ผู้สื่อข่าวจีนและต่างประเทศของซีอาร์ไอเยี่ยมชมดูงานเขตเมืองใหม่ต้าเหลียนเน้นยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและสิ่งแวดล้อม
วันที่ 14 กันยายนนี้ คณะผู้สื่อข่าวจีนและต่างประเทศซีอาร์ไอเยี่ยมชมดูงานเขตเมืองใหม่ต้าเหลียน โดยมีนายหง หยูเวิ่นประธานบริษัทต้าเหลียนพัฒนาจำกัดให้การต้อนรับ เมืองนี้ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกของเมืองต้าเหลียนมีพื้นที่ 65 ตร.กม. พร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย เช่น สนามบิน สถานีรถบัส และสถานีรถไฟใต้ดิน (กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่) เมื่อปี 2009 ทางการต้องการขยายเขตเมืองของต้าเหลียน โดยมุ่งเน้นการอยู่ร่วมกันระหว่างวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย และต้องการนำระบบเครือข่ายซิลิคอนที่ทันสมัยมาใช้สำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนเขตนี้เป็นเมืองต้นแบบที่ใช้ชีวิตผสมผสานระหว่างนวัตกรรมใหม่และโลว์คาร์บอนเข้าด้วยกัน ปัจจุบันมีประชาชนและบริษัทต่างชาติให้ความสนใจเข้าเยี่ยมชมโครงการฯ และตัดสินใจพักอาศัยหรือดำเนินกิจการในเขตนี้เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ นาสหง หยูเวิ่นยังย้ำอีกว่า เมืองต้นแบบนี้จะเกิดไม่ได้หากไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากภาครัฐฯ ที่เสนอราคาบ้านต่ำกว่าเขตในเมืองปัจจุบันเพื่อดึงดูดประชาชน อีกทั้งจะลดภาษี 5 ปีสำหรับบริษัทที่เข้ามาตั้งสำนักงานในเขตเมืองใหม่ด้วย ภาครัฐต้องการกระตุ้นให้เมืองต้าเหลียนเป็นเมืองฐานการบริการต่างๆ เช่น รับคิดค้นและผลิตซอฟต์แวร์ บริการด้านโลจิสติก บริการด้านคอลเซ็นเตอร์ บริการด้านบุคคลากรที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น ไม่เพียงแต่จะพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเดียว ภาครัฐยังยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอีกด้วย คาดว่า โครงการฯจะสำเร็จภายใน 5 ปีข้างหน้านี้อย่างแน่นอน
และบ่ายวันเดียวกัน ทางคณะผู้สื่อข่าวฯ ซีอาร์ไอ ได้เยี่ยมชมซอฟต์แวร์ปาร์คของเมืองต้าเหลียนตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของเมือง และสัมภาษณ์นายชาร์ล ชีหยวน ผู้อำนวยการเขตไฮเทคต้าเหลียน ได้กล่าวว่า ปี 1988 ทางการฯได้เห็นศักยภาพของการเป็นฐานการผลิตซอฟต์แวร์จึงก่อตั้งให้เป็นเขตไฮเทคสำหรับให้บริการผลิตคิดค้นซอฟต์แวร์ ปัจจุบันมีบริษัทชั้นนำกว่า 500 แห่ง เช่น ไอบีเอ็ม เจนแพ๊ก ตั้งสำนักงานและฐานการผลิตในเขตนี้ เนื่องจากรายได้หลักของเขตได้มาจากการเก็บภาษี ทางการฯ จึงนำมาพัฒนาเมืองโดยมุ่งเน้นการรักษาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนเป็นหลัก อีกยังนำมาสนับสนุนสถาบันการศึกษาให้ผลิตบุคคลากรที่มีประสิทธิภาพเพื่อมาทำงานในเขตนี้อีกด้วย บุคลลากรในเขตนี้กว่า 60% จบการสถาบันการศึกษาและทำงานในซอฟต์แวร์ปาร์ค เพราะมุ่งเน้นที่คุณภาพชีวิตการทำงานและความเป็นอยู่ควบคู่กันไป ถ้าบุคคลากรมีความสุข การทำงานก็จะออกมาอย่างราบรื่นและดีเยี่ยม อีกทั้งจุดแข็งของบุคคลากรนั้นมีความสามารถทางด้านภาษาญี่ปุ่นและความหลากหลายทางวัฒนธรรม จึงสามารถทำงานกับบริษัทต่างชาติได้อย่างราบรื่น เป้าหมายสำคัญของฐานการผลิตแห่งนี้ จะกระตุ้นและรณรงค์ให้บริษัทต่างๆ สร้างสรรค์และคิดค้นซอฟต์แวร์ของตนเอง ซึ่งต่างจากก่อนที่รับมาเพื่อผลิตเพียงอย่างเดียว