เมื่อวันที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมา สำนักข่าวซินหวาออกบทวิเคราะห์ชี้ว่า จีนได้แสดงความจริงใจมากที่สุดเพื่อให้มีการปฎิบัติตามพิธีสารเกียวโตแล้ว แต่ประเทศพัฒนาบางส่วนที่ยืนกรานปฎิเสธที่จะลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้องสำนึกผิดบ้าง และน่าจะแบกรับพันธกรณีทางประวัติศาสตร์ที่พึงมีอย่างจริงจัง โดยพิจารณาถึงอนาคตทั้งของประเทศตน และมวลมนุษย์อย่างจริงจัง
บทวิจารณ์ระบุว่า นายเซี่ย เจิ้่นหัว หัวหน้าคณะผู้แทนจีนที่เข้าร่วมการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เมืองเดอร์บันระบุว่า จีนยินดีรับรองข้อตกลงว่าด้วยการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหลังปี 2020 อย่างมีเงื่อนไข ทั้งนี้ได้เกิดเสียงสะท้อนอย่างมากในที่ประชุมเดอร์บัน ไม่ว่าประเทศพัฒนาหรือประเทศกำลังพัฒนา ล้วนได้ตระหนักถึงความจริงใจของจีนในการปฎิบัติตามพิธีสารเกียวโต และการรักษากลไกพหุภาคีที่รับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
บทวิเคาระห์ชี้ว่า ในฐานะเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มวลรวมการผลิตภายในประเทศเฉลี่ยต่อคนมีเพียง 4,000 เหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น จีนได้ใช้ความพยายามอย่างใหญ่หลวง เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยยึดถือทรัพยากรของประเทศตนเป็นหลัก จีนมีประชากรกว่า 1,300 ล้านคน ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) และปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกย่อมมีจำนวนไม่น้อย แต่ถ้าเฉลี่ยต่อคนแล้ว ก็เป็นจำนวนไม่มาก แต่ตั้งแต่เปิดการประชุมเดอร์บันเป็นต้นมา ประเทศพัฒนาบางส่วนมักจะนำเรื่องปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศที่เติบโตใหม่ ซึ่งรวมทั้งจีนด้วยมาพูดเป็นประเด็น
บทวิเคราะห์ชี้ว่า ท่าทีของประเทศพัฒนาเหล่านี้ทั้งฝ่าฝืนหลักการ "การดำเนินการร่วมกันแม้มีความต่างกัน" และไม่สมเหตุสมผลด้วย ประเทศพัฒนาเหล่านี้ต้องรู้ว่า ยอดการปล่อยก็าซเรือนกระจกของประเทศที่เติบโตใหม่มีจำนวนเพิ่มขึ้นบ้างในช่วงปีหลังๆ นี้เอง เพราะสอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนา แต่สาเหตุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นก๊าซเรือนกระจำที่สะสมในชั้นบรรยากาศตั้งแต่สองศตวรรษที่ผ่านมา หลังการปฎิวัติอุตสาหกรรม จึงเห็นชัดว่า ใครเป็นต้นตอที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกันแน่
(in/dai)