เมื่ออินเตอร์เน็ตพัฒนาอย่างรวดเร็ว จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในแผ่นดินใหญ่จีนพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วด้วย แต่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมีสำนึกป้องกันความปลอดภัยค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาตะวันตก ดังนั้น จึงตกเป็นเหยื่อถูกโจมตีทางไซเบอร์
การโจมตีที่สำคัญแบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ หนึ่ง ใช้ไซเบอร์ต่างชาติเข้าควบคุมเซิร์ฟเวอร์หรือเครื่องแม่ข่ายในแผ่นดินใหญ่จีนโดยผ่านเครือข่ายม้าไม้โทรจันหรือบอทเน็ต ผลการสุ่มตรวจสอบโดยซีเอ็นซีอีอาร์ทีระบุว่า ปี 2012 ไอพีต่างแดนในฐานะเซิร์ฟเวอร์ควบคุมม้าไม้โทรจันหรือบอทเน็ตกว่า 73,000 รายเข้าควบคุมแม่ข่ายในแผ่นดินใหญ่จีนเกือบ 14,197,000 ราย ในจำนวนดังกล่าว เป็นเซิร์ฟเวอร์ควบคุมจากสหรัฐอเมริกามากที่สุด รองลงมาคือ ไอพีจากเกาหลีใต้และเยอรมนี สอง ใช้รูปแบบลงทะเบียนโดเมนเนมในต่างแดนเพื่อแพร่รหัสอย่างมีเจตนาร้าย ผลการตรวจสอบโดยซีเอ็นซีอีอาร์ทีระบุว่า ปี 2012 ในจำนวนเว็บไซต์ที่ปล่อยโปรแกรมร้ายนั้น มีการใช้โดเมนเนมที่ลงทะเบียนในต่างแดนคิดเป็นร้อยละ 65.5 และสาม โจมตีเว็บไซต์แผ่นดินใหญ่จากต่างแดน โดยส่วนหนึ่งใช้ระบบการควบคุมทางไกล อย่างสหรัฐฯ มีไอพี 7,370 รายเข้าควบคุมเว็บไซต์ 10,037 เว็บไซต์ของแผ่นดินใหญ่ อยู่อันดับที่ 1 และอีกส่วนหนึ่งใช้วิธีปลอมตัวเป็นหน้าเว็บไซต์โดยตรง ผลการตรวจสอบโดยซีเอ็นซีอีอาร์ทีระบุว่า ปี 2012 ไอพีเซิร์ฟเวอร์ที่ปลอมตัวเป็นเว็บไซต์จีนแผ่นดินใหญ่นั้นมีร้อยละ 96.2 มาจากต่างแดน ในจำนวนดังกล่าว สหรัฐฯ และฮ่องกงของจีนติด 2 อันดับแรก
เมื่อเผชิญกับการโจมตีทางไซเบอร์ที่ร้ายแรง เมื่อปี 2012 ซีเอ็นซีอีอาร์ทีร่วมกับหน่วยงานและบริษัทที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินโครงการเฉพาะกิจเพื่อปราบปรามเครือข่ายม้าไม้โทรจันและบอทเน็ตแห่งชาติจำนวน 14 ครั้ง รวมถึงโครงการเฉพาะกิจเพื่อปราบปรามโปรแกรมที่มีเจตนาร้ายทางอินเตอร์เน็ตเคลื่อนที่จำนวน 6 ครั้ง ซึ่งประสบผลสำเร็จมาก นอกจากนี้ ผู้ประกอบการบางส่วนได้ทำการปราบที่อยู่เว็บไซต์ปลอมอย่างจริงจัง ซึ่งได้ระงับแนวโน้มการปลอมแปลงที่อยู่เว็บไซต์อย่างมีประสิทธิภาพ
(YIM/LING)