การที่ละครโทรทัศน์จีนเข้าสู่อาเซียนนั้น เป็นด้านหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีนกับอาเซียนที่กำลังลงลึกยิ่งขึ้น ตั้งแต่จีนและอาเซียนสร้างความสัมพันธ์เจรจาเป็นเวลา 21 ปีเป็นต้นมา สองฝ่ายได้ดำเนินการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมที่มีหลายระดับและหลายชช่องทางด้วยรูปแบบต่างๆ อาทิ การจัดประชุมระดับรัฐมนตรี การประชุมสัมมนา การแลกเปลี่ยนบุคลากร การจัดเทศกาลศิลปะและงานแสดง
เป็นต้น ทั้งนี้มีบทบาทเพิ่มพูนความเข้าใจ ความเคารพและการชื่นชมวัฒนธรรมของกันและกันระหว่างจีนกับอาเซียน และปูพื้นฐานสำหรับการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียนด้วย
นายหม่า หมิงเฉียง เลขาธิการศูนย์จีน - อาเซียนกล่าวในที่ประชุมฟอรั่มว่าด้วยวัฒนธรรมจีน – อาเซียนปี 2012 ที่จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ว่า จีนและประเทศอาเซียนเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม นี่เป็นกำลังขับเคลื่อนสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาวัฒนธรรมของตน การเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมแก่กันนั้น เป็นพื้นฐานสำคัญของการเพิ่มความไว้วางใจและกระชับความร่วมมือ เป็นหนทางสำคัญที่เดินสู่ความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม การพัฒนาเศรษฐกิจ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
นายหม่า หมิงเฉียงกล่าวว่า ตั้งแต่ศูนย์จีน – อาเซียนจัดตั้งขึ้นเกือบ 1 ปี ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกของศูนย์ โดยผ่านสื่อต่างๆ อาทิ โทรทัศน์ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิทยุกระจายเสียง นิตยสารและหนังสือพิมพ์ นอกจากนี้ ยังได้จัดกิจกรรมต่างๆ เช่น "ทูตานุทูตอาเซียนประจำจีนเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยชนชาติส่วนกลาง" "งานแสดงศิลปะมัลติมีเดียของอาเซียนและจีน" "การประกวดภาพถ่ายอาเซียนอันมีมนต์เสน่ห์" "เจ้าหน้าที่การทูตพาเที่ยวอาเซียน" เป็นต้น
ระหว่างการจัดประุชุมฟอรั่มว่าด้วยวัฒนธรรมจีน – อาเซียนปี 2012 ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติ หัวหน้าคณะผู้แทนและเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์จาก 10 ประเทศอาเซียน ร่วมด้วยจีนและเกาหลีใต้ได้อภิปรายและผ่าน "ข้อริเริ่มหนานหนิงว่าด้วยหอสมุดเอเชียตะวันออก" โดยจะกระชับความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมในด้านการสร้างหอสมุดสมัยดิจิตอลและการแลกเปลี่ยนเอกสารด้านประวัติศาสตร์ เป็นต้น
(Yim/Lin)