การพัฒนาพลังงานสีเขียวของจีน ทำให้สื่อมวลชนต่างประเทศเกิดความสนใจอย่างมาก เมื่อเร็วๆ นี้ หนังสือพิมพ์ เดอะ การ์เดี้ยน(The Guardian)ของอังกฤษรายงานว่า ปี 2012 ปริมาณการใช้ถ่านหินของจีนจะมากถึง 50% ของทั่วโลก แต่ในขณะเดียวกัน จีนกำลังพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตพลังงานสีเขียวในเขตภาคตะวันตกอย่างเป็นขั้นตอน ทางการจีนกำหนดเป้าหมายว่า จนถึงปี 2020 ปริมาณการผลิตพลังงานหมุนเวียนจะครองสัดส่วน 15% ของยอดการผลิตพลังงานของทั่วประเทศ
หนังสือพิพม์ เดอะ การ์เดี้ยนระบุว่า การลงทุนมหาศาลด้านอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนอาจจะทำให้จีนกลายเป็น"ประเทศมหาอำนาจด้านพลังงานสีเขียว"
มณฑลกันซู่อยู่ทางภาคตะวันตกของจีน ที่นี่เป็นถิ่นกำเนิดเหมืองน้ำมันแห่งแรกของจีน และมีเหมืองถ่านหิน โรงงานเหล็กกล้าหลายแห่ง แม้ว่าเป็นแหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของจีน แต่ก็เกิดมลภาวะและทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง
พร้อมๆ กับนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนของจีน ปีหลังๆ นี้ ทางการจีนได้ใช้ความพยายามอย่างมาก โดยลงทุนมหาศาลในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานสีเขียว พลังงานสะอาด และพยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตมณฑลกันซู่เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
เมืองจิ่วฉวนซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 3 ของมณฑลกันซู ปัจจุบันมีวิสาหกิจผลิตพลังงานหมุนเวียนกว่า 50 แห่งมาตั้งและเปิดทำการที่นี่ เมื่อก่อนในเขตนี้ กังหันลมไม่ค่อยมีให้ีเห็น แต่ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา กังหันลมครอบคลุมเขตพื้นที่กว้างใหญ่ตามชานเมือง เฉพาะเมืองจิ่วฉวนก็มีกำลังผลิตไฟฟ้าพลังลม 6,000 ล้านกิโลวัตต์ เท่ากับยอดการผลิตไฟฟ้าทั่วประเทศอังกฤษ
ทางการท้องถิ่นมีโครงการพัฒนา โดยกำหนดเป้าหมายว่า จนถึงปี 2015 ปริมาณการผลิตไฟฟ้าจะเพิ่มจากปัจจุบัน 3 เท่า ถึงเวลานั้น เขตนี้จะกลายเป็นโรงผลิตไฟฟ้าพลังลมที่ใหญ่ที่สุดของโลก
เมืองจิ่วฉวนภาษาจีนแปลว่า "น้ำพุแห่งเหล้าอร่อย" ชื่อนี้มาจากตำนานที่เล่ากันว่า เมื่อ 2,000 กว่าปีก่อน ชนเผ่าซงหนูซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าทางภาคตะวัตตกเฉียงเหนืองของจีน มักจะเข้ามารุกรานแผ่นดินของชาวฮั่น ทำให้ประชาชนท้องถิ่นใช้ชีวิตอย่างแร้นแค้นทุกข์ทรมานและวาดกลัวตลอด ดังนั้น กษัตริย์ฮั่น อวู่จี้ จึงมีพระราชดำรัสสั่งให้นายพล ฮั่ว ฉวี้ปิ้ง ไปปราบปราม
แม้ว่าการตามล่ากลุ่มทหารชนเผ่าน้อยบนหลังม้าเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่หลังจากการสู้่รบอย่างดุเดือดเป็นเวลาหลายปี สุดท้ายก็ประสบความสำเร็จได้ กษัตริย์ฮั่น อวู่ตี้ทรงพอพระราชหฤไทยอย่างมาก ทรงพระราชทานน้ำจันทร์ถังหนึ่งแก่นายพล ฮั่ว ฉวี้ปิ้ง นายพลท่านนี้เป็นผู้มีจิตเมตตา ต้องการให้ทหารที่ติดตามเขามาตลอดมีโอกาสดื่มเหล้าพระราชทาน แต่มีเหล้าแค่เพียงถังเดียว ยังไงก็ไม่พอแจก คิดไปคิดมา เลยตัดสินใจเทเหล้าลงในบ่อน้ำพุงแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ในค่ายทหาร ทำให้ในบ่อน้ำพุทั้งบ่อมีกลิ่นเหล้าหอม ทหารทุกนายจึงได้มีโอกาสได้ดื่มเหล้าพระราชทาน เมืองนี้จึงได้ชื่อจิ่วฉวนตั้งแต่นั้นมา
เมืองจิ่วฉวนเป็นเมืองที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล ตั้งแต่ใต้จรดเหนือยาว 550 กิโลเมตร จากตะวันออกถึงตะวันตกยาว 608 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 200,000 ตารางกิโลเมตร แต่มีประชากรแค่เพียง 1.1 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นเขตที่มีประชากรน้อยมาก เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตโกบีและทะเลทราย ผู้ที่เคยนั่งรถไฟไปเที่ยวเมืองตุนหวาง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นชื่อระดับโลกเนื่องจากมีถ้ำม่อเกาคู สถานที่ที่มีพระพุทธรูปแกะสลักจำนวนมาก ก็มักจะลงรถไฟที่เมืองจิ่วฉวนและนั่งรถบัสเดินทางต่อไปยังถ้ำ
เมื่อปี 1958 รัฐบาลจีนเลือกสถานที่สร้างศูนย์ส่งดาวเทียมภายในประเทศ และพบว่าบริเวณเขตตะวันตกเฉียงเหนือของจีนเป็นเขตพื้นที่ทะเลทรายที่ทรุกันดาร มีประชากรน้อย จึงเริ่มสร้างฐานส่งดาวเทียมที่นี่ ตั้งแต่นั้นมา ฐานแห่งนี้ได้ยิงส่งดาวเทียม จรวดตลอดจนยานอวกาศเสินโจวด้วยความสำเร็จหลายครั้ง เนื่องจากเมืองจิ่วฉวนเป็นเมืองที่ใกล้กับฐานยิงส่งที่สุด ซึ่งห่างกันแค่เพียง 200 กว่ากิโลเมตรเท่านั้น ชาวจีนส่วนใหญ่จึงคุ้นเคยกับเมืองนี้ตั้งแต่นั้นมา
(In/Lin)