สถาบันขงจื่อ—สะพานเชื่อมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีน-อาเซียน
  2011-03-16 21:25:09  cri

สวัสดีค่ะท่านผู้ฟัง ขอต้อนรับเข้าสู่ช่วงคุยกันวันละประเด็น โดย ดิฉัน อินทนิล ปลดเปลื้องกับคุณเจิ้ง หยวนผิง สวัสดีค่ะ คุณเจิ้ง

สวัสดีค่ะ คุณอินทนิลและท่านผู้ฟัง

เนื่องในโอกาสสถาบันขงจื่อแห่งที่ 3 ในฟิลิปปินส์ก่อตั้งขึ้นครบรอบ 1 ปี เมื่อเร็วๆ นี้ นายเบนิกโน ซิมยอน อาคิโน ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ นายหลิว เจี้ยนเชา เอกอัครราชทูตจีนประจําฟิลิปปินส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการฟิลิิปปินส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศฟิลิปปินส์ และผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ หรือ ฮั่นปั้น ต่างได้ส่งสารแสดงความยินดี โดยชื่นชมผลงานที่ได้รับในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา

ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์เห็นว่า การสร้างสถาบันขงจื่อที่ฟิลิปปินส์ก็คือเผยแพร่ภาษา ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีน ซึ่งมีความหมายอย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่ให้นักศึกษาฟิลิปปินส์มีโอกาสการเรียนภาษาจีนมากยิ่งขึ้นเท่านั้น หากยังได้เพิ่มความเข้าใจของชาวฟิลิปปินส์เชื้อชาติจีนที่มีต่อประเพณีจีนที่มีมาช้านาน กระชับความสัมพันธ์ระหว่างฟิลิปปินส์กับจีนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

ฟิลิิปปินส์ก่อตั้งสถาบันขงจื่อแห่งแรกเมื่อปี 2006 ได้อบรมภาษาและวัฒนธรรมจีนแ่ก่ชาวฟิลิปปินส์กว่า 3,000 คน มีอิทธิพลพอสมควรต่อสังคมท้องถิ่น จนถึงปัจจุบัน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสถาบันขงจื่อทั้งหมดกว่า 30 แห่ง

ประเทศต่างๆ ในเอเชีย ยุโรป แอฟริกา และโอเชียเนียมีสถาบันขงจื่อทั้งหมดกว่า 200 แห่ง ซึ่งคล้ายๆ กับสถาบันเกอเธ่ของเยอรมัน สมาคมฝรั่งเศส สถาบันเซอร์บันเตส(Institute Cervantes)ของสเปน เป็นรูปแบบที่ประสบความสําเร็จในการเผยแพร่วัฒนธรรมและภาษา จัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยจีนกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เนื่องจากเศรษฐกิจจีนพัฒนาอย่างต่อเนื่อง วัฒนธรรมจีนจึงได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น ทําให้มีการก่อตั้งสถาบันขงจื่อในต่างประเทศมากยิ่งขึ้น

สถาบันขงจื่อเริ่มก่อตั้งขึ้นที่ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมา สํานักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติระบุว่า จนถึงขณะนี้ จีนได้สร้างสถาบันขงจื่อและห้องเรียนขงจื่อในประเทศอาเซียนกว่า 30 แห่ง

ยกเมืองไทยเป็นตัวอย่าง ตั้งแต่สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยขอนแก่นซึ่งเป็นสถาบันขงจื่อแห่งแรกในไทยเริ่มก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2006 เป็นต้นมา ได้ตั้งสถาบันขงจื่อที่ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้และอีสานของไทยหลายแห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาต่างก็มีสถาบันขงจื่อ สถาบันขงจื่อกลายเป็นศูนย์ฝึกอบรมครูสอนภาษาจีน ศูนย์การเรียนการสอนภาษา และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีน-ไทย ขณะนี้ ไทยเป็นประเทศที่มีสถาบันขงจื่อมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สถาบันขงจื่อที่จัดตั้งขึ้นในมหาวิทยาลัยจีนกับไทยเต็มไปด้วยบรรยากาศวัฒนธรรมจีน ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้วยแนวคิด"อยู่ร่วมกันอย่างสันติและสมานฉันท์" เป็นสะพานและเวทีส่งเสริมความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างจีนกับไทย สถาบันขงจื่อจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เช่นจัดนิทรรศการ การสัมมนา เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมที่มีมาช้านานของจีน ซึ่งรวมทั้งศิลปะการเขียนพู่กันจีน วาดภาพ ดนตรี ต่างได้ส่งเสริมประชาชนไทยมีความเข้าใจวัฒนธรรมจีนมากยิ่งขึ้น นักศึกษาและข้าราชการไทยก็สามารถมาเรียนภาษาจีนที่สถาบันขงจื่อได้ฟรี

สถาบันขงจื่อกลายเป็นกระเช้าดอกไม้แห่งมิตรภาพระหว่างจีนกับไทย ด้วยความพยายามร่วมกันทั้งจีนและไทย ขณะนี้ไทยมีสถาบันขงจื่อและห้องเรียนขงจื่อกว่า 20 แห่ง มีครูสอนภาษาจีนกว่า 900 คน ซึ่งเป็นเวทีใหม่ในการเผยแพร่ภาษาและวัฒนธรรมจีน เป็นช่องทางใหม่ในการแลกเปลี่ยนระหว่างจีนกับไทย

เมื่อเดือนมีนาคมปี 2550 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเปิดป้ายสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงพระอักษรด้วยพู่กันจีนว่า"任重道远เหริ่นจ้งต้าวหย่วน" หมายความว่าภารกิจหนักหน่วง เดือนตุลาคมในปีเดียวกัน นายจาง จิ่วหวน เอกอัครราชทูตจีนประจําไทยไปเยี่ยมสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เขียนอักษรจีนว่า "源远流长ยวนหย่วนหลิวฉาง" หมายความว่า แหล่งกําเนิดยาวไกลไหลไปตามแหล่งนํ้า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวทางและความปรารถนาของการพัฒนาสถาบันขงจื่อในไทยในอนาคต

สถาบันขงจื่อในไทยได้เปิดหลักสูตรต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนภาษาจีน เช่น สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เปิดห้องสอนภาษาจีนที่ใช้ในชีวิตประจําวันแก่เจ้าหน้าที่สํานักงานผู้อพยพในท้องถิ่น เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถสื่อสารกับผู้อบพยชาวจีนได้เป็นอย่างดี สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยมหาสารคามเปิดห้องสอนภาษาจีนที่จังหวัดมหาสารคาม กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด เพื่อสอนภาษาจีนให้นักเรียนโรงเรียนประถมและมัธยมในท้องถิ่น ส่วนสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตภูเก็ตเปิดหลักสูตรไก๊ด์ เนื่องจากเป็นเมืองท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวจีนมาเที่ยวจํานวนมาก

การสอนภาษาจีนของสถาบันขงจื่อจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น ในสุดสัปดาห์ มักจะมีพ่อแม่ลูกหรือลูกหลานสามชั่วคนไปเรียนภาษาจีนด้วยกัน

สถาบันขงจื่อให้ความสําคัญต่อวิธีการสอนภาษาจีน โดยใช้รูปแบบหลากหลาย เช่น ห้องเรียนขงจื่อของโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัยที่เยาวราชเป็นสถาบันขงจื่อขนาดจิ๋วแห่งแรกที่สร้างขึ้นในโรงเรียน ได้เปิดหลักสูตรศิลปะการตัดกระดาษ พู่กัน วิทยายุทธ ร้องเพลงจีนเรียนภาษาจีน ดูหนังจีนเรียนภาษาจีน ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ที่ได้รับความสนใจจากผู้เรียนภาษาจีน สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตพูเก็ตจัด "งานสัมมนาจริยธรรมในสังคมขงจื่อ" นอกจากนี้แล้ว นักวิชาการกว่า 44 คนจาก 8 ประเทศ อันได้แก่ จีน ไทย สิงคโปร์ พม่า เวียดนาม กัมพูชา เลปาล ศรีลังการ่วมกันอภิปรายแนวคิดสําคัญของขงจื่อมีต่อการปลูกฝังจริยธรรมแก่เยาวชน ทั้งหมดเหล่านี้ต่างก็เพิ่มความสนุกสนามให้กับผู้เรียนภาษาจีน

สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ของเขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วงกวางสีพยายามร่วมมือกับประเทศอาเซียนสร้างสถาบันขงจื่อ กวางสีติดกับประเทศอาเซียน หลายปีมานี้ได้ทุ่มเทพยายามส่งเสริมการสร้างสถาบันขงจื่อในประเทศอาเซียนและเผยแพร่ภาษาจีน เมื่อเดือนธันวาคมปี 2549 มหาวิทยาลัยกวางสีกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตวิทยาเขตสุพรรณบุรีตั้งสถาบันขงจื่อ จนถึงปัจจุบัน สถาบันอุดมศึกษากวางสีได้ร่วมมือกับประเทศอาเซียนสร้างสถาบันขงจื่อ 6 แห่ง ได้เพิ่มสรรพกําลังในการเผยแพร่วัฒนธรรมจีน

ปีหลังๆ มานี้มีกระแสนิยมสถาบันขงจื่อ ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา กวางสีได้ส่งครูสอนภาษาจีนกว่า 300 คนไปสอนภาษาจีนที่ไทย ฟิลิปปินส์ ขณะเดียวกัน ช่วยประเทศต่างๆ เช่น ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา ฝึกอบมครูสอนภาษาจีนกว่า 300 คนด้วย ด้วยการสนับสนุนของสํานักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ หรือ ฮั่นปั้น และสํานักงานใหญ่สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยกวางสี มหาวิทยาลัยครูกวางสี มหาวิทยาลัยชนเผ่ากวางสีร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศอาเซียน เช่น ไทย ลาว อินโดนีเซีย และเวียดนาม ร่วมกันก่อตั้งสถาบันขงจื่อ 6 แห่ง มีผู้มาเรียนภาษาจีนกว่า 10,000 คน

หลายปีมานี้ การเผยแพร่ภาษาจีนผ่านสถาบันขงจื่อเป็นสาระสําคัญอย่างหนึ่งของความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างกวางสีกับอาเซียน ปัจจุบันได้วางแผนว่าจะเปิดสถาบันขงจื่อ 2-3 แห่งที่อินโดนีเซียและเวียดนาม ส่งอาสาสมัครสอนภาษาจีนไปประเทศอาเซียน เพื่อฝึกอบรมบุคลากรภาษาจีนให้กับประเทศอาเซียน

นายกาว เฟิง ผู้อํานวยการสํานักงานการศึกษากวางสี กล่าวว่า หลังจากเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนก่อตั้งขึ้นเป็นต้นมา การแลกเปลี่ยนระหว่างจีนกับอาเซียนกระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จีนกับอาเซียนต่างก็ต้องการบุคลากรที่เข้าใจสภาพความเป็นจริงของประเทศ วัฒนธรรมของอีกฝ่าย ฉะนั้น การส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างอาเซียนกับประเทศต่างๆ กลายเป็นภารกิจที่เร่งด่้วนในการกระตุ้นให้เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนพัฒนาอย่างเจริญรุ่งเรืองต่อไป

ความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างกวางสีกับประเทศอาเซียนนับวันมีมากยิ่งขึ้น ตามเป้าหมายของ"โครงการแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านการศึกษานานาชาติที่มีเอกลักษณ์ส่วนภูมิภาค" จะสร้างศูนย์แลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านการศึกษานานาชาติที่มุ่งไปสู่อาเซียนในปี 2563

นายหวาง เหวยยี่ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยกวางสีกล่าวว่า หลังจากมหาวิทยาลัยกวางสีตั้งสถาบันขงจื่อที่ไทยแล้ว ไทยกลายเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความร่วมมือ ระหว่างมหาวิทยาลัยกวางสีกับประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นผลดีต่อความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เท่านั้น หากยังเป็นแรงกระตุ้นการพัฒนาวิชาการสาขา เช่น ภาษาจีน การก่อตั้งสถาบันขงจื่อ เป็นเรื่องที่สองฝ่ายร่วมกันได้รับประโยชน์ทั้งสถาบันอุดมศึกษาของจีนและประเทศอาเซียน

นอกจากนี้ บรรดาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในประเทศอาเซียนต่างก็กล่าวว่า จีนกําลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว กระตุ้นการพัฒนาของประเทศรอบข้าง ฉะนั้น การเรียนภาษาจีนจึงกลายเป็นความจําเป็นอย่างหนึ่ง ซึ่งจะแสดงบทบาทสําคัญต่อการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนกับอาเซียน

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040