กิจกรรมประกวดเรียงความ "มองจีนผ่านซีอาร์ไอ" ในวาระฉลองครบรอบ 60 ปี ภาคภาษาไทยของสถานีวิทยุซีอาร์ไอ สาธารณรัฐประชาชนจีน และ 35 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม – 31 ธันวาคม 2553 มีผู้เขียนเรียงความส่งเข้าประกวดจำนวน 180 ฉบับ หลังจากผ่านการพิจารณคัดเลือกโดยละเอียดถี่ถ้วนแล้ว คณะกรรมการตัดสินได้คัดเลือกผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ 3 ท่าน และรางวัลพิเศษ 20 ท่าน ต่อไปนี้เป็นเรียงความที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ
รุ่งอรุณที่แดนมังกร
ข้าพเจ้ารู้จักวัฒนธรรมจีนครั้งแรกเมื่อประมาณ 35 ปีก่อน คุณย่าถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านประเพณีการไหว้ตรุษจีน ซึ่งในช่วงวัยนั้นข้าพเจ้ายังไร้เดียงสาเกินกว่าที่จะเข้าใจความหมายของพิธีกรรม ข้าพเจ้ารับรู้แต่เพียงว่า เมื่อพิธีกรรมเสร็จสิ้น ชิวหาของข้าพเจ้าก็จะได้ลิ้มชิมรสสรรพเมนู
ตลอดระยะเวลาที่เติบโต ข้าพเจ้าได้รับรู้และเรียนรู้เรื่องราวของอารยธรรมจีนโบราณอย่างต่อเนื่อง ทั้งการถ่ายทอดผ่านตัวหนังสือจากพระราชนิพนธ์เรื่อง "ย่่าแดนมังกร" ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และจากนักประพันธ์ท่านอื่นๆ จากการถ่ายทอดประสบการณ์ตรงของผู้ที่ได้ไปเยือนเมืองจีนมาแล้ว รวมทั้งจากการถ่ายทอดผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงระหว่างประเทศจีนหรือที่รู้จักกันดีคือซีอาร์ไอ แม้ข้าพเจ้าเพิ่งจะรู้จักกับซีอาร์ไอผ่านทางอินเทอร์เน็ต แต่ก็สร้างความประทับใจครั้งแรก (first impression) ให้กับข้าพเจ้ามากมาย
หากเปรียบซีอาร์ไอเป็นชายหนุ่ม เขาช่างเป็นชายหนุ่มที่มีเสน่ห์และมีความสามารถครบเครื่อง เขากล้าเปิดเผยตัวตนอย่างหมดเปลือก พร้อมให้เราเรียนรู้เขาทุกด้านผ่าน CHINA ABC แม้จะเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ตัวตน แต่นั่นก็เป็นรากฐานที่ส่าคัญต่อการสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน นอกจากนี้ เขายังเป็นคนทันสมัยใส่ใจสิ่งรอบตัว เขาติดตามข่าวความเคลื่อนไหวทั้งที่เกิดขึ้นในประเทศจีน ประเทศในกลุ่มอาเซียนและโลก แล้วน่าเสนอให้สังคมรับรู้อย่างฉับไว ท่าให้เราเป็นคนไม่ตกยุค ที่ส่าคัญชายหนุ่มคนนี้ยังมีมนุษย-สัมพันธ์ที่ดี เขาสร้างสังคมเครือข่าย โดยใช้ภาษาของแต่ละประเทศในการสื่อสาร ขณะเดียวกันก็พร้อมถ่ายทอดภาษาจีนให้ผู้อื่นเรียนรู้ผ่านบทเรียนต่างๆ เช่นกัน เขาจึงมีกัลยาณมิตรอยู่ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งตลอดระยะเวลา 35 ปีที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ไทย-จีนยังคงแน่นแฟ้น เราเป็นมิตรประเทศที่ดีต่อกัน โดยสิ่งที่เน้นย้่าความรู้สึกนี้ได้อย่างชัดเจนและสร้างความภาคภูมิใจให้กับพสกนิกรชาวไทยก็คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีของเรา ได้รับคัดเลือกเป็นหนึ่งในมิตรนานาชาติสิบอันดับแรกของจีน
ซีอาร์ไอในวันนี้มิได้ท่าหน้าที่เพียงเปิดมุมมองที่ท่าให้ผู้ฟังและผู้ท่องอินเทอร์เน็ตเข้าใจประเทศจีนในด้านต่างๆเท่านั้น แต่ซีอาร์ไอก่าลังท่าหน้าที่เป็นทูตแห่งปรัชญาตะวันออก (Brand Ambassador)
โดยเนื้อหาสาระของข่าวสารที่ซีอาร์ไอน่าเสนอนั้น ตอกย้่าให้เห็นว่าชาวจีนและชาวตะวันออกมีศักยภาพทางความคิดและมีความสามารถในด้านต่างๆ ทัดเทียมกับชาวตะวันตก ภายใต้ดวงอาทิตย์ดวงเดียวกัน ชาวตะวันตกอาจมองว่าดวงอาทิตย์เป็นเพียงดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะจักรวาล ขณะที่ชาวตะวันออกมองว่าดวงอาทิตย์ในยามรุ่งอรุณ คือ พลังของชีวิตวันใหม่ ดวงอาทิตย์เป็นดั่งเทพเจ้าที่ประทานพรให้กับสิ่งมีชีวิตทั้งปวง ประเพณีและวัฒนธรรมของชาวตะวันออกล้วนเกี่ยวข้องกับธรรมชาติอย่างมาก ผู้คนที่สนใจศึกษาปรัชญาตะวันออก สามารถติดตามค้นหาอารยธรรมของจีนและชาวตะวันออกได้จากแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ตามที่ซีอาร์ไอน่าเสนอ หลายแห่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่น่าไปเยือนสักครั้งหนึ่งในชีวิต
อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นแม่ของลูกชายวัย 4 ขวบ ข้าพเจ้าเชื่อว่าเด็กคือทรัพยากรที่ส่าคัญของโลก เขามีศักยภาพที่จะเรียนรู้และสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับโลกได้ ข้าพเจ้าให้ความส่าคัญกับการเรียนรู้และตั้งใจจะส่งเสริมให้ลูกเรียนภาษาจีนอย่างต่อเนื่อง ข้าพเจ้าจึงอยากให้ซีอาร์ไอน่าเสนอให้กับเด็กด้วย อาจเป็นรายการซีอาร์ไอเพื่อเด็ก ( CRI FOR KIDS) โดยรูปแบบการน่าเสนอนั้นอาจเป็นนิทานหรือการ์ตูนของจีน ฉบับพากย์ภาษาจีน โดยมี Subtitle ภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยก็ได้ นอกจากนี้ส่าหรับการเรียนภาษาจีนนั้น ซีอาร์ไอน่าจะมีแบบทดสอบการเรียนรู้ภาษาจีนในลักษณะเป็น Interactive ผู้เรียนจะได้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น และข้อแนะน่าประการสุดท้าย ในฐานะที่ข้าพเจ้าให้ความสนใจกับภาคธุรกิจ ซีอาร์ไอน่าจะนาเสนอข้อกฎหมายเบื้องต้นสาหรับผู้ที่สนใจไปประกอบธุรกิจในประเทศจีน ข้าพเจ้าคิดว่าข้อเสนอแนะเหล่านี้คงจะเป็นประโยชน์ต่อการท่างานของซีอาร์ไอ
ข้าพเจ้าขอชื่นชมการท่างานของซีอาร์ไอที่พยายามน่าเสนอความรู้ในด้านต่างๆ อย่างครอบคลุมและเน้นย้่าให้ข้าพเจ้ารับรู้ว่าดินแดนมังกรในยามรุ่งอรุณของทุกวัน เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังมหาศาลที่จะสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ เพื่อเอื้ออ่านวยความสะดวกในการด่ารงชีวิตของมวลมนุษย์
ผลงานของนางสุพิชฌาย์ ปิยะศิรประภา