้ ทำให้ผู้คนจำนวนมากต่างก็เกิดความรู้สึกว่า ยุคแห่งพลังงานใหม่ได้มาถึงแล้ว
การใช้ก๊าซไฮโดรเจนเป็นพลังงานคือที่มาของ "ความเป็นสีเขียว" ของรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง รถยนต์ชนิดนี้มีแหล่งพลังงานหลักที่มาจากการกำเนิดไฟฟ้าของเซลล์เชื้อเพลิง และขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักรไฟฟ้า เกี่ยวกับทฤษฎีการกำเนิดไฟฟ้าของเซลล์เชื้่อเพลิงนั้น ศาสตรจารย์ อยี๋ จั๋วผิง ผู้อำนวยการสถาบันรถยนต์แห่งมหาวิทยาลัยถงจี้อธิบายให้ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอฟังว่า
"รถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง อันที่จริง ก็ึคือรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เพราะว่าแรงขับเคลื่อนรถยนต์ส่งออกมาจากเครื่องยนต์ หรือมอเตอร์
เพียงแต่ใช้พลังงานต่่างกันเท่านั้น ผ่านพลังงานไฟฟ้า สามารถแยกอณูไฮโดรเจนและอณูอ๊อกซิเจนออกมาจากน้ำ ซึ่งก็คือกระบวนการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า อันที่จริง กระบวนการนี้กลับกันได้ เมื่อรวมไฮโดรเจนกับอ๊อกซิเจนไว้ด้วยกันก็จะ่เกิดปฏิกิริยาทางเคมี กลายเป็นน้ำได้ และในขณะเดียวกันยังสามารถกำเนิดไฟฟ้าได้ด้วย เซลล์เชื้อเพลิงทำงานด้วยทฤษฎีนี้นั่นแหละ"
การพัฒนารถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเป็นสูตรที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงาน และรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายลงทุกวัน อีกทั้งยังเป็นทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมยานยนต์ ศาสตรจารย์ อยี๋ จั๋วผิง ผู้อำนวยการสถาบันรถยนต์แห่งมหาวิทยาลัยถงจี้อธิบายเพิ่มเติมว่า
"ข้อดีอันดับแรกของรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงคือ 'มลภาวะเป็นศูนย์'เพราะเป็นน้ำบริสุทธิ์ การระบายจึงสะอาดที่สุด ข้อดีอันดับสองคือ มีประสิทธิภาพที่สูงกว่าเครื่องยนต์เบนซินและ้เครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบันถึงหนึ่งเท่าตัว จึงสามารถประหยัดพลังงานได้มาก ข้อดีอีกประการหนึ่งเป็นข้อดีที่รถพลังงานไฟฟ้าร้อยเปอร์เซ็นมิอาจเทียบได้ นั่นก็คือ สามารถเติมพลังงานได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่สามนาทีก็สามารถเิติมก๊าซไฮโดรเจนเต็มถังได้เลย และก๊าซไฮโดรเจนถังหนึ่ง รถวิ่งได้ถึง 500 กิโลเมตร"
ขณะพูดถึงสาเหตุที่ควรขยายการใช้พลังงานสีเขียวชนิดนี้อย่างกว้างขวางนั้น นายหม่า เจี้ยนซิง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงานไฮโดรเจนแห่งมหาวิทยาลัยถงจี้กล่าวว่า ทั้งนี้เป็นเพราะว่า ก๊่าซไฮโดรเจนมีแหล่งที่มาที่กว้างขวางมาก
"ก๊าซไฮโดรเจนสามารถได้มาจากแก๊สธรรมชาติ สามารถผลิตได้จากถ่านหิน หรือของเสียที่เป็นของแข็ง เช่น ไบโอแก๊สหรือแก๊สชีวภาพ และยังสามารถผลิตได้จากก๊าซไฮโดรเจนที่เป็นผลพลอยได้ทางอุตสาหกรรมเคมี แต่ในอนาคต จะผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากน้ำโดยตรงมากกว่า อีกทั้งผลของเซลล์เชื้อเพลิงก็ึคือน้ำนั่นเอง ฉะนั้น นี่จึงเป็นกระบวนการหมุนเวียนที่สะอาดยิ่ง คือ มาจากน้ำและกลับคืนสู่น้ำ"
นายจวง ถง กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทระบบแรงขับเคลื่อนรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงแห่งนครเซี่ยงไฮ้่เล่าให้ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอฟังว่า จนถึงปัจจุบัน เทคโนโลยีรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงของบริัษัทพัฒนาถึงรุ่นที่สี่แล้ว ไม่ว่าดัชนีในด้านความปลอดภัย หรือสมรรถภาพในด้านอื่นๆ ต่างก็ถึงระดับแถวหน้าของโลกแล้ว บริษัทต้องการให้ชาวบ้านมาทดสอบผลิตภัณฑ์ของบริษัทในงานเวิลด์เอ็กซ์โปเซี่ยงไฮ้ครั้งนี้ เขากล่าวว่า
"เราผลิตรถยนต์ิชนิดนี้ให้แก่งานเวิลด์เอ็กซ์โป มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชาวบ้านมาทดสอบจากการใช้งานจริงว่า คุณภาพผ่านหรือไม่ผ่าน มีความสมบูรณ์ในด้านเทคโนโลยีมากน้อยเพียงไร มิใช่พวกเรามาทดสอบกันเอง และก็มิใช่การทำโครงการศึกษาวิจัยแต่อย่างใด"
เกี่ยวกับคำถามที่ว่า ยังต้องใช้เวลานานแค่ไหนที่รถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงจะก้าวออกจากห้่องวิจัยไปสู่การใช้งานจริงของครัวเรือนทั่วไปนั้น นายหม่า เจี้ยนซิง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเทคโนโลยีพลังงานไฮโดรเจนแห่งมหาวิทยาลัยถงจี้กล่าวว่า ปัจจุบัน การเผยแพร่และการใช้งานรถยนต์ชนิดนี้ยังมีปัญหาอีกมากกำลังรอการแก้ไขอย่่างเร่งด่วน แต่ปัญหาเหล่านี้่ไม่สามารถแก้ไขได้โดยพึ่งพาเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว เขากล่าวว่า
"ความยากลำบากอันดับแรกที่เด่นชัดคือการกำหนดมาตรฐานและกฏระเบียบมีความล่าช้า เนื่องจากการลำเลียงขนส่งและเก็บรักษาก๊าซไฮโดรเจนนั้นต้องใช้อุปกรณ์บรรจุแรงดันสูง ต้องทำการอัดฉีดแรงดันสูง และทำการลำเลียงขนส่งแรงดันสูง ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์บรรจุก๊าซ หรือกระบวนการปฏิบัติงาน ต่างก็ต้องกำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่ชัดเจน และยังต้องมีกฏระเบียบและมาตรฐานด้านเทคโนโลยีอีกด้วย แต่ที่ผ่านมา เรายังไม่มีสิ่งเหล่านี้ ต่างก็เป็นสิ่งใหม่ การกำหนดมาตรฐานประการต่างๆ และกำหนดกฏระเบียบที่สมบูรณ์นั้น ยังคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งและต้องประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ให้ความร่วมมือกัน"