นายจู้ หยงระบุว่า ในสายตาของเขา วัฒนธรรมเมืองเหมือนดั่งบ่อน้ำลึก มักจะสร้างความสนใจให้ผู้คนขุดหาเรื่อยๆ อีกทั้งนำมาซึ่งความตื่นเต้นดีใจให้แก่ผู้คนไม่เคยขาด เขาเห็นว่า วัฒนธรรมเป็นดัชนีชี้วัดสำคัญที่สุดสำหรับเมืองๆ หนึ่ง การที่ฟลอเรนซ์ ลอนดอน และเมืองอื่นๆ มีชื่อเสียงขึ้นมา สาเหตุประการสำคัญที่สุดก็คือ เมืองเหล่านี้มีรากเหง้าวัฒนธรรมที่หยั่งลึก วัฒนธรรมเป็นวัตถุประสงค์สุดท้ายในการพัฒนาเศรษฐกิจก็จริง แต่ก็เป็นแก่นแท้และต้นกำเนิดของเผ่าชนต่างๆ
สำหรับมาตรฐานในการตัดสิน "เมืองวัฒนธรรมของจีน" นายจู้ หย่ง มีข้อคิดเห็นว่า แรกสุดคือ เมืองนั้นควรมีรากเหง้าวัฒนธรรมอันลุ่มลึก สองคือ มีการสืบทอดและดำรงอยู่จวบจนถึงปัจจุบัน สามคือ สภาวะทางวัฒนธรรมที่เป็นอยู่ เขาเล่าว่า "ไม่ว่าเป็นวัฒนธรรมฉี วัฒนธรรมหลู่ หรือว่าเป็นวัฒนธรรมสวู่ (shu) และวัฒนธรรมอู๋ วัฒนธรรมเหล่านี้ยังสะท้อนอยู่ตรงไหน จะเป็นวัฒนธรรมที่ตายแล้วไม่ได้ ควรยังดำรงอยู่ในชีวิตประจำวัน" นอกจากนี้ เขายังเห็นว่า เมืองวัฒนธรรมยังควรมีบุคคลที่เป็นตัวแทนวัฒนธรรมของตัวเอง ต้องบ่มเพาะบุคลากรที่เชี่ยวชาญ โดยให้คนเหล่านี้เป็นเสาหลักทางวัฒนธรรมของเมือง
นายจู้ หย่งทิ้งท้ายด้วยว่า วิถีชีวิตในรูปแบบสมัยใหม่ ใช่จะหมายความว่าต้องทุบทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในอดีต ผู้คนในเขตเมืองเก่าของยุโรป ในอาคารเก่าแก่ ยังคงท่องอินเตอร์เน็ตด้วยไอแพ็ดได้ แก่นแท้ของกระแสโลกาภิวัติคือ โลกเป็นหนึ่งเดียว ใช่ว่าเป็นแบบเดียวกันทั่วโลก
(TON/LING)