ข้อเสนอว่าด้วย "จีนกับญี่ปุ่นเป็นมิตรกัน" ซึ่งสองฝ่ายร่วมเสนอและยืนหยัดมานับตั้งแต่ปี 1972 เป็นต้นมานั้น เป็นเงื่อนไขบังคับเบื้องต้นในการให้จีนกับญี่ปุ่นละทิ้งข้อบาดหมางในอดีต พิจารณาสถานการณ์ภาพรวม แสวงหาจุดร่วม สงวนจุดต่าง และฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูต แต่ว่า เมื่อทบทวนความสัมพันธ์จีน-ญี่ปุ่นในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา ยังพบว่า กลุ่มอิทธิพลฝ่ายขวาของญี่ปุ่นยังคงดำรงอยู่ รากเหง้าของปัญหาก็คือการยึดติดในทัศนคิตเกี่ยวกับเอเชียเรื่อง "ชาติพันธุ์นิยม" "ความดีเลิศของระบบ" รวมถึง "กระแสลัทธิความบริสุทธิ์ของเชื้อชาติ" "นโยบายทางการทูตที่แข็งกร้าว" ตรรกะที่มุ่งการค้าแบบแย่งชิงทรัพยากรและตลาด ซึ่งมักจะก่อกวนในภาวะผันผวนระหว่างประเทศ และทำลายภาพรวมของมิตรสัมพันธ์จีน-ญี่ปุ่น
ช่วงปีหลังๆ นี้ การสับเปลี่ยนฐานะทางเศรษฐกิจของจีนกับญี่ปุ่น ความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนาทางยุทธศาสตร์ ทำให้วงการเมืองของญี่ปุ่นมีความกระสับกระส่ายมากขึ้น กำหนดนโยบายต่อจีนที่ยับยั้งมิตรภาพจีน-ญี่ปุ่น ดำเนินการเมืองแบบฝ่ายขวา จำกัดการถ่ายโอนเทคโนโลยี ก่อกวนการลงทุนต่อจีน ทำลายเศรษฐกิจจีน กระทั่งทำให้ความขัดแย้งทางดินแดนรุนแรงยิ่งขึ้น และเอารัดเอาเปรียบจีนด้านความมั่นคง ทั้งนี้และทั้งนั้นเป็นทางเลือกทางการเมืองของญี่ปุ่น แต่ว่า การที่การเมืองญี่ปุ่นนิยมฝ่ายขวาและอนุรักษ์นิยม เป็นการพิจารณาผิดต่อแนวโน้มการพัฒนาของโลก ส่วนภูมิภาค และจีน เป็นการถอยห่างจากปัจจุบันสมัย กล่าวได้ว่าเป็นความสายตาสั้นทางยุทธศาสตร์ จะเป็นการสร้างเรื่องขึ้นมามัดตัวเอง และยากที่จะพ้นจากภาวะยากลำบากทางยุทธศาสตร์ที่โดดเดี่ยวและไร้ซึ่งความช่วยเหลือใดๆ
TON/LING)