หลังจากย่างเข้าปี 2012 เป็นต้นมา มีการซ้อมรบร่วมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างต่อเนื่อง ผู้เชี่ยวชาญปัญหาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เห็นว่า ประเทศและเขตแคว้นบางแห่งถือโอกาสสหรัฐอเมริกาปรับปรุงยุทธศาสตร์ จัดการซ้อมรบเพื่อเสริมศักยภาพการป้องกันประเทศของตน ส่วนสหรัฐฯ ถือการซ้อมรบเป็นเวทีของการรักษาความมั่นใจทางการเมืองและการทหารในบรรดาประเทศพันธมิตรในเอเชียแปซิฟิก ทำให้ประเทศเหล่านี้เชื่อว่า เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน จะได้รับการปกป้องจากสหรัฐฯ ได้
ปัจจุบัน การซ้อมรบร่วมเกาหลีใต้และสหรัฐฯ เพื่อป้องกันเรือดำน้ำกำลังจัดอยู่ในน่านน้ำทะเลหวางไห่ ขณะที่การซ้อมรบร่วมทางอากาศของสหรัฐฯ ญี่ปุ่นและออสเตรเลียที่เป็นเวลา 3 อาทิตย์ กำลังจัดอยู่ในบริเวณเกาะกวม ก่อนหน้านี้ ในน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกและอินเดีย ยังได้จัดการซ้อมรบหลายครั้ง เมื่อวันที่ 30 มกราคมที่ผ่านมา ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ได้จัดการซ้อมรบร่วมจำลองโดยผ่านคอมพิวเตอร์ที่ญีปุ่น ตั้งแต่วันที่ 1-6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา การซ้อมรบร่วมในระหัส "มิลาน" ที่ริเริ่มโดยทหารเรืออินเดีย และมีทหารเรือจาก 14 ประเทศเข้าร่วม อาทิ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ พม่า ไทย และอินโดนีเซียได้จัดที่น่านน้ำมหาสมุทรอินเดีย
ตั้งแต่วันที่ 7-17 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา การซ้อมรบร่วมของสหรัฐฯ กับไทย ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียแปซิฟิกจัดขึ้นในประเทศไทย ส่วนการซ้อมรบร่วม 7 ประเทศได้แก่ สหรัฐฯ ไทย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และมาเลเซีย และการซ้อมรบร่วมสหรัฐฯ กับฟิลิปปินส์จะจัดขึ้นในน่านน้ำทะเลจีนใต้ในระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายนปีนี้
ผู้เชี่ยวชาญจากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยเห็นว่า มีสาเหตุสองประการที่ทำให้สหรัฐฯ หันกลับสู่เอเชียแปซิฟิก ประกาศแรกคือรัฐบาลโอบามาจะเผยแพร่แนวคิดประชาธิบไตยและเสรีภาพในภูมิภาคนี้ ประการที่สองคือเนื่องจากจีนมีอิทธิพลมากยิ่งขึ้นในภูมิภาคนี้ สหรัฐฯ เห็นว่าถ้าไม่ใช้มาตรการอีก จะทำให้ผลประโยชน์ในระยะยาวของตนถูกทำลาย
ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิจัยเอเชียตะวันออกมหาวิทยาลัยสิงคโปร์วิเคราะห์ว่า การมีการซ้อมรบบ่อยครั้งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในระยะหลังๆ นี้ เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ใหม่ของสหรัฐฯ ที่ถือภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นศูนย์กลางอีกครั้ง แต่ยุทธศาสตร์นี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการยับยั้งจีนมากน้อยแค่ไหน ยังเป็นเรื่องที่ต้องสังเกตอีกต่อไป
In/Lr