บ่ายวันที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา นายเวิน เจียเป่านายกรัฐมนตรีจีนได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำจีน – อาเซียนครั้งที่ 13 โดยเน้นว่า จีนยินดีที่จะเป็น "เพื่อนบ้านที่ีดีที่สุด มิตรที่ดีที่สุด ประเทศคู่เจรจาที่ดีที่สุด" ของอาเซียน อีกทั้งชื่นชนว่า ความร่วมมือระหว่างจีนกับอาเซียนเป็นที่ "มุ่งในทางปฏิบัติที่สุด สมบูรณ์แบบที่สุด และมีประสิทธิภายมากที่สุด"
แถลงกาาณ์ร่วมระบุ จีนสนับสนุนอาเซียนสร้างประชาคมอาเซียนที่ประกอบด้วยประชาคมด้านความมั่นคง ประชาคมด้านเศรษฐกิจ และประชาคมด้านสังคมและวัฒนธรรมก่อนปี 2015 ศาสตราจารย์ซูเฮ่ากล่าวว่า
"อาเซียน มี 10 ประเทศสมาชิก แต่ละประเทศคงไม่เข้มแข็งมากเท่าไหร่ ดังนั้น ประเทศเหล่านี้มีความปรารถนาที่จะรวมเป็นหนึ่งเดียว เพื่อสามารถที่จะสำแดงบทบาทเป็นแกนนำในความร่วมมือของภูมิภาคเอเชียตะวันออก จีนแสดงท่าทีที่สนับสนุนการรวมเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียน เพราะเป็นประโยชน์ต่อการรวมตัวของภูมิภาคเอเชียตะวันออก และมีส่วนช่วยกระชับความร่วมมือระหว่างจีนกับอาเซียน นอกจากนั้น จีนกับอาเซียนมีผลประโยชน์ร่วมกันที่สำึคัญมาก"
ความร่วมมือทางการค้าเป็นืเนื้อหาสำคัญของความร่วมมือระหว่างจีนกับอาเซียน ตั้งแต่การจัดตั้งเขตการค้าเสรีจีน – อาเซียนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคมปีนี้เป็นต้นมา ยอดการค้าระหว่างจีนกับอาเซียนในสามไตรมาสแรกของปีนี้สูงถึง 211,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 44% เมื่อเทียบกับระยะเดียกวันของปีที่แล้ว จีนกลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของอาเซียน ส่วนอาเซียนเป็นคู่ค้ารายไหญ่อันดับที่ 4 ของจีน การลงทุนต่อกันก็ขยายมากยิ่งขึ้น
การประชุมผู้จำจีน – อาเซียนครั้งนี้ นายเวิน เจียเป่าได้เสนอเป้าหมายใหม่ที่ว่า จะทำให้ยอดการค้าระหว่างสองฝ่ายสูงถึง 500,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ก่อนปี 2015 นอกจากนั้น จีนยินดีที่จะสร้างเขตร่วมมือทางการค้าแห่งหนึ่งกับแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน
แม้ว่า จีนกับประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศมีข้อพิพาทบางอย่าง อาทิ ปัญหาทะเลจีนใต้ สำหรับเรื่องนี้ ศาสตราจารย์ซูเฮ่ากล่าวว่า จีนและอาเซียนได้บรรลุจุดยยืนร่วมกันที่จะทิ้งเอาไว้ข้อพิพาท และร่วมมือในการพัฒนา สองฝ่ายได้ลงนามกันในปฏิญญาปฏิบัติการทะเลจีนใต้ ได้บรรลุความเห็นเป็นเอกฉันท์เพื่อกรักษาสันติภาพและความมั่นคงของทะเลจีนใต้ แม้ว่าช่วงระยะที่ผ่านมา มีเกิดข้อขัอแย้งบ้างก็ตาม แต่จะไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียน ศาสตราจารย์ซูเฮ่ากล่าวว่า
"สองฝ่ายสามารถที่จะดำเนินการเจรจาหรือการอภิปรายบ้างต่อปัญหาทะเลจีนใต้ ประเทศอาเซียนบางประเทศเสนอว่า ในอนาคต ควรจะยกระดับปฏิญญาปฏิบัติการทะเลจีนใต้ให้เป็นหลักเกณฑ์ปฏิบัติการทะเลจีนใต้ จีนก็มีท่าทีเชิงบวกต่อการนี้ และเชื่อมั่นว่า ปัญหานี้จะไม่สามารถขัดขวางการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียน กระแสหลักของความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียนคือ มิตรภาพ สันติภาพ ความร่วมมือ และการพัฒนา "
(Lin)