ประการแรก จีนเสนอแผนการเชิงสร้างสรรค์
ในที่ประชุมแคนคูนครั้งนี้ ข้อขัดแย้งเกี่ยวกับปัญหาการชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเด่นชัดยิ่งขึ้น สำหรับเรื่องนี้ จีนเสนอแผนการของตนเอง โดยเสนอว่า ประเทศพัฒนาควรปฏิบัติตามพันธกรณีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระยะที่ 2 ประเทศพัฒนาอย่างสหรัฐฯ ที่ไม่ได้เข้าร่วม "พิธีสารเกียวโต" ควรให้คำมั่นสัญญาเช่นกันตาม "โรดแมปบาหลี" ส่วนประเทศกำลังพัฒนาก็ต้องปฏิบัติตามพิธีสารเกียวโต ภายใต้กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการได้รับความช่วยเหลือด้านเงินทุนและเทคโนโลยีจากประเทศพัฒนา ใช้ปฏิบัติการที่เป็นจริงในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
นอกจากนี้ "การรอมชอม"เป็นประเด็นสำคัญของการประชุมแคนคูนครั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คณะผู้แทนจีนใช้ความพยายามเพื่อลดข้อขัดแย้งระหว่างฝ่ายต่างๆ โดยเมื่อวันที่ 4 ธันวาคมที่ผ่านมา นายเซี่ย เจิ้นหวา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการปฏิรูปและพัฒนาแห่งชาติจีนในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนจีน ได้จัดการเจรจากับผู้แทนประเทศต่างๆ ขณะเดินทางถึงเมืองแคนคูน และได้บรรลุความรับรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการให้เงินทุนช่วยเหลือ การถ่ายโอนเทคโนโลยี การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์ป่าไม้และการเสริมสร้างศักยภาพของประเทศกำลังพัฒนา
ประการที่ 2 ในระหว่างการประชุม จีนรักษาผลประโยชน์ของประเทศกำลังพัฒนาอย่างเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ ญี่ปุ่นประกาศอย่างแข็งกร้าวว่าจะไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีเกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระยะที่ 2 ตาม "พิธีสารเกียวโต" ตลอดประเทศอื่นๆ เช่นแคนาดาก็แสดงความเห็นชอบกับญี่ปุ่นด้วย จึงกลายเป็นอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ต่อการเจรจา ดังนั้น ประเทศกำลังพัฒนาคัดค้านท่าทีที่หนีความรับผิดชอบในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศพัฒนา
นายหวาง ฮุ่ยคัง ผู้แทนพิเศษด้านการเจรจาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของกระทรวงการต่างประเทศจีนกล่าวคำปราศรัยว่า จีนสนับสนุนการประชุมแคนคูนเพื่อให้ได้ผลงานที่เป็นคุณและได้สมดุล หวังว่าจะบรรลุข้อตกลงในเชิงกฎหมายโดยเร็ว ดังนั้นผลงานการประชุมควรรวมถึงช่วงเวลาปฏิบัติตามพันธกรณีระยะที่ 2 ของ "พิธีสารเกียวโต" มิเช่นนั้นก็จะเสียความสมดุล เขายังเน้นว่า จีนจะไม่อ่อนข้อในปัญหาหลัก
ท่าทีแน่วแน่ของจีนได้รับความเห็นด้วยและยอมรับจากประเทศกำลังพัฒนา
นอกจากนี้ การที่จีนพัฒนาพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนก็ได้รับความชื่นชมจากฝ่ายต่างๆ นางเรนาตา ลอค-เดซซาลเลียน (Renata Lok-Dessallien) ผู้ประสานงานองค์กรของสหประชาชาติประจำจีนกล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา จีนกลายเป็นประเทศที่ลงทุนในด้านการบุกเบิกพัฒนาพลังงานสะอาดมากที่สุด และก็เป็นประเทศทันสมัยในด้านพลังงานหมุนเวียนของโลก
NL-dai-kt