เมื่อเร็วๆนี้ คำนิยามของนักวิชาการสหรัฐฯเกี่ยวกับ "ดับเบิ้ลเอเชีย(Double Asia)" นั้น เป็นที่สนใจกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งนิยามของ "ดับเบิ้ลเอเชีย" นั้นหมายถึง "เอเชียแห่งเศรษฐกิจ" ที่จีนดำเนินการ และ "เอเชียแห่งความมั่นคง" ที่สหรัฐฯควบคุมไว้
ธาตุแท้ของการอภิปราย "สองเอเชีย" คือ จับตามองว่าจีนกับสหรัฐฯซึ่งเป็นสองประเทศขนาดใหญ่สามารถอยู่ในเอเชียได้อย่างปรองดองหรือไม่ "เอเชียแห่งเศรษฐกิจ" เผยให้เห็นถึงสภาพความเป็นจริงด้านหนึ่ง ซึ่งก็คือ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงรากฐาน เศรษฐกิจจีนที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว กระแสแห่งการพัฒนาเป็นประชาคมเดียวในภูมิภาคที่เร่งความเร็วด้วย เป็นเหตุให้ประเทศอื่นๆในเอเชียมุ่งสานสัมพันธ์กับจีนใกล้ชิดยิ่งขึ้นในด้านการค้า การลงทุนและการตลาด พร้อมกันนั้น ความพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างประเทศต่างๆก็ลึกซึ้งยิ่งขึ้นทุกที ในขณะเดียวกัน สัดส่วนยอดการค้ากับสหรัฐฯในยอดมูลค่าทางการค้ากับต่างประเทศของบรรดาประเทศเอเชียตะวันออกได้ค่อยๆลดต่ำลง สหรัฐฯยังคงเป็นผู้มียอดมูลค่าทางเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับแรกของโลกอยู่ จึงมิอาจให้ความสำคัญน้อยลงกับอิทธิพสสหรัฐฯที่มีต่อประเทศเอเชีย ทว่า นักวิเคราะห์ไม่น้อยชี้แจงว่า แนวโน้มกลมกลืนผสมผสานของเศรษฐกิจเอเชียที่ถือประเทศจีนเป็นศูนย์กลางนั้น เป็นผลที่เกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนของตลาด ไม่เพียงแต่บ่งชี้ถึงแนวโน้มที่ชัดเจนเท่านั้น หากเป็นขุมพลังที่ไม่มีทางโค่นล้มได้ง่ายๆภายใต้มาตรการก้าวก่ายของมนุษย์
"เอเชียแห่งความมั่นคง" แสดงให้เห็นว่า สหรัฐฯกำลังมุ่งหมายที่จะใช้มาตรการต่างๆนานารักษาไว้ซึ่งฐานะแกนกลางทางการทหารของตน เมื่อเทียบกับอนาคตที่นับวันกระจ่างแจ้งของ "เอเชียแห่งเศรษฐกิจ" ระเบียบการจัดการที่แฝงอยู่ใน "เอเชียแห่งความมั่นคง" ยังคงอยู่ในกระบวนการวิวัฒนาการ และยังไม่ได้เปิดตัวให้ชาวโลกเห็นกับตา พิจารณาจากสภาพปัจจุบัน การที่สหรัฐฯลงเรี่ยวลงแรงจัดทำโครงสร้างด้านความมั่นคงนั้น ยังคงเป็นการเดินหนทางเก่าที่สืบทอดจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ อาศัยพันธมิตรกระชับความมั่นคงแบบทวิภาคีและพหุภาคี แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นในจุดนี้ เพราะหนทางเก่านี้ไม่ได้คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงใหม่ในเอเชีย จึงหลุดกรอบจากกระบวนการกลมกลืนผสมผสานของเศรษฐกิจเอเชีย และย่อมไม่มีอนาคตอย่างแน่นอน
Yim/feng