เมื่อเร็วๆ นี้ เกิดเหตุระเบิดรอบใหม่ที่ภาคใต้ของประเทศไทย ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์นี้ เกิดเหตุระเบิด 4 ครั้งติดต่อกันที่จังหวัดปัตตานี ขณะนี้ได้รับการยืนยันว่า มีผู้เสียชีวิต 4 ราย และผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 11 รายในเหตุระเบิดเหล่านี้ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เกิดระเบิดรถยนต์ที่จังหวัดยะลา เป็นเหตุให้มีทหารเสียชีวิต 5 นาย เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ฐานทัพแห่งหนึ่งในอำเภอบาเจาะของจังหวัดนราธิวาสได้รับการโจมตีจากกลุ่มติดอาวุธ ทั้งสองฝ่ายเกิดการปะทะกัน เป็นเหตุทำให้กลุ่มติดอาวุธถูกยิงจนเสียชีวิต 17 คน เจ้าหน้าที่ทางทหารไม่ได้บาดเจ็บและเสียชีวิตแต่อย่างใด
รัฐบาลไทยเริ่มประกาศใช้ "พ.ร.ก. ว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน " ใน 3 จังหวัดภาคใต้ตั้งแต่ปี 2004 พยายามจะแก้ไขปัญหาภาคใต้ด้วยหลายวิถีทาง เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว รัฐบาลไทยได้จัดตั้งศูนย์บัญชาการปฏิบัติการณ์แก้ไขปัญหาภาคใต้ เพื่อประสานงานให้กับ 17 กระทรวงและ 66 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่เข้าร่วมการจัดการปัญหาภาคใต้ ทำให้ปฏิบัติการณ์นั้นเป็นเอกภาพและยกระดับประสิทธิภาพมากขึ้น เร่งแก้ไขปัญหาภาคใต้จากด้านความมั่นคง การพัฒนา การศึกษาและด้านสิทธิมนุษยชน พร้อมกันนี้ ยังได้วางมาตรการที่เป็นรูปธรรมหลายประการว่าด้วยการรักษาสถานการณ์ด้านความมั่นคงของไทย ซึ่งประกอบด้วยการเสริมสร้างการป้องกันด้านความมั่นคง จัดตั้งสถานีจุดตรวจมากขึ้นตลอดจนควบคุมการสัญจรไปมาทั้งของประชาชนและรถยนต์ตามเขตชายแดนด้วย
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแสดงความคิดเห็นว่า นอกจากเสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่ภาคใต้แล้ว รัฐบาลยังจะถือการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคใต้ด้วย และจะยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นภาระสำคัญ
อาจารย์จากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ระบุว่า ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ไม่ได้รับการคลี่คลายมีเนื่องจากสาเหตุที่สลับซับซ้อนมาก ถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่มีมาช้านาน ความไม่เที่ยงธรรมและเศรษฐกิจล้าหลังที่ถูกนำมาเป็นข้ออ้างอิงให้กับพวกแบ่งแยกดินแดน แต่นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มอิทธิพลหวังที่จะได้รับผลประโยชน์จากความไม่สงบอย่างต่อเนื่องในภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มค้ายาเสพติด กลุ่มการค้าของหนีภาษี กลุ่มมาเฟีย ตลอดจนกลุ่มคนที่หวังจะได้รับผลประโยชน์จากงบประมาณในการรักษาความมั่นคง อย่างไรก็ตาม ยังทำให้ปัญหาทางภาคใต้ของไทยมีความสลับซับซ้อนและได้รับการแก้ไขอย่างเชื่องช้า ดังนั้น การพัฒนาอย่างทั่วด้านและการจัดการแบบเอนกประสงค์ รวมทั้งการใช้ความพยายามจากทุกฝ่ายจึงจะเป็นทางออกที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาภาคใต้