หนังสือพิมพ์เหรินหมิน รายงานว่า วันที่ 23 กุมภาพันธ์นี้ ผู้แทนเกาหลีเหนือ และสหรัฐอเมริกาจะจัดการเจรจาระดับสูงครั้งที่ 3 ที่กรุงปักกิ่ง หลังจากได้เจรจากัน 2 ครั้งเมื่อเดือนกรกฏาคม และตุลาคมปี 2011 ที่ผ่านมา แหล่งข่าวเผยว่า การฟื้นฟูการเจรจา 6 ฝ่ายด้วยวิธีใดจะเป็นประเด็นหลักของการเจรจาระหว่าง 2 ฝ่าย การฟื้นฟูการเจรจา 6 ฝ่ายถูกเลื่อนมานานมากแล้ว การเจรจาครั้งนี้จะทำให้โอกาสการเจรจา 6 ฝ่ายฟื้นขึ้นใหม่หรือไม่นั้น ไม่เพียงแต่จะเกี่ยวข้องกับการเจรจา 6 ฝ่าย หากยังจะมีอิทธิพลที่อ่อนไหวต่อสถานการร์คาบสมุทรเกาหลีด้วย
การที่เกาหลีเหนือกับสหรัฐอเมริกาฟื้นฟูการติดต่อกัน และกลับสู่การเจรจาอีกครั้ง เป็นการส่งสัญญาณทางบวกไม่มากก็น้อย ขณะเดียวกันก็ต้องเข้าใจว่า แม้ว่าเกาหลีเหนือกับสหรัฐอเมริกาแสดงความหวังที่จะฟื้นฟูการเจรจา 6 ฝ่ายหลายต่อหลายครั้งในช่วง 3 ปีมานี้ แต่สองประเทศมีข้อขัดแย้งที่ชัดเจนเกี่ยวกับเงื่อนไขในการฟื้นฟูการเจรจา 6 ฝ่าย ซึ่งก็คือ เกี่ยวกับปริมาณ ประเภท และวิธีที่สหรัฐอเมริกาให้ความช่วยเหลือด้านอาหารแก่เกาหลีเหนือนั้น สองฝ่ายไม่ได้บรรลุข้อตกลงกัน ส่วนสหรัฐอเมริกาเห็นว่า ไม่ได้รับคำตอบที่แน่นอนเกี่ยวกับการหยุดดำเนินการของอุปกรณ์ผลิตยูเรเนียมเข้มข้นจากเกาหลีเหนือ
เพราะฉะนั้น ปัญหาในขณะนี้ไม่ได้อยู่ที่ว่า การเจรจา 6 ฝ่ายจะพูดคุยในประเด็นอะไร แต่อยู่ที่ฝ่ายต่างๆ จะฟื้นฟูการเจรจาได้อย่างไร การหยั่งเชิงแสดงอิทธิพลในเรื่องการฟื้นฟูการเจรจา 6 ฝ่ายกลายเป็นเรื่องปกติ ต้องนับว่าเป็นการถอยหลัง การเลื่อนเวลาออกไปอาจจะทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์มากขึ้น แต่มองในระยะยาวแล้ว การทำให้ประโยชน์ส่วนรวมเสียหายนั้นไม่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย
แม้การเจรจา 6 ฝ่ายไม่ได้เป็นไปอย่างราบรื่นตั้งแต่เริ่มจัดขึ้น แต่การเจรจานี้เป็นกลไกที่มีผลในการบรรลุเป้าหมายการปลอดนิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี รักษาสันติภาพ ความมั่นคงของคาบสมุทรเกาหลี และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องควรพยายามทำให้ความหวังในการฟื้นฟูการเจรจา 6 ฝ่ายปรากฎเป็นจริงขึ้น หากจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ก็ต้องขจัดเงื่อนไขที่คาดไว้ และไม่ทำให้สถานการณ์ดึงเครียดขึ้น การเจรจา 6 ฝ่ายควรมองประโยชน์ส่วนรวม อย่าคิดแต่เพียงให้สถานการณ์พัฒนาไปในทางที่เป็นประโยชน์กับเพียงฝ่ายเดียว
(In/cici)