ที่ประชุมแคนคูนต้องยึดมั่นในหลักการมีภาระหน้าที่ร่วมกัน แต่มีความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน
  2010-12-01 16:17:48  cri

สถานีวิทยุซีอาร์ไอรายงานว่า ขณะนี้ การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 16 และการประชุมสมัชชาภาคีพิธีสารเกียวโตครั้งที่ 6 กำลังดำเนินที่เมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโก เจ้าหน้าที่ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และผู้แทนเอ็นจีโอจากประมาณ 200 ประเทศและเขตแคว้นได้ปรึกษาหารือในปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นักวิเคราะห์เห็นว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้การประชุมแคนคูนสามารถประสบความสำเร็จได้คือ ทุกฝ่ายต้องยึดมั่นในหลักการมีภาระหน้าที่ร่วมกัน แต่มีความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน โดยทุกฝ่ายต้องร่วมแรงร่วมใจกัน แสดงบทบาทของตนอย่างเต็มที่ เสริมความร่วมมือให้มากขึ้น ร่วมกันขับเคลื่อนกระบวนการการเจรจาในปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้คืบหน้าไปเรื่อยๆ

เนื่องจากขณะนี้ จีนเป็นประเทศที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในโลก ซึ่งมากกว่าสหรัฐอเมริกา บางประเทศจึงเรียกร้องให้จีนแบกรับภาระหน้าที่ที่เกินความสามารถของจีน ต่อการนี้ ศาสตราจารย์โจวจี้ จากสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจมหาวิทยาลัยประชาชนจีน ซึ่งเคยเข้าร่วมการประชุมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหลายครั้งแสดงความเห็นว่า การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ควรพิจารณาจากยอดปริมาณการปล่อย โดยมองข้ามปริมาณถัวเฉลี่ย ไม่ควรพิจารณาเฉพาะสภาพปัจจุบัน แต่มองข้ามสภาพการณ์ในอดีต ทุกฝ่ายต้องยึดมั่นในหลักการมีภาระหน้าที่ร่วมกัน แต่มีความรับผิดชอบที่แตกต่างกันจึงจะถูก เขากล่าวว่า

"ถ้าเพียงนำยอดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศใดประเทศหนึ่งมาเปรียบเทียบกันก็ถือว่าขาดความรอบคอบ ขณะนี้ ปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยต่อคนของจีนอยู่ที่ประมาณ 5 ตัน ขณะที่สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นอยู่ที่ประมาณ 10 ตัน สหรัฐอเมริกาอยู่ที่ประมาณ 20 ตัน พร้อมกันนี้ ก็ไม่ควรลืมความรับผิดชอบทางประวัติศาสตร์ ในอดีต ประเทศอุตสาหกรรม และประเทศพัฒนาได้ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากจนก่อให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิ่งเหล่านี้ไม่ควรถูกลบล้างไป "

ตามมาตรฐานของสหประชาชาติ จีนเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีประชากรยากจนกว่า 100 ล้านคน ภาระหน้าที่ในการขจัดความยากจน และปรับปรุงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้สูงขึ้นนั้นจึงหนักมาก อย่างไรก็ตาม จีนยึดมั่นในเจตนารมณ์ที่มีความรับผิดชอบต่อประชาชนของประเทศตน และมวลมนุษยชาติ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จีนจึงพยายามลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ โดยได้ดำเนินการในทุกวิถีทาง ซึ่งรวมทั้งปรับลดอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจให้ต่ำลงด้วย จนถึงปลายปีนี้ ยอดปริมาณการสิ้นเปลืองพลังงานต่อหน่วยจีดีพีของจีนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาได้ลดลง 20% ซึ่งเท่ากับว่า ทั่วประเทศจีนได้ประหยัดการใช้ถ่านหิน 600 ล้านตัน ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 1,500 ล้านตัน นายโจวจี้เห็นว่า ในฐานะประเทศกำลังพัฒนา จีนได้ทำอย่างเต็มที่แล้วในการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เขากล่าวว่า

"จีนตระหนักว่า อนาคต และพลังการแข่งขันของตนกำลังเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จีนจึงประกาศว่า ถึงปี 2020 การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยจีดีพีจะลดลง 40%-45%เมื่อเทียบกับปี 2005 ส่วนในทางที่เป็นรูปธรรม จีนกำลังพยายามพัฒนาพลังงานทดแทน ปลูกต้นไม้ให้มากขึ้น ประหยัดพลังงาน และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยลง ขณะที่ได้ละทิ้งความสามารถด้านการผลิตที่ล้าสมัยด้วย "

(IN/cai)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
UN
v เปิดการประชุมสมัชชาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่แคนคูน 2010-11-30 17:47:32
v ผู้แทนจีนหวังการประชุมแคนคูนประสบผลคืบหน้าในปัญหาสำคัญ 2010-11-30 17:39:01
v อดีตเจ้าหน้าที่ปัญหาภูมิอากาศของสหประชาชาติเสนอให้การประชุมแคนคูนเริ่มต้นจากการช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา 2010-11-25 16:45:49
v การประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติเพิ่มความเข้าใจร่วมกัน 2010-10-10 18:25:12
v สิ้นสุดการเจรจารอบใหม่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ 2010-04-12 17:38:00
v สหประชาชาติเร่งประเทศต่างๆ ให้เห็นด้วยกับการเปลี่ยนเเปลงของสภาพภูมิอากาศว่าเป็นภัยคุกคามร้่ายเเรง 2010-02-24 17:36:08
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040