วันที่ 18 กรกฎาคม ไทยและกัมพูชาได้พร้อมกันถอนทหารออกจากเขตชายแดนที่มีข้อพิพาทระหว่างไทยกับกันพูชา ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิจารณาเมื่อปีที่แล้ว และจะจัดส่งตำรวจไปประจำแทน
สื่อมวลชนท้องถิ่นเห็นว่า การถอนทหารครั้งนี้จะผ่อนคลายสถานการณ์ตึงเครียดบริเวณเขาพระวิหาร ซึ่งเป็นเขตชายแดนที่มีข้อพิพาทระหว่างไทยกับกันพูชา แต่การบรรลุซึ่งสันติภาพถาวรยังต้องการความพยายาจากทั้งสองฝ่ายมากกว่านี้ วันที่ 18 กรกฎาคมนี้ พล.อ.อ. สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทยเดินทางไปยังจังหวัดศรีสะเกษ และจัดพิธีปรับกำลังทหารที่ประจำในเขตชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา โดยจะถอนทหารบางส่วนออกจากวเขตเขาพระวิหาร และจัดส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ 200 นายประจำแทน
วันเดียวกัน กัมพูชาก็ประกาศเช่นกันว่า จะถอนกำลังทหาร 485 นายออกจากเขตเขาพระวิหาร และจัดส่งตำรวจ 255 นายและกำลังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอีกกว่า 100 คนไปดูแลความเรียบร้อยของปราสาทพระวิหารแทน
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมาที่จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยได้พบปะเจรจากับสมเด็จฯฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา และบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการถอนกำลังทหารออกจากเขตโดยรอบเขาพระวิหาร เพื่อเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศให้ไว้เมื่อปีที่แล้ว ทั้งนี้เพื่อผ่อนคลายสถานการณ์อันตึงเครียดระหว่างไทยกับกัมพูชา และพิทักษ์ความมั่นคงระหว่างชายแดนทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องต้องกันว่าจะเปิดด่านชายแดนใหม่สองแห่ง ซึ่งรวมทั้งด่านใกล้บริเวณเขาพระวิหาร เพื่อขยายการค้าระหว่างสองประเทศให้มากขึ้น
สำหรับการร่วมกันถอนกองกำลังทหารครั้งนี้ ประชาชนไทยและกัมพูชามีท่าทีต่างๆ ต่อการนี้ แม้ว่ามีประชาชนจำนวนไม่น้อยให้การสนับสนุน แต่ยังมีประชาชนบางคนกังวลต่อการถอนทหารครั้งนี้ โดยเห็นว่า ปัจจุบัน ไทยและกัมพูชามีปัญหาอธิปไทยซ้ำซ้อนในอ่าวไทยที่มีพื้นที่ราว 26,000 ตารางเมตร คาดว่า พื้นที่เหล่านี้มีก๊าซธรรมชาติจำนวน 3.114 แสนล้านลูกบาศก์เมตรและน้ำมันปิโตรเลียมที่ยังไม่ได้ขุดเจาะอีกจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมากสำหรับทั้งสองประเทศ ดังนั้น การถอนทหารครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะจัดการประชุมอภิปรายปัญหานี้ต่ออีกหรือไม่เป็นประเด็นสำคัญที่สื่อมวลชนจับตามมองอยู่ในช่วงนี้
Ton/kt