การวิจัยดังกล่าวได้สำรวจเด็กอายุ 3 ขวบ – 17 ปีจำนวน 183,000 คน เนื้อหาการวิจัยรวมถึงความเคยชินด้านอาหารการกิน น้ำหนักตลอดจนควบคุมน้ำหนัก เป็นต้น
ผลการวิจัยปรากฏว่า เด็กที่รับประทานอาหารกับครอบครัวจะมีโอกาสรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าเด็กที่ไม่ค่อยร่วมโต๊ะกับครอบครัว 24% ส่วนอัตราความอ้วนและความผิดปกติด้านอาหารการกินของเด็กกลุ่มแรกคือเด็กที่รับประทานอาหารกับครอบครัวบ่อยๆ น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ค่อยได้ร่วมโต๊ะักับครอวครัว
นักวิจัยอธิบายว่า เด็กที่รับประทานอาหารกับครอบครัวมักจะเลียนแบบจากผู้ใหญ่ที่สนใจอาหารที่เป็นคุณต่อสุขภาพ และหลีกเลี่ยงอาหารขยะ (In/Lin)