เกาหลีใต้กับสหรัฐฯร่วมกันจัดซ้อมรบต่อต้านเรือดำน้ำในน่านน้ำตะวันตกของคาบสมุทรเกาหลี
  2010-09-28 17:04:25  cri

วันที่ 27 กันยายนนี้ เกาหลีใต้กับสหรัฐฯร่วมกันจัดซ้อมรบต่อต้านเรือดำน้ำครั้งใหญ่ในน่านน้ำตะวันตกของคาบสมุทรเกาหลี นับเป็นการซ้อมรบร่วมครั้งแรกที่เกาหลีใต้กับสหรัฐฯจัดขึ้นที่น่านน้ำดังกล่าว เกาหลีเหนือประณามว่า การซ้อมรบครั้งนี้เป็นการท้าทายทางทหารที่ทวีความตึงเครียดของสถานการณ์ระหว่างสองฝ่าย

เดิมเกาหลีใต้กับสหรัฐฯกำหนดจัดซ้อมรบร่วมต่อต้านเรือดำน้ำที่น่านน้ำตะวันตกของคาบสมุทรเกาหลีเมื่อต้นเดือนกันยายนปีนี้ แต่ได้เลื่อนไปเป็นวันที่ 27 กันยายนนี้เนื่องจากผลกระทบของพายุไต้ฝุ่นมาโล สำนักงานเสนาธิการเกาหลีใต้ระบุว่า การซ้อมรบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของทหารเกาหลีใต้กับสหรัฐฯในการตรวจจับและทำลายเรือดำน้ำของศัตรูให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น การซ้อมรบครั้งนี้จะจัดขึ้นเป็นเวลา 5 วันโดยไม่เปิดเผย คาดว่าจะสิ้นสุดลงในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ มีทหารเกาหลีใต้และสหรัฐฯเข้าร่วมจำนวนกว่า 1,700 นาย เรือบรรทุกเครื่องบิน"จอร์จ วอชินตัน" ของสหรัฐฯจะไม่เข้าร่วมการซ้อมรบครั้งนี้ แต่จะเข้าร่วมการซ้อมรบอีกครั้งที่จัดขึ้นที่น่านน้ำตะวันตกในช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้

หลังจากคณะผู้ตรวจสอบเกาหลีใต้ประกาศผลการตรวจสอบเกี่ยวกับเหตุการณ์จมเรือโชนันเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคนที่ผ่านมา เกาหลีใต้กับสหรัฐฯประกาศจะจัดการซ้อมรบร่วมต่างๆ ในระหว่างวันที่ 25-28 กรกฏาคมนี้ เกาหลีใต้กับสหรัฐฯจัดการซ้อมรบร่วมครั้งใหญ่ที่น่านน้ำตะวันออกของคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งมีทหารเกาหลีใต้กับทหารสหรัฐฯเข้าร่วมจำนวนกว่า 8,000 นาย เรือบรรทุกเครื่องบิน"จอร์จ วอชินตัน" ของสหรัฐฯและเรือรบต่างๆกว่า 20 ลำได้เข้าร่วมการซ้อมรบดังกล่าว ในระหว่างวันที่ 16-26 สิงหาคมปีนี้ สองฝ่ายจัดการซ้อมรบร่วมประจำปีอีกครั้งที่น่านน้ำทะเลทางทิศตะวันออกและตะวันตกของเกาหลีใต้ ซึ่งมีทหารสหรัฐฯจำนวน 30,000 นายและทหารเกาหลีใต้กว่า 50,000 นายเข้าร่วม นักวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า การที่เกาหลีใต้กับสหรัฐฯจัดการซ้อมรบร่วมทางทะเลครั้งใหญ่บ่อยครั้งเช่นนี้ นอกจากมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเกาหลีใต้กับสหรัฐฯในการร่วมศึกแล้ว ยังเป็นการส่งสัญญาณกดดันที่แข็งกร้าวแก่เกาหลีเหนือ

ต่อการซ้อมรบร่วมต่อต้านเรือดำน้ำของเกาหลีใต้กับสหรัฐฯครั้งใหม่ สำนักข่าวกลางของเกาหลีเหนือรายงานเมื่อวันที่ 26 กันยายนนี้ว่า วันเดียวกัน คณะกรรมการสันติภาพและเอกภาพแห่งชาติเกาหลีเหนือแสดงว่า การที่สหรัฐฯกับเกาหลีใต้จัดการซ้อมรบร่วมต่อไปเป็นการท้าทายทางทหารที่ทวีความตึงเครียดระหว่างสองฝ่าย รายงานระบุว่า ขณะที่เกาหลีใต้ดำเนินการเจรจาเพื่อมนุษยธรรมกับเกาหลีเหนือ แต่อีกด้านหนึ่ง กลับยังจัดการซ้อมรบร่วมกับสหรัฐฯ นี่เป็นการท้าทายเกาหลีเหนืออย่างหนัก เกาหลีใต้ต้องแสดงจุดยืนของตนอย่างชัดเจนว่า จะเอาการเจรจาหรือการปะทะ สันติภาพหรือสงคราม ก่อนหน้านี้ ขณะที่เกาหลีใต้กับสหรัฐฯจัดการซ้อมรบร่วมที่น่านน้ำตะวันออกของคาบสมุทรเกาหลี รัฐบาลและทหารของเกาหลีเหนือก็เคยประณามอย่างรุนแรง โดยเรียกร้องให้เกาหลีใต้กับสหรัฐฯหยุดการท้าทายเช่นนี้ทันที

ปีนี้ เกาหลีใต้กับสหรัฐฯยังจะจัดการซ้อมรบร่วมอีก ขณะที่เกาหลีใต้ก็จะจัดการซ้อมรบเองต่อไปอีก นักวิเคราะห์เห็นว่า ทั้งๆที่สถานการณ์คาบสมุทรเกาหลีปรากฏแนวโน้มผ่อนคลายในระดับหนึ่ง แต่การที่เกาหลีใต้กับสหรัฐฯจัดการซ้อมรบร่วมนั้น ย่อมจะทำให้สถานการณ์ดังกล่าวมีความตึงเครียดยิ่งขึ้น

In/Min/Sun

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
美国
v เกาหลีใต้กับสหรัฐอเมริกาจะจัดการซ้อมรบร่วมในน่านน้ำทางตะวันตกของคาบสมุทรเกาหลี 2010-09-24 17:04:18
v เลื่อนการซ้อมรบร่วมระหว่างเกาหลีใต้-สหรัฐฯ เนื่องจากผลกระทบของไต้ฝุ่น 2010-09-05 17:13:05
v คณะผู้แทนของเกาหลีใต้เยือนสหรัฐฯ เพื่อหารือถึงการคว่ำบาตรอิหร่าน 2010-08-25 17:11:18
v เรือบรรทุกเครื่องบิน George Washington ของกองทัพสหรัฐฯจะไม่เข้าร่วมการซ้อมรบร่วมระหว่างสหรัฐอเมริกากับเกาหลีใต้ในต้นเดือนกันยายน 2010-08-21 17:27:46
v เกาหลีใต้กับสหรัฐฯประกาศจะร่วมกันจัดซ้อมรบต่อต้านเรือดำน้ำที่น่านน้ำทะเลตะวันตก 2010-08-19 19:00:06
v เกาหลีใต้กับสหรัฐฯซ้อมรบร่วมประจำปีชื่อ "อุลชิ ฟรีดอม การ์เดียน" 2010-08-16 18:21:33
v การเจรจา "2+2" สหรัฐฯ-เกาหลีใต้เน้นการกระชับความสัมพันธ์พันธมิตรทางยุทธศาสตร์ 2010-07-21 18:25:58
v เกาหลีใต้และสหรัฐฯจะจัดการเจรจา "2+2" 2010-07-21 12:03:12
v รัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีใต้หวังว่า การเจรจาทวิภาคีระหว่างสหรัฐอเมริกากับเกาหลีเหนือจะประสบผลสำเร็จ 2009-11-17 19:15:52
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040