นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียเดิมกำหนดจะเดินทางไปเยือนตุรกีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมาเพื่อหารือในประเด็นควาาสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างสองประเทศ และสถานการณ์ในซีเรีย แต่สุดท้ายรัสเซียประกาศเมื่อวันที่ 11 ตุลาคมนี้ว่า เลื่อนการเยือนไปจนถึงเดือนธันวาคมศกนี้ ซึ่งการประกาศครั้งนี้มีขึ้นภายหลังเกิดเหตุการณ์ตุรกีส่งเครื่องบินรบบังคับเครื่องบินโดยสารของซีเรียจากกรุงมอสโกของรัสเซียไปยังกรุงดามัสกัส เมืองหลวงของซีเรียลำหนึ่งลงจอดที่สนามบินในกรุงอังการา เมืองหลวงของตุรกี และทำการยึดสิ่งของที่ต้องสงสัยจำนวนหนึ่ง
นักวิเคาระห์เห็นว่า ถึงแม้ว่าทางการรัสเซียไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า การเลื่อนการเยือนตุรกีของ นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียครั้งนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ตุรกีสกัดเครื่องบินโดยสารของซีเรียหรือไม่ แต่เห็นได้ชัดว่า เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับตุรกีได้เข้าสู่ช่วงละเอียดอ่อน
เหตุการณ์ตุรกีส่งเครื่องบินรบสกัดเครื่องบินโดยสารของซีเรียเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยตุรกีประกาศว่า ได้ค้นพบสิ่งของที่ละเมิดกฎระบียบการบินพลเรือนจากเครื่องบินโลำดังกล่าว แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนถึง สิ่งของที่ต้องสงสัยว่าคืออะไรกันแน่ นายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียตอบโต้ตุรกีเมื่อวันที่ 12 ตุลาคมนี้ว่า สิ่งของบนเครื่องบินโดยสารลำนี้คือ เครื่องอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ที่ใช้ได้ทั้งด้านการทหารและพลเมือง แต่ไม่ใช่อาวุธ และไม่มีความลับใดๆ ที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ เขายังเรียกร้องให้ตุรกีคืนสิ่งของที่ยึดครองไว้ และชี้แจงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเร็ว
ภายหลังเกิดเหตุสกัดเครื่องบินโดยสารของซีเรีย ตุรกีไม่ได้แจ้งให้สถานทูตรัสเซียประจำตุรกีทราบว่า ซึ่งมีผู้โดยสารชาวรัสเซีย 10 กว่าคน ซึ่งรวมทั้งสตรีและเด็กบนเครื่องบินลำนี้ด้วย หลังกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียทราบเรื่องนี้จากการรายงานข่าวทางอินเตอร์เน็ต ก็รีบสั่งให้เจ้าหน้าที่การทูตเดินทางไปเยี่ยมพี่น้องชาวรัสเซียที่ถูกตุรกีกักตัวไว้ แต่ถูกปฏิเสธ รัสเซียจึงรู้สึกไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง และเตือนตุรกีว่า ต้องชี้แจงเรื่องนี้ทันที และไม่ให้เกิดเหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้อีก
ผู้เชี่ยวชาญรัสเซียเห็นว่า เหตุการณ์สกัดเครื่องบินโดยสารครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ตุรกีเตรียมเจรจากับรัสเซียในปัญหาซีเรียด้วยท่าทีอันแข็งกร้าว ซึ่งจะนำความเสียหายมาสู่ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับตุรกี
หลังเกิดการปะทะภายในประเทศซีเรีย รัสเซียและตุรกีมีท่าทีตรงกันข้ามต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่ารัสเซียไม่ได้ประกาศ สนับสนุนนายบาชาร์ อัล-อัสซาด ประธานาธิบดีซีเรียโดยตรง แต่ได้เน้นย้ำมาตลอดว่า ต้องการให้แก้ไขวิกฤตซีเรียด้วยสันติวิธี ขณะที่ตุรกีสนับสนุนการตั้งเขตห้ามบินในซีเรียมาโดยตลอด และต้องการให้โค่นล้มอำนาจของรัฐบาลบาชาร์ อัล-อัสซาดอย่างเร่งด่วน
นักวิเคราะห์เห็นว่า ตุรกีต้องการตั้งเขตห้ามบินในซีเรียอย่างเร่งด่วน แต่ไม่อยากท้าทายรัสเซียโดยตรง จึงก่อเหตุสกัดเครื่องบินโดยสารของซีเรีย เพื่อหยั่งจุดยืนที่แท้จริงของรัสเซียในปัญหาการตั้งเขตห้ามบินดังกล่าว
(TON/cai)