1. ท่านทราบ"เจินจิ่ว" หรือ "ฝังเข็ม" ซึ่งเป็นวิธีการรักษาโรคแบบพิเศษของจีนสมัยโบราณหรือเปล่า และทราบเมื่อไหร่
2. การฝังเข็มได้รับเรียบเรียงในวิชาอบรมแพทยศาสตร์ของรัฐบาลอย่างเป็นทางการเมื่อไหร่
"เจินจิ่ว" หรือ "ฝังเข็ม" เป็นวิธีรักษาโรคแบบพิเศษของประชาชนจีนที่ใช้มาเป็นเวลาหลายพันปี ชาวจีนจะใช้เข็มที่ทำจากโลหะ หรือ แท่นอ้าย (สมุนไพรชนิดหนึ่ง) และ ม้วนอ้าย ดำเนินการฝังเข็มหรืออบเฉพาะจุดของร่างกายเพื่อรักษาโรค จนกระทั่งได้สร้างทฤษฏีทางเดินของเลือดลมภายในร่างกายที่มีเอกลักษณ์ เสมือนบุปผางามในสาขาแพทยศาสตร์จีน และยังเลื่องชื่อไปทั่วโลก
การฝังเข็มประกอบด้วย 2 วิธี คือ ฝังเข็ม และอัง เป็นส่วนประกอบสำคัญของแพทย์แผนโบราณจีน โดยทั่วไปจะรวมทั้งทฤษฏีฝังเข็ม จุดสำคัญตามร่างกาย เทคนิคการฝังเข็ม และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง เป็นวัฒนธรรมแห่งชนชาติจีนที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นตั้งแต่การก่อรูปขึ้น การประยุกต์ใช้และการพัฒนา เป็นมรดกล้ำค่าของวัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์ของจีน
ชาวจีนได้ใช้ "เปียนสือ"(หินชนิดหนึ่ง)มากดและนาบตามบางส่วนของร่างกายเพื่อรักษาโรคตั้งแต่ยุคหินใหม่ คัมภีร์ "ภูเขาและทะเล" บันทึกไว้ว่า "มีหินเหมือนหยก ฝนเป็นเข็มได้" ซึ่งเป็นข้อความเกี่ยวกับเข็มหินที่เก่าแก่ที่สุด ส่วนการรักษาโรคด้วยวิธีอังด้วยความร้อนเกิดขึ้นหลังการใช้ไฟ ซึ่งในคัมภีร์ "หวงตี้เน่ยจิง" สมัยราชวงศ์ฉินและฮั่นมีข้อความว่า "มีความเย็นแทรกเข้าร่างกายจนทำให้ป่วย ต้องใช้วิธีอัง" ซึ่งหมายถึงวิธีการอังนั่นเอง อีกทั้งยังได้บรรยายรูปร่างและวิธีผลิตเข็มไว้อย่างละเอียด รวมทั้งทฤษฏีและเทคนิคฝังเข็มจำนวนมาก ถึงสมัยชุนชิวจั้นกั๋ว การฝังเข็มมีความสมบูรณ์แบบมากขึ้น มีนายแพทย์เชี่ยวชาญการฝังเข็มจำนวนไม่น้อย อย่างเช่น "เปี่ยนเชี่ย" ที่บันทึกไว้ในหนังสือ "สื่อจี้" เป็น 1 ในบรรดาตัวแทนสำคัญ เขาได้รับการยกย่องให้เป็นพระบิดาแห่งแพทยศาสตร์จีน ฝีมือการฝังเข็มของเขามีความสุดยอดจนกระทั่งฟื้นชีวิตคนได้ เรื่องราวเกี่ยวกับการรักษาโรคให้ชาวบ้านได้เล่าต่อกันในทุกยุคทุกสมัย จนถึงปัจจุบัน ที่อำเภอเน่ยชิว มณฑลเหอเป่ย ยังมีศาลเจ้าเชี่ยหวางและจัดกิจกรรมบวงสรวงตามประเพณีท้องถิ่นอยู่
คำภีร์ "การอังทางเดินของเลือดลม 11 เส้นที่ขาและแขน" และ คัมภีร์ "การอังทางเดินของเลือดลม 11 เส้นทั้งหยินและหยาง" ที่ขุดพบในสุสานราชวงศ์ฮั่น "หม่าหวางตุย" เมืองฉางซา มณฑลหูหนาน และ หนังสือ "ทางเดินของเลือดลม" ที่ขุดพบจากสุสานราชวงศ์ฮั่น เมืองจางเจียซาน มณฑลหูเป่ย ต่างได้บันทึกการหมุนเวียนของทางเดินเลือดลมและโรคชนิดต่างๆ นอกจากนี้ที่สุสานราชวงศ์ฮั่นตะวันตกในอำเภอซวนเปาซาน เมืองเหมียนหยาง มณฑลเสฉวน มีการขุดพบไม้แกะสลักหุ่นคนทาสีดำ โดยมีการวาดภาพเส้นทางการเดินของเลือดลม ซึ่งนับเป็นหุ่นคนสำหรับแสดงทางเดินเลือดลมที่เก่าแก่ที่สุดของจีนที่ได้ค้นพบ
จนถึงราชวงศ์สุยและถังการฝังเข็มได้พัฒนาเป็นสาขาวิชา มีหนังสือเกี่ยวกับการฝังเข็มมากขึ้น เนื้อหาหลากหลาย และถูกเรียบเรียงในวิชาอบรมแพทยศาสตร์ของรัฐบาลอย่างเป็นทางการ ที่สำนักโรงพยาบาลประจำราชสำนัก มีตำแหน่งนายแพทย์ฝังเข็มหลายระดับ เช่น หมอ ผู้ช่วย ครู ช่าง และนักเรียน สมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ แพทย์หลวงหวาง เหวยอี ได้รวบรวมความรู้และเรียบเรียงจุดบนร่างกายให้เป็นระบบโดยประพันธ์ไว้ในหนังสือ "ภาพและคัมภีร์เกี่ยวกับการฝังเข็มบนหุ่นทองแดง" และเผยแพร่ไปทั่วประเทศ มีการหลอมหุ่นทองแดงขึ้นมาเป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนอย่างประณีตเหมือนคนจริง โดยได้ผลักดันการพัฒนาวิชาฝังเข็มเป็นอย่างมาก ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ทฤษฏีการฝังเข็มได้พัฒนาสูงขึ้นไปอีก มีการปรับปรุงเทคนิคและเครื่องมือให้ดีขึ้น มีสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องต่างๆ และผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากมาย ทำให้วิชาการฝังเข็มมีความก้าวหน้าอย่างมาก
การรักษาโรคด้วยวิธีการฝังเข็มมีเอกลักษณ์อย่างยิ่ง สามารถใช้กับผู้ป่วยได้โดยทั่วไป ได้ผลรักษารวดเร็วและชัดเจน มีความสะดวกและเรียบง่าย ค่ารักษาน้อย ไม่มีผลแทรกซ้อน จึงเผยแพร่ไปยังญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย และประเทศอาหรับตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง และได้เติบโตและเจริญขึ้นเป็นแพทยศาสตร์วิชาฝังเข็มที่มีเอกลักษณ์ท้องถิ่น จนถึงปัจจุบัน การฝังเข็มได้เผยแพร่หลายไปยังทั่วโลกกว่า 140 ประเทศและเขตแคว้น แสดงบทบาทยิ่งใหญ่แก่การรักษาสุขภาพของมวลมนุษย์