ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนระบุถึงการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ณ กรุงพนมเปญ เมื่อ 12 วันก่อนว่า "สิ่งที่เรียกความสนใจจากประชาคมโลกมากที่สุดคือปัญหาทะเลจีนใต้" เขาระบุว่า ปีนี้เป็นปีครบรอบ 10 ปี แห่งการลงนาม "ปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (DOC)" เมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว อาเซียนกับจีนได้ลงมติถึงแนวปฏิบัติต่อการบังคับใช้ "ปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (DOC)" ส่วนภายในอาเซียนก็กำลังมุ่งบรรลุฉันทามติเกี่ยวกับ "แนวปฏิบัติ" ที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง "เริ่มดำเนินการอย่างราบรื่น"
ดร.สุรินทร์ พิสุวรรณระบุว่า อาเซียนกับจีนได้ร่วมหารืออย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับเรื่องแนวปฏิบัติต่อการบังคับใช้ "ปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (DOC)" ว่า ควรประกอบด้วยปัจจัยอะไรบ้าง ทว่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ อย่างกรณีเกาะหวงเหยียนระหว่างจีนกับฟิลิปปินส์ ปัญหาพิพาทการสำรวจน้ำมันปิโตรเลียมระหว่างจีนกับเวียดนาม "เป็นอุปสรรคที่ทำให้การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ณ กรุงพนมเปญไม่สามารถออก 'แถลงการณ์ร่วม' ได้" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในถ้อยแถลงบางตอนนั้น บรรดาประเทศสมาชิกมีความเห็นต่างกัน อย่างไรก็ตาม บรรดารัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกำลังใช้ความพยายามร่วมกันมุ่งสู่ทิศทางของ "แนวปฏิบัติต่อการบังคับใช้ฯ ในทะเลจีนใต้" โดยนายมาร์ตี เอ็ม นาทาเลกาวา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียเดินทางไปเยือนฟิลิปปินส์ เวียดนาม และกัมพูชา ตามลำดับ ทำหน้าที่ประสานงาน เพื่อให้ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรับรอง "หลักการ 6 ประการของอาเซียนว่าด้วยการยุติปัญหาทะเลจีนใต้"
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ณ กรุงพนมเปญ ระหว่างวันที่ 9-13 กรกฎาคมนี้ ไม่สามารถออก "แถลงการณ์ร่วม" ได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เนื่องจาก "ปัญหาพิพาทในทะเลจีนใต้" โดยฟิลิปปินส์และอีกบางประเทศประสงค์จะนำกรณีเกาะหวงเหยียนระบุเข้าไว้ในแถลงการณ์ร่วม เมื่อล้มเหลวก็กีดกั้นไม่ให้ประกาศแถลงการณ์ร่วม
หลังประชุมฯ ภายใต้การประสานงานของนายมาร์ตี เอ็ม นาทาเลกาวา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมนี้ มีการประกาศคำแถลงรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ซึ่งระบุถึงหลักการ 6 ประการว่าด้วยการยุติปัญหาทะเลจีนใต้
มีการวิเคราะห์ว่า สหรัฐอเมริกามุ่งผลักดันปัญหาทะเลจีนใต้เป็นปัญหาพหุภาคีและปัญหาระดับโลก ซึ่งทอดเงามืดให้แก่การเจรจาว่าด้วย "แนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้"
(TON/LING)