เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการรางวัลโนเบลได้มอบรางวัลสันติภาพประจำปี 2010 ให้เเก่นายหลิว เสี่ยวโป ชาวจีนที่ต้องโทษจากศาลยุติธรรม เเถลงการณ์ของคณะกรรมการดังกล่าวระบุว่า นายหลิว เสี่ยวโปได้รับรางวัลในโนเบลสาขาสันติภาพเนื่องจาก "พยายามต่อสู้เเบบไม่ใช้กำลังรุนเเรงเพื่อพัฒนาสิทธิมนุษยชนขั้นนพื้นฐานของจีน พยายามให้จีนเป็นสังคม ประชาธิปไตย" เเต่ความจริงคือ ในหลายปีที่ผ่านมานี้ หลิว เสี่ยวโปได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ต่อต้านระบบการเมืองของจีน เเละหมายจะโค่นล้มรัฐบาลจีน ตลอดจนละเมิดกฎหมายเเละต้องโทษจำคุก ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า การเคารพเเละคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นเป้าหมายในระยะยาวของจีน การกระทำของคณะกรรมการรางวัลโนเบลนั้น มองข้ามความก้าวหน้าเเละความสำเร็จของจีน เป็นการตัดสินใจที่ขาดความเป็นธรรม
นายหลิ่ว หัวเหวิน ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนจากสภาวิทยาศาสตร์ สังคมจีนชี้ว่า การให้ความเคารพเเละคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นเเนวคิดพื้นฐานในการบริหารประเทศ บรรดานักวิชาการเรียกว่า "ให้สิทธิมนุษยชนเป็นหลัก" คือ ไม่ว่าในการบัญญัติกฎหมาย การกำหนดโนบายหรือการปฏิบัติตามกฎหมายต่างจะดำเนินตามเเง่มุมสิทธิมนุษยชน เขากล่าวว่า
"การให้สิทธิมนุษยชนเป็นหลักได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อจีน รัฐบาลจีนเน้นพัฒนาตามหลักวิทยาศาสตร์ การพัฒนาตามหลักวิทยาศาสตร์คือไม่เพียงเน้นเติบโตของเศรษฐกิจเท่านั้น หากยังส่งเสริมการพัฒนาของสังคมอีกด้วย ลดช่องว่างความยากจนกับความมั่งคั่งทั้งของท้องที่เเละชนชั้นในสังคม ส่งเสริมความเป็นธรรมในการเเบ่งปันรายได้ ตลอดจนบรรลุการพัฒนาอย่างมีศักดิ์ศรี การพัฒนาตามหลักวิทยาศาสตร์เป็นเนื้อหาสำคัญที่สะท้อนหลักการเเละกฎเกณฑ์ด้านสิทธิมนุษยชน
สิทธิการดำรงชีวิตเเละการพัฒนาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ หลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลจีนยืนหยัดถือมนุษย์เป็นหลัก ประกันสิทธิในการดำรงชีวิตเเละการพัฒนาของประชาชนไว้เป็นภารกิจอันดับต้นๆ เมื่อเร็วๆ นี้ จีนกำลังจัดทำเเผนพัฒนาเศรษฐกิจเเละสังคมเเห่งชาติระยะ 5 ปีต่อไป ทั้งการรักษาพยาบาล การดูเเลผู้สูงอายุเเละวงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐานของประชาชนจะเป็นงานสำคัญมากในอนาคต
สิทธิของประชาชนเเละสิทธิทางการเมืองเป็นสิทธิที่สำคัญของประชาชนเช่นกัน นายจาง เหว่ย รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสิทธิมนุษยชนเเละมนุษยธรรมมหาวิทยาลัยการเมืองเเละกฏหมายจีนกล่าวว่า รัฐบาลจีนได้มีการคุ้มครองในการใช้สิทธิเหล่านี้ด้วยวิธีการบัญญัติกฎหมาย นอกจากนี้ จีนยังได้จัดประชุมสัมมนาเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับประเทศต่างๆ ทั่วโลกกว่า 70 ครั้ง ได้ส่งเสริมความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชนกับประเทศอื่นๆ
นายจาง เหว่ยกล่าวว่า สิทธิมนุษยชนที่เป็นปัญหาในขอบเขตอธิปไตยของประเทศใดประเทศหนึ่ง ต้องสอดคล้องกับสภาพเเละลักษณะของเเต่ละประเทศ ในด้านสิทธิมนุษยชน ประเทศต่างๆ ยังมีสิ่งที่สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อีก ทุกประเทศย่อมจะพบปัญหาสิทธิมนุษยชนในช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ที่ต่างกัน ประเทศต่างๆ ยังต้องใช้ความพยายามอย่างไม่ลดละเพื่อเร่งพัฒนาสิทธิมนุษยชน
In/Dai/Lei