อินโดนีเซียในฐานะเป็นประเทศหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุด ได้เริ่มใช้ความพยายามพัฒนา"เศรษฐกิจสีฟ้า" เพื่อแสดงความได้เปรียบของตนในด้านกิจการประมงและทะเล
ประการแรก ปรับปรุงทรัพยากรของรัฐบาล ส่งเสริมการประสานงานของหน่วยงานรัฐบาลระดับต่างๆ ประการที่สอง ระดมทุนการพัฒนาจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะส่งเสริมให้วิสาหกิจภาคเอกชนและต่างประเทศเข้ามาลงทุน ประการที่สาม เผยแพร่เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในบริเวณใกล้ชายฝั่งทะเลและชายหาด เพิ่มปริมาณการผลิต ตามการคาดการณ์ขั้นต้นจากกระทรวงกิจการประมงและทะเลอินโดนีเซีย ประการที่สี่ เร่งการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์จับปลาน้ำลึก นำเข้าเทคโนโลยี และเพิ่มเงินสนับสนุนในด้านการฝึกอบรมบุคลากร ประการที่ห้า ส่งเสริมธนาคารให้ปล่อยเงินกู้พิเศษและเงินกู้รายย่อยแก่ชาวประมงและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการขาดเงินทุน ประการที่หก ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างประเทศ รักษาให้มีการพัฒนาทรัพยากรทะเลอย่างยั่งยืน นอกจากอินโดนีเซียจะนับการส่งเสริมการพัฒนากิจการประมงทางทะลเป็นเนื้อหาสำคัญของความร่วมมือเกี่ยวกับการติดต่อและการเชื่อมโยงกับประเทศอาเซียนแล้ว ปัจจุบันยังกำลังร่วมมือกับประเทศรอบข้างอภิปรายถึงการปฏิบัติตาม "คำริเริ่มเขตสามเหลี่ยมโขดหินปะการัง" อย่างแข็งขัน ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวพันถึงการบริหารผลิตภัณฑ์ทางทะเล ส่งเสริมการทำงานแบบอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางทะเล การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล ตลอดจนการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และอนุรักษ์พืชล้ำค่าและหายากในทะเล
(Ton/zheng)